ดันอาหารชุมชนโตระดับสากล

อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ดีระดับต้นๆ ไม่ว่าจะมาจากการบริโภคในประเทศ หรือการส่งออกสินค้าในรูปแบบต่างๆ และในบางตัวยังสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อีกด้วย เนื่องจากสนับสนุนให้เกิดอาชีพ และการจ้างงาน ซึ่งในส่วนนี้เองควรจะเป็นเรื่องที่ต้องให้การสนับสนุนกัน ไม่ว่าจะเป็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ หรือผู้บริโภค เช่นเดียวกับที่ล่าสุดได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจการพัฒนาขีดความสามารถของกิจการชุมชน กฟผ. เพื่อสร้างความได้เปรียบของผลิตภัณฑ์ชุมชน พร้อมแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหาร ระยะที่ 2

โดยความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมมือกับอุตสาหกรรมพัฒนาเพื่อมูลนิธิสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม นำวัตถุดิบพื้นถิ่นและวัตถุดิบเหลือใช้มาต่อยอดด้วยนวัตกรรมอาหาร ภายใต้การผลิตอาหารปลอดภัย และปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม จนเกิดเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ “ขายได้” เป็นที่ต้องการของตลาด และสามารถเข้าสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารได้ ซึ่งจากการดำเนินงานปีที่ผ่านมาได้เพิ่มยอดขายมากว่า 30% อีกทั้งช่วยลดต้นทุน ลดของเสีย และลดขยะ ตามแนวทางโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (BCG)

โดยนายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ.ได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน พร้อมกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ โดย กฟผ.กำหนดเป้าหมายในการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้สังคมและชุมชนรอบพื้นที่เขื่อน โรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ.สามารถมีรายได้พึ่งพาตนเองได้ จากการส่งเสริมด้านอาหาร สุขภาพ พลังงาน และการท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนที่มีร่วมกันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

สำหรับ ผลิตภัณฑ์อาหารที่พัฒนาในระยะที่ 2 เน้นสินค้าและบริการด้านสุขภาพมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น อาทิ อาหารฟังก์ชัน, อาหารจากพืช Plant based food, อาหารเฉพาะบุคคล เช่น วีแกน คีโต, อาหารและเครื่องดื่มโลว์ชูการ์, โลว์แฟต และโลว์โซเดียม รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากสมุนไพรและสารสกัดจากธรรมชาติ  

ด้าน นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันและ กฟผ.ได้ร่วมดำเนินงานส่งเสริมให้เกิดศักยภาพของกิจการชุมชนในการพัฒนาต่อยอด และสร้างคุณค่าแก่ชุมชนบริเวณรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า เขต และเขื่อนของ กฟผ. นำมาซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน บนแนวความคิดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทาง BCG ยกระดับมาตรฐานการผลิต ความปลอดภัย คุณภาพสินค้า และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน รวมถึงยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนเพื่อไปสู่การเติบโตแบบยั่งยืน

โดยสถาบันอาหารมีแนวทางสร้างคุณค่า 4 ด้าน ดังนี้ 1. TRUST คือ การสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food Safety) และคุณภาพของอาหาร (Food Quality) 2. VALUE คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดซัพพลายเชนผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3. POWER คือ การพัฒนาศักยภาพและสร้างองค์ความรู้แก่ชุมชนบริเวณรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า เขต และเขื่อนของ กฟผ. และผู้เกี่ยวข้อง และ 4. SPEED คือ การส่งเสริมให้ชุมชนบริเวณรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า เขต เขื่อนของ กฟผ. และผู้สนใจเข้าถึงข้อมูลและตลาดเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว อันจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน 

แน่นอนว่า การเดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมอาหารในรูปแบบดังกล่าว ผลประโยชน์จะสะท้อนไปยังชุมชนและชาวบ้านซึ่งจะผลักดันให้เกิดการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องต่อไป รวมทั้งยังส่งผลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งให้ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงอีกด้วย โดยการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม จึงนับเป็นโอกาสดีในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์อาหารจากท้องถิ่นชุมชนสู่ตลาดสากล ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในและต่างประเทศ. 

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท