ภาษีคาร์บอนโจทย์ใหม่ส่งออกไทย

สู่เป้าหมายเพื่อความยั่งยืน พร้อมกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นเพิ่มขึ้น เพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ โดยมีหลายประเทศทั่วโลกเริ่มหันมาใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนสินค้าข้ามแดน หรือ Carbon Border Tax จากสินค้านำเข้าที่ผลิตจากต่างประเทศซึ่งไม่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (อียู) สวีเดน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เอเชีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เป็นต้น

รวมถึงไทยก็กำลังเร่งศึกษาการเก็บภาษีคาร์บอนเช่นกัน เพื่อผลักดันไทยเป็น Net Zero ลดก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ในปี 2065 ซึ่ง เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า ในปีงบประมาณ 2566

กรมสรรพสามิตเตรียมศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีคาร์บอน ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่ท้าทายต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินงานของกรมสรรพสามิต หลังจากที่ทั่วโลกต่างเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบจนทำให้ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้มาตรการทางภาษีเป็นตัวขับเคลื่อน

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพสามิตมีแนวทางในการสนับสนุนการนำเอทานอลบริสุทธิ์มาใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ หรือ Bio Plastic, เชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน หรือ Bio Jet ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตสินค้า และช่วยส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ด้าน ชัยวัฒน์ นันทิรุจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด (EKA GLOBAL) ผู้ดำเนินธุรกิจนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร ระบุว่า ตลาดโลกเริ่มพูดถึงประเด็นการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดยุโรป อเมริกา ซึ่งถือเป็นปัจจัยท้าทายใหม่ของภาคส่งออกไทยที่ต้องตระหนักและต้องเร่งมือปรับตัว โดยสินค้ากลุ่มเสี่ยงแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบคือ อะลูมิเนียม เหล็ก ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ ฯลฯ และในอนาคตอันใกล้อาจจะมีการเพิ่มรายการสินค้ามากขึ้นอีก โดยคาดว่าจะขยายไปยังกลุ่มสินค้าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นต้น

ดังนั้น ผู้ประกอบการส่งออกทั้งรายใหญ่และขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอีไทย จำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์รอบด้าน ทั้งการวางโมเดลธุรกิจ การคินค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน การทำธุรกิจแบบ Low Carbon เพื่อจะก้าวได้ทันสถานการณ์โลก และสามารถแข่งขันในตลาดการค้าบนเวทีโลกได้

ชัยวัฒน์ ยังระบุว่า เอกา โกลบอล มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมและเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy อย่างสมบูรณ์ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนเช่นกัน โดยมุ่งเน้นในงานด้านวิจัยและพัฒนา ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น พร้อมกำหนด “กรีนโปรดักต์” เป็นโรดแมปธุรกิจในปี 2565 ล่าสุดเปิดตัวสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใน 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ Bioplastic หรือ PLA ที่ผลิตจากวัตถุดิบส่วนหนึ่งที่มาจากธรรมชาติ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด หรืออ้อย เป็นต้น

 บรรจุภัณฑ์ Biodegradable ที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (PCR) หรือเรซิน รีไซเคิล เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า นอกจากนั้นบรรจุภัณฑ์ของบริษัททุกกลุ่มผลิตภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้ 100%

อย่างไรก็ตาม ในด้านการดำเนินธุรกิจนั้นแนวโน้มในไตรมาส 3-4/2565 บริษัทได้รับผลบวกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตใหม่หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีความต้องการบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนและบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุอาหารมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้บริษัทมีออเดอร์จากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้นในทุกตลาดทั่วโลก ทั้งในอเมริกา ยุโรป จีน อินเดีย และไทย จนล้นกำลังการผลิตสูงสุด 2,850 ล้านชิ้นต่อปีแล้ว ทั้งนี้บริษัทจึงอยู่ระหว่างเตรียมแผนงานเพิ่มกำลังการผลิตในโรงงานที่ไทย และเตรียมเร่งก่อสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่อินเดียให้แล้วเสร็จ และสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2565.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา