พลังงานมั่นคง-ลดพึ่งพา

วิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาพลังงานทั่วโลกพุ่งสูงทะลุเพดาน และยังทำให้เกิดปัญหาสารพัดตามมา ไม่ว่าจะราคาสินค้าที่อุปโภคบริโภคต่างก็พุ่งทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงมาก และที่สำคัญ สงครามที่เกิดขึ้นอาจจะบานปลายและยืดเยื้ออย่างไม่มีที่สิ้นสุด สุดท้ายกลายเป็นปัจจัยลบฉุดเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังเริ่มคลี่คลาย แต่ท้ายที่สุดกลายเป็นว่าราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานกลับทุบเศรษฐกิจร่วงลงมาอีกครั้ง

ดังนั้น จากปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้สถานการณ์ด้านพลังงานของประเทศยังคงอยู่ในภาวะวิกฤต เพราะปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมันนั้นหลักๆ เป็นปัจจัยภายนอก ยากที่จะจัดการ เพราะฉะนั้นภาครัฐจึงได้พยายามหาแนวทางที่เข้ามาช่วยเหลือประชาชน ไม่ว่าจะลดภาษีหรือการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาช่วยอุ้ม แต่แล้วราคาน้ำมันก็ยังคงพุ่งทะยานไม่หยุด เงินกองทุนก็หมด หายไปเหมือนเททิ้งทะเล

จนสุดท้ายรัฐบาลต้องยอมรับความจริงที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์น้ำมันแพง เงินกองทุนน้ำมันที่ใช้ตรึงราคาน้ำมันก็ติดลบเฉียด 70,000 ล้านบาท อีกทั้งยังมีความชัดเจนว่าสงครามรัสเซีย-ยูเครนอาจจะยืดเยื้อยาวนาน ทำให้รัฐบาลตัดสินใจประกาศเลิกการตรึงราคาน้ำมันดีเซลในราคา 30 บาทต่อลิตร โดยมีผลวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้เมื่อวันที่ 30 เม.ย.2565 เราจึงได้เห็นภาพการต่อคิวเพื่อเติมน้ำมัน

อย่างไรก็ตาม จากปัญหาราคาน้ำมันที่แพงทะลุเพดานและเกิดการขาดแคลนในบางประเทศ ทำให้หลายคนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองในด้านพลังงาน ซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติถือว่าเป็นอีกหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดหาพลังงานให้กับประเทศ ดังนั้นจึงได้เดินหน้าสร้างความมั่นคงด้านพลังงานโดยการยืนด้วยขาของตนเองในสองเรื่องด้วยกัน คือ

นอกจากจะเริ่มใช้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract) หรือ PSC ในการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของไทย ได้แก่ แปลง G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และแปลง G2/61 (แหล่งบงกช) เพื่อให้สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่องจากแหล่งพลังงานภายในประเทศ ซึ่งก๊าซธรรมชาติถือเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าที่เป็นพลังงานสะอาด มีราคาถูก และเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแล้ว

ยังรอออกประกาศเชิญชวนการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบที่ 24 บริเวณทะเลอ่าวไทย ภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต จำนวน 3 แปลง ประกอบด้วย แปลง G1/65, G2/65 และ G3/65 บริเวณทะเลอ่าวไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับแนวท่อก๊าซที่มีอยู่เดิม และอยู่ใกล้กับพื้นที่ผลิตหลักที่ปัจจุบันมีการผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมต่อไปได้

ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะมีเอกชนผู้สนใจเข้ามายื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติของไทยให้มีความมั่นคง ทำให้เราสามารถยืนด้วยขาตัวเอง และลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศในอนาคต และยังเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงพลังงาน โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในเบื้องต้นกว่า 1,500 ล้านบาท และจะต่อยอดให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นล้านบาทหากมีการสำรวจพบปิโตรเลียม

นอกจากนั้นยังสามารถสร้างผลประโยชน์ให้รัฐในรูปค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และส่วนแบ่งกำไร ตลอดจนก่อให้เกิดการจ้างงานพนักงานคนไทย

การดำเนินการดังกล่าวของกรมเชื้อเพลงฯ นั้นเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศอีกครั้ง หลังจากที่การเปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศหยุดชะงักมาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนและสร้างรายได้ให้ประเทศ

ที่สำคัญ เป็นโอกาสในการก้าวสู่ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ด้วยการพึ่งพาตัวเองโดยพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่มีศักยภาพของเราเอง ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นทั่วโลก.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว