อัปเกรดท่าเรือ รับท่องเที่ยวปลอดภัย

1 พฤษภาคม 2565 รัฐบาลผ่อนคลายเงื่อนไขการเข้าประเทศ พร้อมยกเลิก Test & Go สร้างความคึกคักให้กับทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยอย่างมาก ทำให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ชัดเจนขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศด้วย ซึ่ง น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้อมูลของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ระบุว่า วันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นวันแรกของการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ มีต่างชาติทยอยเดินทางมาประเทศไทยมากขึ้น

และขณะนี้มีเที่ยวบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศของทุกท่าอากาศยานรวมกันอยู่ที่ประมาณ 44,500 เที่ยวบินต่อเดือน เป็นเที่ยวบินในประเทศ 33,500 เที่ยวบิน 

และระหว่างประเทศ 11,000 เที่ยวบิน คาดว่าปลายปี 2565 จะเพิ่มเป็น 83,500 เที่ยวต่อเดือน แบ่งเป็นเที่ยวบินในประเทศ 53,000 เที่ยวต่อเดือน เที่ยวบินระหว่างประเทศ 30,000 เที่ยวบิน ซึ่งเข้าใกล้ปริมาณเที่ยวบินในช่วงปี 2562 ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด

การกลับมาของนักท่องเที่ยวได้สร้างความคึกคักให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมาก ทำให้ทั้่งภาครัฐและเอกชนต่างเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยว จะเห็นได้จากในด้านการให้บริการขนส่งทางน้ำ กรมเจ้าท่าซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลได้เร่งปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานในทุกด้าน

ซึ่ง สมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปฏิบัติการ ระบุว่า กรมเจ้าท่ามีแผนขยายปรับปรุงท่าเรือโดยสารให้มีขนาดใหญ่ขึ้นตามนโยบายรัฐบาล ในการยกระดับและพัฒนาการให้บริการเรือโดยสารสาธารณะ ทั้งท่าเรือโดยสาร ท่าเรือข้ามฟาก และท่าเรือท่องเที่ยว เพื่อให้บริการประชาชน นักท่องเที่ยว รองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการให้บริการที่สามารถเชื่อมต่อระบบโดยสารสาธารณะระหว่างเรือโดยสาร ระบบราง (รถไฟฟ้า) รถประจำทาง (ล้อ-ราง-เรือ) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสาธารณะให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น

สำหรับ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือนั้นยังได้นำระบบการออกแบบอารยสถาปัตย์เข้ามาใช้ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้พิการ ให้สามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียม เนื่องจากปัจจุบันประชาชนและนักท่องเที่ยวนิยมใช้เส้นทางการเดินเรือมากขึ้น ประกอบกับไทยกำลังเข้าสู่การเปิดประเทศ และรับการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

ดังนั้น ความสำคัญการพัฒนาท่าเรือให้มีขนาดใหญ่จะต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูง สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศ ตามนโยบายการพัฒนาขนส่งทางน้ำ ซึ่งกรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือหลายแห่งในเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ท่าเรือราชินี ท่าเตียน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการภายในเดือนพฤษภาคม 2565

นอกจากปรับปรุงท่าเรือดังกล่าวแล้ว ยังตรวจสอบท่าเรือโดยสารสาธารณะให้มีมาตรฐานในการติดตั้งอุปกรณ์ประจำท่าเรือให้มีความปลอดภัย และเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมเจ้าท่ากำหนด โดยได้มีการบูรณาการกับหน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานภายในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และ หน่วยกู้ภัย ในการดูแลรักษาความปลอดภัยทางน้ำ และจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ประจำท่าเทียบเรือต่างๆ เพื่อดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร ซึ่งกรมเจ้าท่าได้เปิดช่องทางเบอร์โทร.สายด่วน 1199 รับแจ้งเหตุทางน้ำได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากเกิดกรณีฉุกเฉิน

และเพื่อให้เกิดความร่วมมือของผู้โดยสาร ในมาตรการดูแลความปลอดภัยของท่าเรือและการใช้บริการเรือโดยสาร ได้มีแผนรณรงค์ให้ความรู้ด้านความปลอดภัยผ่านสื่อออนไลน์ โดยการจัดทำอินโฟกราฟิก คลิปวิดีโอเผยแพร่ผ่านจอทีวีตามท่าเรือต่างๆ และเพื่อให้เข้าถึงประชาชนในวงกว้างมากขึ้น ได้ขยายสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียล FACEBOOK Twitter IG รวมถึงในรูปแบบแผ่นพับ ป้ายไวนิลติดตามท่าเรือในช่วงเทศกาลสำคัญๆ

อย่างไรก็ตามเมื่อปรับปรุงท่าเรือแล้ว ในด้านความปลอดภัย กรมเจ้าท่ายังได้เตรียมการปรับมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักรทางน้ำให้สอดรับกับนโยบายการเปิดประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยให้หน่วยงานทุกส่วนในสังกัดทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทบทวนมาตรการในการปฏิบัติต่อผู้โดยสารให้สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาล รวมถึงย้ำให้มีการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร เพื่อสร้างความเข้าใจ และปฏิบัติตามมาตรการได้อย่างถูกต้อง

พร้อมทั้งยังเน้นย้ำเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ให้ตรวจสอบข้อมูลเอกสารและเฝ้าระวังอย่างเคร่งครัด รวมถึงแจ้งข้อมูลผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรทางน้ำให้ถูกต้องและครบถ้วนตามมาตรการที่ปรับใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยรองรับการเปิดประเทศเต็มรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว