ท่องเที่ยวปลอดภัย

หลังโควิด-19 คลี่คลาย การท่องเที่ยวถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่เป็นแรงสนับสนุนหลักให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโต ชดเชยการส่งออกที่ยังต้องเผชิญกับความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลก นอกจากนี้ยังช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ยังไม่รวมถึงอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องพลอยเติบโตไปด้วย ดังนั้นนอกจากการดูแลด้านการบริการให้ได้มาตรฐานแล้ว ในด้านความปลอดภัยก็ต้องให้ความสำคัญด้วย

ซึ่งตามเป้าหมายของ ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ระบุว่า ได้ประเมินดีมานด์ของการท่องเที่ยวปี 2566 เชื่อว่าภาคท่องเที่ยวจะสามารถพยุงเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศได้ โดยทั้งปีมีลุ้นนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 30 ล้านคน หรือหากลดลงมาที่เป้าหมายรอง 25 ล้านคน ภาคการท่องเที่ยวก็ยังสร้างรายได้ให้ประเทศ 80% ของรายได้ท่องเที่ยวในปี 2563 หรือมีรายได้ประมาณ 2.38 ล้านล้านบาท

ล่าสุด นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เดินหน้ายกระดับความปลอดภัยในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จึงได้จับมือร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ หรือ MOU ว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินของนักท่องเที่ยวเพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและมีคุณภาพมาตรฐาน กับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ.

โดยมีเรืออากาศเอกนายแพทย์ อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สพฉ. ร่วมลงนาม เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่พิเศษให้เกิดความยั่งยืน ตามแนวทางของหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการดำเนินงานเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่พิเศษ ทั้งในด้านการป้องกัน การช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ และการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสม ให้นักท่องเที่ยว/ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าถึงบริการ และลดการสูญเสียชีวิต อวัยวะ หรือเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามนโยบาย การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีขาวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งครอบคลุมเรื่องของสะดวก สะอาด ปลอดภัย เป็นธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย อพท.จะเป็นหน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคลากรของ อพท. ภาคีเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยว ตลอดจนผู้แทนชุมชน ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการ

ดังนั้น การป้องกันและการตอบสนองต่อสภาวะวิกฤตและเหตุฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหรือประชาชนในพื้นที่พิเศษ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและเป็นไปตามหลักสากล รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการจัดทำแนวทางหรือมาตรการการบริหารจัดการ การป้องกันและการตอบสนองต่อสภาวะวิกฤตและเหตุฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหรือประชาชนในพื้นที่พิเศษ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและเป็นไปตามหลักสากล”

เช่นเดียวกับทางกรมเจ้าท่า “เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5” ซึ่งรับผิดชอบดูแลในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ ภูเก็ต, ตรัง, กระบี่, ระนอง, พังงาและสตูล ตอบรับนโยบายด้านการอำนวยความสะดวกและปลอดภัยกับการขนส่ง การเดินทางทางน้ำและดูแลนักท่องเที่ยว โดยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจตราท่าเทียบเรือ ใบอนุญาต อู่เรือให้มีความพร้อมต่อการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมอำนวยความสะดวกแหล่งท่องเที่ยวสำคัญลดการเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยว

และล่าสุด เดินหน้าจัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อร่องน้ำทางเดินเรือ ตลิ่งและชายฝั่งที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตรวจสอบใบอนุญาตคนประจำเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ อุปกรณ์ประจำเรือ แพชูชีพ พวงชูชีพ เสื้อชูชีพให้พร้อมใช้งานได้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ เนื่องจากเขตรับผิดชอบของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวทางน้ำเป็นจำนวนมาก จึงต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ
การท่องเที่ยวปลอดภัย และการบริการที่สะดวกสบาย เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research