ข้อแนะนำลดเสี่ยงถูกแฮ็ก-ดูดเงิน

จากหลายกรณีของการโจรกรรมออนไลน์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ผู้ทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์จำนวนมากเกิดความกังวล และล่าสุดมีการดึงเงินออกจากบัญชีโดยที่เจ้าของบัญชีไม่รู้ตัว ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตรวจสอบกรณีดังกล่าว พร้อมออกมาชี้แจงแล้วว่า เหตุเกิดจากผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์ ทำให้มิจฉาชีพล่วงรู้ข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า จากนั้นจึงควบคุมโทรศัพท์เพื่อสวมรอยทำธุรกรรมจากระยะไกล โดยโอนเงินออกจากบัญชีในช่วงเวลาที่ผู้เสียหายไม่ได้ใช้งานโทรศัพท์

จากเหตุการณ์ดังกล่าว เลยอยากหยิบยกเอาคำแนะนำจากทรูมันนี่ เกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการ “หยุดกลโกง” ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ลดความเสี่ยงถูกแฮ็กข้อมูลดูดเงินในบัญชีของตัวเอง อย่างแรกเลยคือ อย่าเผลอโหลดแอปเถื่อนหรือคลิกลิงก์ประหลาด โดยควรหลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอปเถื่อน เลือกดาวน์โหลดแอปจากผู้พัฒนา

ระบบปฏิบัติการที่เป็น Official Store ได้แก่ Google Play Store ในระบบปฏิบัติการ Android และ App Store ในระบบปฏิบัติการ iOS เท่านั้น รวมถึงไม่ควรคลิกลิงก์ที่มีลักษณะแปลกปลอมที่มาจากการแชร์ข้อความ ลิงก์ที่มาจากคนไม่รู้จัก และลิงก์ที่ URL ดูไม่น่าเชื่อถือ

ต่อมาคือ เลือกศูนย์บริการที่วางใจได้ และอุปกรณ์เสริมแท้สบายใจกว่า เพราะการซ่อมแซมที่มีความจำเป็นต้องเข้าถึงอุปกรณ์ภายใน รวมทั้งการลงโปรแกรมหรือการโอนถ่ายข้อมูลต่างๆ อาจเป็นการเปิดช่องความเสี่ยงให้ถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลได้ การส่งซ่อมที่ศูนย์บริการที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ย่อมเป็นสิ่งการันตีว่ามือถือหรือแท็บเล็ตของคุณจะได้รับการซ่อมแซมอย่างถูกวิธีโดยผู้เชี่ยวชาญและกลับมาในสภาพสมบูรณ์ที่สุด

นอกจากนี้ อย่าใช้อุปกรณ์มือถือที่ถูก Jailbreak หรือ Root อย่าใช้มือถือหรือแท็บเล็ตที่มีการติดตั้งเปลี่ยนแปลงระบบปฏิบัติการ Android หรือ iOS ด้วยวิธีเจลเบรก หรือรูท ซึ่งปกติทำเพื่อให้สามารถแก้ไขระบบ หรือติดตั้งโปรแกรมบางชนิดที่ปกติแล้วไม่ได้รับอนุญาตให้สามารถดำเนินการเองได้ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเป็นช่องทางให้การทำงานของทุกแอปพลิเคชันสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและไฟล์สำคัญต่างๆในโทรศัพท์และแท็บเล็ตของท่านได้อย่างง่ายด่าย และมิจฉาชีพอาจใช้ช่องโหว่นี้เข้าถึงข้อมูลสำคัญและเครื่องของคุณได้

ขณะเดียวกัน ควรตั้งรหัสเข้าถึงอุปกรณ์และระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่น ป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นรู้รหัสส่วนตัว หรือเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน โดยเลือกตั้งล็อกหน้าจอแบบอัตโนมัติ และใส่รหัสหรือสแกนลายนิ้วมือหรือใบหน้าเพื่อปลดล็อกทุกครั้งก่อนใช้งาน ที่สำคัญคือไม่เปิดเผยข้อมูล Username, Password และรหัส OTP ให้คนอื่นรับทราบ

ข้อปฏิบัติต่อมาคือ หลีกให้ไกลจากบรรดาเว็บเสี่ยงสูงทุกชนิด ไม่เข้าเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายและไม่เหมาะสม เนื่องจากเว็บเหล่านี้มักมีการร้องขอการอนุญาตเพื่อเข้าสู่ข้อมูลสำคัญ การจดบันทึก วิดีโอ หรือรูปภาพ โดยที่ผู้ใช้ไม่ทันรู้ตัว รวมถึงยังควรเปิดแจ้งเตือนอยู่เสมอ เพื่อแก้ไขในทันทีกรณีเกิดเหตุ เพื่อความปลอดภัย และให้รู้ข้อมูลความเคลื่อนไหวในทุกธุรกรรมทางการเงินของตัวเองตลอดเวลา ขอแนะนำให้ท่านเปิดรับและตรวจสอบการแจ้งเตือนต่างๆ ในแอปพลิเคชันธนาคาร 

โดยหากเครื่องผิดปกติให้รีบเอะใจ กรณีพบความผิดปกติของโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตระหว่างการใช้งาน เช่น หน้าจอดับ, หน้าจอค้าง ให้รีบดำเนินการตรวจสอบข้อมูลบัญชีทางการเงิน และเปลี่ยนรหัส  Username และ Password โดยแจ้งให้ธนาคาร หรือบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินของท่านรับทราบโดยทันที เพื่อป้องกันบุคคลอื่นเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว 

ขณะเดียวกัน โหมดการบินอาจช่วยคุณได้ ในกรณีที่มีการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลลงไปในลิงก์แปลกปลอม หรือเผลอติดตั้งแอปปลอมที่แฝงมัลแวร์ไปแล้ว แนะนำให้รีบเปิดโหมดเครื่องบิน เพื่อให้มือถือไม่สามารถเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต และควรอัปเดตระบบปฏิบัติการและแอปบ่อยๆ หมั่นอัปเดตระบบปฏิบัติการและเวอร์ชันแอปพลิเคชันที่ใช้งานให้เป็นปัจจุบันเสมอ เพื่อปรับปรุงคุณภาพความปลอดภัย.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

30@30 โอกาส SME

สำหรับนโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี