ปลดล็อกอุปสรรคดึงลงทุน

การระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้นทำให้ทั่วโลกต่างประสบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ การเดินทาง การค้าขายที่หยุดชะงักไป แต่หลังจากที่เริ่มคลี่คลายตั้งแต่ในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ต่างก็เร่งกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านการลงทุน ซึ่้งประเทศไทยเองก็เช่นกัน การส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐด้วยมาตรการต่างๆ ส่งผลให้ปี 2565 ที่ผ่านมานั้นมีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ถึง 2,119 โครงการ เพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 และมีเงินลงทุน 664,630 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% นับเป็นมูลค่าที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด

โดยเป็นการขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีเงินลงทุน 468,668 ล้านบาท คิดเป็น 71% ของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น และเงินลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 129,475 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน มีมูลค่า 105,371 ล้านบาท อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร มีมูลค่า 81,731 ล้านบาท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ มีมูลค่า 59,762 ล้านบาท และอุตสาหกรรมดิจิทัล มีมูลค่า 49,458ล้านบาท ตามลำดับ

นอกเหนือจากอุตสาหกรรมเป้าหมายแล้ว ธุรกิจที่มีเงินลงทุนสูงได้แก่ กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน กิจการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม กิจการขนส่งและโลจิสติกส์ สำหรับในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซีนั้น มีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมทั้งหมด โดยมีการขอการรับการส่งเสริมจำนวน 637 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 358,833 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84% อย่างไรก็ตามจากคำขอส่งเสริมของปี 2565 ที่ผ่านมานั้น ในจำนวนดังกล่าวเป็นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ หรือ FDI มีมูลค่า 433,971 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งจีนมีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมสูงสุด 77,381 ล้านบาท

สำหรับในปี 2566 นั้น ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนและอาจจะชะลอการเติบโต คาดประเทศไทยจะสามารักษาระดับการลงทุนไว้ได้ไม่ต่ำกว่า 5-6 แสนล้านบาท โดยมีปัจจัยหลักมาจากการมีโครงสร้างพื้นฐานและฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง และมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า BCG พลังงานสะอาด การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ รวมถึงไม่อยู่ในความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ 

อย่างไรก็ตาม นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการบีโอไอ ระบุว่า โครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนครั้งนี้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สอดรับกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ของบีโอไอ และจะช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาว ทั้งในด้านการสร้างฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญ โดยเฉพาะแบตเตอรี่ และโครงการที่นำขยะชุมชนมาผ่านการคัดแยกและแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง เพื่อนำไปใช้ในโรงปูนซิเมนต์และโรงไฟฟ้าแทนการใช้ถ่านหิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่รัฐบาลกำลังผลักดัน

จากสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองและสงครามระหว่างประเทศ ความอ่อนไหวของเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้นักลงทุนมองหาพื้นที่ลงทุนตั้งธุรกิจที่มีความปลอดภัย มีความเสี่ยงต่ำ จึงเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยที่ใช้ช่วงเวลานี้ดึงดูดให้บริษัทชั้นนำเข้ามาจัดตั้งสำนักงานภูมิภาค เพื่อใช้เป็นฐานในการกำกับดูแลและให้บริการบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ในภูมิภาค

ดังนั้น บีโอไอได้เร่งปลดล็อกอุปสรรคการลงทุน โดยล่าสุดจัดตั้งบริการช่องทางอำนวยความสะดวกออนไลน์สำหรับกิจการสำนักงานภูมิภาคอย่างครบวงจร (ระบบ HQ Biz Portal) เพื่อให้บริการข้อมูลและคำปรึกษาในจุดเดียว รวมถึงอำนวยความสะดวกในการขออนุมัติ/อนุญาต และเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาค และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศและประตูการค้าแห่งใหม่ของภูมิภาค.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว