ESGความยั่งยืนคือ“โอกาส”

ESG แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนกำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกในปัจจุบัน และไม่ใช่แค่เทรนด์เท่านั้น เป็นแนวคิดระดับโลกที่ธุรกิจทุกขนาดจะต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้โลกของเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน และธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้ในอนาคต โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งการดำเนินธุรกิจต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อม, สังคม (Social) บริษัทต้องมีการจัดการความสัมพันธ์กับพนักงาน ลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชนท้องถิ่น และผู้ทำงานใน Value Chain ให้มีสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน, ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และหลักธรรมมาภิบาล (Governance) บริษัทต้องมีการจัดการกำกับดูแลอย่างไร เพื่อให้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้

ทั้งนี้ finbiz by ttb วิเคราะห์ว่า แรงหนุนที่ทำให้ธุรกิจต้องรีบพัฒนาองค์กรตามแนวคิด ESG ไม่ใช่เพียงเพราะว่าธุรกิจเป็นส่วนหลักในการสนับสนุนโลกให้ยั่งยืนเท่านั้น แต่ยังมีแรงหนุนอื่น ๆ ทำให้ธุรกิจตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึง SME ต้องสนใจ จำเป็นต้องเข้าถึง และใช้แนวคิด ESG ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่

1) ความกังวลด้านวิกฤตการเปลี่ยนแปลง และ Climate Crisis & Environmental Concerns การคาดหวังว่าธุรกิจจะมีส่วนช่วยลดอุณหภูมิโลกให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียสให้ได้ โดยเป็นการคาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

2) กฎระเบียบต่างๆ (Regulatory Driven) เช่น พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาษีคาร์บอน คาร์บอนเครดิต ถ้าธุรกิจมีการปล่อยคาร์บอนสูง ในอนาคตสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การจ่ายชดเชยในสิ่งแวดล้อมที่เสียหายไปจากการทำธุรกิจ ในรูปของภาษีคาร์บอน เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น

3) ความห่วงใยด้านสังคม (Social Concerns) ปัจจุบันมีการพูดถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำ สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อทุกคนโดยเท่าเทียมมากขึ้น โดยเฉพาะคน Gen Z แรงงานกลุ่มใหญ่ที่เริ่มเข้ามาสู่องค์กรให้ความสำคัญในด้านนี้ โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานระดับ Talent ยิ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษ และ 4) ชื่อเสียงของบริษัท (Company’s Reputation) องค์กรที่มีแนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืนที่ชัดเจน ย่อมสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เกิดกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หุ้นส่วน และพันธมิตรต่างๆ

finbiz by ttb ยังระบุว่า ความยั่งยืนคือ “โอกาส” เมื่อทำแล้วจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว อาทิ ลดค่าไฟ ค่าน้ำ และกำจัดของเสียให้เป็นศูนย์ ทำให้กระบวนทางธุรกิจ LEAN มากขึ้น ตอบโจทย์ทางด้านการเงิน และองค์กรสามารถทำกำไรในการแข่งขันได้มากขึ้น และเมื่อการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อตอบโจทย์เทรนด์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป จะช่วยลดความเสี่ยงและทำให้องค์กรมีขีดความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตที่เพิ่มมากขึ้น

อีกทั้งยังเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนที่มีความรู้ความสามารถให้อยากจะร่วมงานกับองค์กร ถ้าดูแลพนักงานอย่างดี พนักงานย่อมอยากจะอยู่กับองค์กรไปนานๆ ต้นทุนในการสรรหาบุคลากร การวางแผนกำลังคนเพื่อทดแทนบุคลากรในตำแหน่งต่างๆ ก็จะลดลงตามไปด้วย รวมถึงเป็นแต้มต่อในการหาเม็ดเงินหรือระดมทุนของบริษัทในอนาคต เนื่องจากนักลงทุนและสถาบันการเงินยุคนี้จะพิจารณาเรื่องความยั่งยืน ก่อนจะตัดสินใจเข้าไปลงทุน หรือปล่อยกู้ให้บริษัทใดบริษัทหนึ่ง

นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งหลายบริษัทผนวก ESG เข้ากับธุรกิจ จนสามารถออกผลิตภัณฑ์นวัตกรรม หรือเกิดธุรกิจใหม่ได้สำเร็จ ช่วย เสริมภาพลักษณ์องค์กร ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า และรเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันที่ผู้คนหันมาสนใจความยั่งยืนด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ดังนั้น ผู้ประกอบการจะเห็นได้ว่า ESG ไม่ใช่กระแส หากไม่รีบเริ่มตั้งแต่วันนี้จะทำให้เสียโอกาส และอำนาจในการแข่งขันทั้งหมดไป ธุรกิจที่เริ่มก่อนย่อมได้เปรียบ ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันจะต้องเริ่มได้แล้วในมิติใดมิติหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม สังคม หรือธรรมาภิบาล โดยผู้นำองค์กรที่เห็นความสำคัญจะสามารถผลักดันองค์กรและผนวกแนวคิด ESG ได้โดยไม่ใช่เรื่องยาก.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว