เลขาฯอีอีซีคนใหม่กับพันธกิจดึงลงทุน

การคัดเลือกเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี คนใหม่ เพื่อแทน คณิศ แสงสุพรรณ ซึ่งหมดวาระไปเมื่อ 17 ส.ค.2565 ใกล้จะได้ข้อยุติในเร็ววันนี้แล้ว ล่าสุดคณะกรรมการสรรหาเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) อยู่ระหว่างการพิจารณาตัดสินคัดเลือกคนที่เหมาะ ซึ่งขณะนี้มี 3 ตัวเลือกด้วยกัน ประกอบด้วย  ธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน สกพอ. โดยที่ผ่านมาได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ สกพอ. หลังจากหมดวาระการเป็นผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) โดยเข้ามาช่วยเหลืองานด้านการพัฒนาเมืองใหม่ รวมถึงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้อาศัยในอีอีซี ครอบคลุมทั้งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง

ฃนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย โดยก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย และเลขานุการธนาคารกรุงไทย และเป็นผู้ริเริ่มนำร่องใช้องค์ความรู้ด้านกฎหมายแก้ปัญหาผู้บุกรุกที่ดิน รฟท. พร้อมเร่งตั้งบริษัทลูก บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เพื่อเริ่มบริหารสินทรัพย์ รฟท.

จุฬา สุขมานพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ผ่านงานบริหารมาหลายองค์กร ทั้งผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), อธิบดีกรมเจ้าท่า, อธิบดีกรมท่าอากาศยาน และผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ซึ่งที่ผ่านมานั้นมีบทบาทสำคัญในหลายเรื่อง โดยเพราะในเรื่องของการแก้ไขปัญหาทางด้านการบินที่ไทยถูกลดระดับมาตรฐานการบินเนื่องจากมีข้อบกพร่องทางด้านความปลอดภัย 

ฃสำหรับ สิ่งที่เลขาธิการคนใหม่จะต้องเข้ามาเร่งสานต่อคือ แผนลงทุนระยะ 2 ที่วางเป้า 5 ปี หรือตั้งแต่ 2565-2569 จะต้องต่อยอดและเร่งรัดการลงทุนนวัตกรรมขั้นสูง วิจัยและพัฒนาเพิ่มความสามารถการแข่งขันของไทย วงเงินลงทุนรวม 2.2 ล้านล้านบาท โดยชู 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ อุตสาหกรรม BCG เพื่อนำไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ก้าวสู่ประเทศพัฒนา

ฃอีกทั้งยังต้องเร่งเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในพื้นที่อีอีซี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ยังมีปัญหาคาราคาซัง โดยเฉพาะในเรื่องการแก้ไขสัญญาการร่วมทุน เพื่อปรับรูปแบบการชำระค่าสิทธิบริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

ฃนอกจากนี้ยังมี โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก, โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3, โครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในปลายปีนี้ ส่วน ศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) ที่หยุดชะงักไปหลังจากการบินไทยเข้าแผนฟื้นฟู และสถานการณ์โควิด-19

ฃมาดูมุมมองของภาคเอกชนที่มีต่อเลขาธิการอีอีซีคนใหม่ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เกรียงไกร เธียรนุกุล ระบุอย่างชัดเจนว่า เลขาธิการอีอีซีต้องมีความเข้าใจบริบทการลงทุนที่เป็นเมกะเทรนด์ใหม่ของโลก และวางนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของนักลงทุนอย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ หรือนิว เอส-เคิร์ฟ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG โมเดล รวมไปถึงการส่งเสริมพลังงานสะอาด และการลงทุนอย่างยั่งยืนและสมดุล อย่างเช่น การลงทุนของยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี และแบตเตอรี่ เพื่อดันไทยเป็นผู้นำการผลิตและอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

ฃอย่างไรก็ตาม ใครจะได้รับการคัดเลือกมานั่งตำแหน่งเลขาฯ อีอีซีนั้นต้องรอลุ้นกัน เพราะงานนี้ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน ถึงกับระบุชัดว่า การคัดเลือกเลขาฯ อีอีซีคนใหม่ต้องจบภายในเดือน ธ.ค.2565 เพราะหลังจากนี้  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ จะเริ่มเดินสายโรดโชว์ ประเดิมที่แรกที่ญี่ปุ่น และตามมาด้วยยุโรป และจีน ดังนั้นเลขาฯ อีอีซีจะต้องพร้อมที่จะออกไปโรดโชว์เพื่อคุยกับนักลงทุน โชว์ศักยภาพของพื้นที่อีอีซี ดึงอุตสาหกรรมเป้าหมาย อุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงมาลงทุนในไทยให้ได้.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี