หยุดยาวเดินทางคึกคัก

หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้วันที่ 31 ก.ค. เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน ทำให้มีวันหยุดราชการยาวตั้งแต่ 28 ก.ค.-2 ส.ค. ทั้งสิ้น รวม 6 วัน มองว่าจะเป็นการกระตุ้นการเดินทางและส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว ซึ่งก็สอดคล้องกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เชื่อว่าภาพรวมจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากอยู่ระหว่างคาบเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ประชาชนจะออกไปทำบุญและเข้าร่วมกิจกรรมตามจุดต่างๆ ของประเทศ

หยุดยาว 6 วันจะทำให้ประชาชนหลั่งไหลเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก ทำให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมได้ออกมาคาดการณ์ว่าจะมีประชาชนเดินทางด้วยรถสาธารณะเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการเตรียมความพร้อมระบบขนส่งสาธารณะทั้งขาไปและขากลับให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อไม่ให้มีการตกค้างตามสถานีรถไฟและ บขส.

จากข้อมูลของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยข้อมูลการเดินรถประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเป็นวันแรกของวันหยุดยาว 6 วัน (ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม-2 สิงหาคม 2566) ในเที่ยวไป บขส.จัดรถโดยสาร (รถ บขส., รถร่วม, รถตู้) จำนวน 4,011 เที่ยว รองรับผู้โดยสารจำนวน 58,889 คน ส่วนเที่ยวกลับจัดรถโดยสารจำนวน 3,964 เที่ยว รองรับผู้โดยสาร 50,735 คน รวมจำนวนเที่ยวไปและเที่ยวกลับได้จัดรถโดยสารจำนวน 7,975 เที่ยว รองรับผู้โดยสาร 109,624 คน โดย บขส.สามารถบริหารจัดการเดินรถและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาด้วยความเรียบร้อย ไม่มีปัญหาผู้โดยสารตกค้าง

ในส่วนการเดินทางในเที่ยวกลับ บขส.คาดการณ์ว่าประชาชนจะทยอยเดินทางกลับระหว่างวันที่ 2-3 สิงหาคม 2566 ซึ่ง บขส.เตรียมจัดรถโดยสาร (รถ บขส., รถร่วม, รถตู้) ประมาณวันละ 3,500 เที่ยว รองรับผู้โดยสารเดินทางเฉลี่ยวันละ 35,000 คน และได้ขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองบังคับการตำรวจจราจร สน.บางซื่อ, สน.ตลิ่งชัน และ สน.ทองหล่อ สนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจ อำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัย และการจราจรโดยรอบสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพทั้ง 5 แห่ง และประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และผู้ประกอบการรถแท็กซี่ นำรถโดยสารมารับผู้โดยสารในเที่ยวกลับ บริเวณชานชาลาขาเข้า สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) เป็นต้น

 ส่วนกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้เปิดเผยข้อมูลในช่วงวันหยุดต่อเนื่องที่ผ่านมา 2 วัน (28-29 ก.ค.2566) มีประชาชนใช้บริการระบบรางรวม 2,201,339 คน-เที่ยว ประกอบด้วย 1.รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีผู้ใช้บริการรวม 310,562 คน-เที่ยว แบ่งเป็น ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 130,414 คน-เที่ยว และเชิงสังคม 180,148 คน-เที่ยว มีผู้โดยสารขาออกสะสม 96,450 คน-เที่ยว และขาเข้า 84,827 คน-เที่ยว ซึ่งพบว่าสายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุด 60,372 คน-เที่ยว (ขาออก 32,290 คน-เที่ยว และขาเข้า 28,082 คน-เที่ยว) 

 รองลงมาคือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ 46,469 คน-เที่ยว (ขาออก 25,382 คน-เที่ยว และขาเข้า 21,087 คน-เที่ยว) สายเหนือ 38,008 คน-เที่ยว (ขาออก 19,320 คน-เที่ยว ขาเข้า 18,688 คน-เที่ยว) สายตะวันออก 22,323 คน-เที่ยว (ขาออก 12,220 คน-เที่ยว ขาเข้า 10,103 คน-เที่ยว) และสายมหาชัย/แม่กลอง 14,105 คน-เที่ยว (ขาออก 7,238 คน-เที่ยว ขาเข้า 6,867 คน-เที่ยว)

และ 2.ระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (รวมรถไฟฟ้าชานเมือง-สายสีแดง) สะสม 2 วัน มีผู้ใช้บริการ 1,890,777 คน-เที่ยว ประกอบด้วยแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 100,278 คน-เที่ยว สายสีแดง 31,591 คน-เที่ยว สายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) 68,311 คน-เที่ยว สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) 462,592 คน-เที่ยว สายสีเหลือง 84,320 คน-เที่ยว และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) 1,143,685 คน-เที่ยว

 ก็คงต้องบอกว่า ตลอดช่วงวันหยุดยาวนี้ประชาชนที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะหายห่วงเรื่องความปลอดภัยได้เลย เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้เน้นย้ำให้ผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ให้บริการสถานีขนส่งผู้โดยสาร และจุดจอดทุกแห่ง ตรวจความพร้อมของรถและความพร้อมของผู้ขับรถก่อนออกเดินทาง ตามแบบ Checklist เช่น การมีใบอนุญาตขับรถที่ถูกต้อง การตรวจความพร้อมด้านร่างกาย การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจ ต้องเป็น 0 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ รถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรงทั้งสภาพตัวรถภายนอกและภายใน รวมทั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยต่างๆ ต้องพร้อมใช้งานอยู่เสมอ.

 

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เก้าอี้ร้อนฉ่า

ถือเป็นประเด็นร้อนหลังจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (สร.ขสมก.) ออกมากดดัน ล่าสุดได้ยื่นหนังสือถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต