จากร้านหนังสือสู่ห้างหรูระดับโลก

นับเป็นเวลากว่า 75 ปีแล้วหลังจาก "เตียง" และ "สัมฤทธิ์" จิราธิวัฒน์ เปิดร้านหนังสือเล็กๆ แห่งแรกจนปัจจุบัน ต้องบอกว่า "กลุ่มเซ็นทรัล" สยายปีกธุรกิจของตัวเองต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงแค่การขยายตัวในประเทศ แต่ยังมีกิจการหลายๆ แห่งอยู่ในหลายประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะในยุโรปที่ต้องย้อนกลับไปก้าวแรกที่กลุ่มเซ็นทรัลได้ริเริ่มดำเนินธุรกิจในยุโรป คือการเข้าซื้อกิจการห้างหรู รีนาเชนเต ในประเทศอิตาลี เมื่อปี 2554 ตามด้วยอิลลุม ในปี 2556 กลุ่มคาเดเว ในปี 2558 โกลบุส ในปี 2563 และในปี 2565 ได้เข้าซื้อกิจการของกลุ่มเซลฟริดเจสนั่นเอง

เรียกว่าไม่ธรรมดาจริงๆ เพราะตอนนี้กลุ่มเซ็นทรัล เครือข่ายห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมถึง 11 ประเทศ 80 เมือง 120 สาขา แถมยังตั้งเป้ายอดขายในปีนี้กว่า 6.7 พันล้านยูโร หรือ 2.6 แสนล้านบาทอีกด้วย!

โดยการรวมกลุ่มเซลฟริดเจสเข้าสู่คอลเลกชันห้างสรรพสินค้าลักชัวรีของกลุ่มเซ็นทรัล ดูเหมือนว่าจะทำให้กลุ่มเซ็นทรัลกลายเป็นผู้นำธุรกิจห้างสรรพสินค้าลักชัวรีระดับโลกไปแล้ว จะเห็นได้ว่ามีจำนวนของห้างแฟลกชิปหรูในเมืองท่องเที่ยวชั้นนำที่มากที่สุด พร้อมทั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซลักชัวรีระดับแนวหน้า และการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์อันโดดเด่นถึง 19 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 1 ศตวรรษ และล้วนตั้งอยู่บนทำเลเด่นใจกลางเมืองสำคัญของยุโรป อาทิ ลอนดอน ซูริก โรม โคเปนเฮเกน ดับลิน และเวียนนา

โดย ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารของกลุ่มเซ็นทรัล ระบุว่า ลักชัวรีเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของกลุ่มเซ็นทรัล เริ่มจากการเข้าซื้อกิจการห้างรีนาเชนเต ซึ่งสอดคล้องกับจังหวะที่แบรนด์ลักชัวรีของยุโรปกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยกระแสของการท่องเที่ยวทั่วโลก ถึงแม้เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนในระยะที่ผ่านมา ตลาดลักชัวรีได้แสดงศักยภาพสามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว จากความต้องการผู้บริโภคที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันห้างในยุโรปของกลุ่มเซ็นทรัลต้อนรับลูกค้ากว่า 130 ล้านคนต่อปี กว่า 200 เชื้อชาติ และมีสมาชิกกว่า 6 ล้านคน

ต้องบอกว่าก้าวต่อไปคงน่าสนใจอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวไม่ดีนัก รวมถึงยังมีปัจจัยด้านอื่นๆ ที่ท้าทายอยู่มาก แต่แน่นอนว่ากลยุทธ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ขนาดนี้ก็ต้องวางแผนอย่างรอบด้าน โดยกลยุทธ์แรกที่กลุ่มเซ็นทรัลจะให้ความสำคัญนั้นก็จะเป็นพัฒนาและขยายห้างสรรพสินค้าที่มีเอกลักษณ์ในเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ด้วยการร่วมมือกับลักชัวรีแบรนด์ เช่น LVMH, Kering และ Richemont เพื่อยกระดับและเพิ่มความหลากหลายของสินค้า แต่ละห้างยังมีสินค้าอาหารระดับพรีเมียม และมีร้านอาหารหลากหลายไว้บริการ ที่จะเห็นได้ในโฉมใหม่ของห้างคาเดเวในเบอร์ลิน ห้างรีนาเชนเตในมิลานและโรม และห้างโกลบุสในซูริก ที่ได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนาห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในหลายประเทศ รวมถึงการสร้างโครงการใหม่อีก 3 แห่ง และยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาโอกาสเพื่อพัฒนาเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ทำเลทอง ใจกลางเมืองลอนดอน ที่เซลฟริดเจสแฟลกชิป บนถนนออกซ์ฟอร์ดอีกด้วย

ส่วนกลยุทธ์ที่สองนั้นจะเน้นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และเป็นพันธมิตรคู่ค้าที่มีเครือข่ายทั่วโลกให้กับแบรนด์ลักชัวรีและแบรนด์แฟชั่นชั้นนำ ซึ่งปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของกลุ่มเซ็นทรัลในยุโรปมียอดจำนวนผู้มาเยือนกว่า 30 ล้านคนต่อเดือน มีการจัดส่งสินค้าไปยังกว่า 130 ประเทศทั่วโลก และสร้างยอดขายได้ถึง 1 พันล้านยูโร หรือ 3.8 หมื่นล้านบาทต่อปี คิดเป็น 17% ของยอดขายทั้งหมด ซึ่งยอดขายออนไลน์ในต่างประเทศของ Selfridges.com มีสัดส่วนสูงถึง 40% จึงวางยุทธศาสตร์ที่จะใช้จุดแข็งของ Selfridges.com ได้แก่ แบรนด์เซลฟริดเจส ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักดีทั่วโลก, แบรนด์และสินค้า พร้อมคอลเลกชันพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ จากทุกห้างสรรพสินค้าชั้นนำในเครือ, เทคโนโลยีล้ำสมัย และฐานข้อมูลลูกค้า ที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์และมอบบริการให้ลูกค้าได้แบบเฉพาะบุคคล และเครือข่ายห้างสรรพสินค้าใน 11 ประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์และเข้าถึงลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

คงต้องมาดูกันว่าต่อจากนี้กลุ่มเซ็นทรัลจะเดินหน้ากลยุทธ์ต่างๆ และทำให้ห้างหรูในต่างประเทศเติบโตมากน้อยเพียงใด!.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว