ใช้จริงหรือแค่ขายฝัน'ตั๋วร่วม'

พูดกันมานานกว่า 10 ปี ไม่ว่าจะกี่รัฐบาล กี่รัฐมนตรี ต่างก็เข้ามาผลักดันให้สำหรับ ตั๋วร่วม เชื่อมต่อการเดินทางได้ในทุกระบบด้วยบัตรโดยสารหรือบัตรตั๋วร่วมใบเดียวใช้ได้ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นรถ ราง เรือ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีวี่แวว

ย้อนกับไปเมื่อปี 2549 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เริ่มโครงการศึกษาการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการศึกษาวางแนวทางการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และมีการศึกษาระบบจัดทำศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House หรือ CCH) ซึ่งดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ติดขัดที่ พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมยังไม่สามารถดำเนินการได้

ดูเหมือนว่ากระบวนการทั้งหมดจะสามารถเดินหน้าไปได้ตามแผน แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถใช้ตั๋วรวมได้เช่นเคย จนล่าสุดเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2565 สนข.ได้จัดสัมมนาโครงการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารรระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 3 โดย กรุณา เนียมเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. ระบุว่า ขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการตั๋วร่วม พ.ศ. ... ไปยังคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ที่มีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธาน ในเดือน ม.ค.2566 ก่อนเสนอ ครม. คาดว่าตามกระบวนการจะแล้วเสร็จเพื่อประกาศใช้ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมดังกล่าวภายในปลายปี 2566 พร้อมเริ่มต้นการประกาศใช้อัตราราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

พร้อมยังระบุอีกว่า ภายในปี 2570 ประชาชนจะสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมที่กำหนดอัตราค่าโดยสารเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยระบบรถไฟฟ้าจะเป็นโครงข่ายขนส่งสาธารณะหลักที่กำหนดให้มีการจัดเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว ซึ่ง สนข.จะเจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าในปัจจุบัน เพื่อขอความร่วมมือเข้าร่วมระบบ CCH เพื่อเป็นประโยชน์ให้การคำนวณการชดเชยรายได้ของเอกชน และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการถือบัตรรถไฟฟ้าเพียงใบเดียว

"หลัง พ.ร.บ.ตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้ ก็จะนำไปสู่การจัดตั้งบริษัทบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม ซึ่งส่วนนี้จะนำมาสนับสนุนรายได้ค่าโดยสารของเอกชนที่จะขาดหายไปจากการกำหนดอัตราตั๋วร่วมในมาตรฐานเดียวกัน และจากการบังคับใช้ส่วนลดค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าข้ามสายที่จะเกิดขึ้น เพื่อทำให้สัญญาสัมปทานที่มีเอกชนไม่ได้รับผลกระทบ แต่ขณะที่ประชาชนได้ประโยชน์จากการจัดเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว ค่าโดยสารถูกลง" น.ส.กรุณากล่าว

นอกจากนี้ สนข.จะจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม โดยนำรายได้จากหลายส่วน อาทิ การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ ส่วนแบ่งรายได้หรือผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ให้บริการขนส่งรายใหม่ เมื่อสัญญาสัมปทานมีข้อสัญญาให้ต้องส่งเงินเข้ากองทุน ส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการตั๋วร่วม และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่กองทุน เป็นต้น โดยเบื้องต้น สนข.ประเมินว่าจะต้องใช้เงินจากกองทุนดังกล่าวเพื่อสนับสนุนรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าที่มีรายได้ลดลงเฉลี่ย 1,300-1,500 ล้านบาทต่อปี

ในเบื้องต้น สนข.ศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม หรืออัตราค่าโดยสารเดียว สำหรับรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยศึกษาจากพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร พบอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมจะเริ่มต้นที่ 14 บาท และเพดานสูงสุดขั้นแรกที่ 42 บาท แต่หากมีการเดินทางข้ามระบบรถไฟฟ้าในพื้นที่ปริมณฑล ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแนวเส้นทางยาว จึงประเมินว่าการเดินทาง 36 กิโลเมตรขึ้นไป จะมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาท ทั้งระบบขนส่งสาธารณะ

หลังจากนี้คงต้องมาลุ้นกันว่า ระบบตั๋วร่วมที่ภาครัฐผลักดันกันมากว่า 10 ปีนั้นจะสามารถใช้ได้จริงตามที่กระทรวงคมนาคมได้ระบุไว้หรือไม่ หรือจะเป็นแค่ขายฝันเหมือนอดีตที่ผ่านมา.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว