แลนด์บริดจ์ตัวเปลี่ยนเกม

ในที่สุดโครงการมหาบิ๊กโปรเจ็กต์อย่าง ‘แลนด์บริดจ์’ ที่เชื่อมการขนส่งสองฝั่งทะเล อ่าวไทยและอันดามัน ก็มีรายละเอียดเป็นรูปเป็นร่างออกมาชัดเจน

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ก็มีการเปิดเผยเม็ดเงินลงทุนสำหรับโครงการนี้ออกมาสูงถึง 1 ล้านล้านบาท ซึ่งต้องเรียกว่าเป็นการลงทุนครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเลยทีเดียว

ทำไม ‘แลนด์บริดจ์’ ถึงมีความสำคัญ ก็เพราะว่าโครงการนี้จะเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการค้าและการขนส่งในระดับโลก และเปลี่ยนประเทศไทยไปตลอดกาล ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการเปิดคลองปานามาและคลองสุเอซเลยทีเดียว

 อย่างที่ทราบกันดี เส้นทางการขนส่งสินค้าในภูมิภาคนี้ในปัจจุบันคือ การเดินทางผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งมีสิงคโปร์และสหรัฐเป็นคนคุมเกม แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าจากจีนเพื่อไปยังอินเดีย ยุโรป ตะวันออกกลาง ล้วนจะต้องใช้เส้นทางนี้ แต่ขณะเดียวกันไทยเองซึ่งเป็นประเทศที่เชื่อมทะเลสองฝั่งทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก (อ่าวไทย) และมหาสมุทรอินเดีย (ทะเลอันดามัน) ด้วยความกว้างเพียงกว่า 80 กิโลเมตร ซึ่งสามารถลดเวลาการขนส่งได้ 2-3 วันหากเทียบกับเส้นทางในปัจจุบัน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ 

เดิมที คนไทยก็คงทราบกันดีว่าประเทศของเรา เคยมีความคิดจะขุดคอคอดกระ หรือที่เรียกว่า คลองไทย ขึ้นมา เพื่อเปลี่ยนเส้นทางขนส่งสินค้า แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ส่วนหนึ่งเพราะใช้งบประมาณสูง อาจจะไม่คุ้มทุน สอง อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ดังนั้นโครงการขุดคลองจึงไม่ประสบความสำเร็จ จึงมีการศึกษาโครงการทางเลือกใหม่ คือ การสร้างถนนและระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อม 2 ฝั่งทะเลขึ้นมา หรือที่เรียกว่า ‘แลนด์บริดจ์’ แน่นอนโครงการนี้ลงทุนน้อยกว่า และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ง่ายกว่า เพราะเราแค่ต้องการสร้างทางเลือก ไม่ใช่ไปตัดเส้นทางทำกินของเพื่อนบ้าน ดังนั้นจากนี้ต้องลุ้นว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้นได้เร็วแค่ไหน

แต่เพียงประกาศโครงการนี้ ไม่นานก็มีนักลงทุนรายใหญ่สนใจแล้ว อย่างประเทศซาอุดีอาระเบีย ก็เป็นชาติแรกๆ ที่แสดงความสนใจที่จะสร้างคลังน้ำมันในภาคใต้ ซึ่งจะเป็นจุดกระจายน้ำมันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนี่แค่ประเทศเดียว ยังมีนักลงทุนอีกจำนวนมากที่ก็จับจ้องโครงการนี้

ดังนั้นนี่ถือเป็นโครงการที่เป็นตัวเปลี่ยนเกม สำหรับประเทศไทยให้กลายเป็นประเทศทางเศรษฐกิจชั้นนำของภูมิภาคนี้ได้อย่างแน่นอน

ส่วนรายละเอียดของโครงการแลนด์บริดจ์นี้ สนข.ได้มีการกำหนดพื้นที่ออกมาแล้ว โดยในส่วนของฝั่งอันดามันจะตั้งอยู่ที่แหลมอ่าวอ่าง จังหวัดระนอง และฝั่งอ่าวไทยอยู่แหลมริ่ว จังหวัดชุมพร ซึ่งเม็ดเงินลงทุน 1 ล้านล้านบาทจะประกอบไปด้วย โครงการท่าเรือฝั่งชุมพร 3 แสนล้านบาท โครงการท่าเรือฝั่งระนอง 3.3 แสนล้านบาท โครงการพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (SRTO) รวม 1.4 แสนล้านบาท และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือ วงเงินราว 2.2 แสนล้านบาท

พร้อมกันนี้ทาง สนข.มั่นใจว่าปีแรกของการเปิดให้บริการท่าเรือน้ำลึกแลนด์บริดจ์ หรือราวปี 2573 จะมีปริมาณขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือระนอง จำนวน 19.4 ล้านทีอียู แบ่งเป็น 1.สินค้าถ่ายลำ จำนวน 13.6 ล้านทีอียู 2.สินค้านำเข้า-ส่งออกของไทย จำนวน 4.6 ล้านทีอียู และ 3.สินค้าจากจีนตอนใต้ และกลุ่ม GMS จำนวน 1.2 ล้านทีอียู

ส่วนท่าเรือชุมพรจะมีสินค้าผ่านท่า จำนวน 13.8 ล้านทีอียู แบ่งเป็น 1.สินค้าถ่ายลำ จำนวน 12.2 ล้านทีอียู 2.สินค้านำเข้า-ส่งออกของไทย จำนวน 1.4 ล้านทีอียู และ 3.สินค้าจากจีนตอนใต้ และกลุ่ม GMS จำนวน 2 แสนทีอียู ส่งผลให้ สนข.วางแผนพัฒนาท่าเรือทั้งสองแห่งให้สามารถรองรับตู้สินค้าสูงสุดได้ 20 ล้านทีอียู.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท