ขอ 3 ข้อตอบให้ได้ก่อนแจกเงินดิจิทัล

ยังคงไร้ทิศทางสำหรับโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทของพรรคเพื่อไทย หลังจากที่มีเหล่าคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ นำโดยอดีตผู้ว่าฯ แบงก์ชาติถึง 2 ท่านออกมาทักท้วงถึงความได้ไม่คุ้มเสียของโครงการนี้ 

จนนำไปสู่การที่กระทรวงการคลัง นำโดย 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง และผู้บริหารกระทรวงการคลัง ตั้งโต๊ะแถลงชี้แจงถึงความดีงามของโครงการ 

แต่สุดท้ายก็เหมือนพายเรือวนในอ่าง เพราะรายละเอียดจริงๆ ยังมีแค่คอนเซปต์ไอเดียเท่านั้น แต่ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริงยังแทบจับต้องไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงื่อนไข แหล่งเงินที่นำมาใช้ ซึ่งทั้งหมดจะต้องรอให้คณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตสรุปออกมาให้เรียบร้อยภายในเดือน ต.ค.นี้

ประเด็นนี้ตรงกับที่ "ศิริกัญญา ตันสกุล" หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกล ได้ทวีตข้อความลงบนแพลตฟอร์ม X ที่จับตาดูการแถลงข่าว ที่ระบุว่า

"ในส่วนของการแถลงข่าวความคืบหน้า digital wallet ในวันนี้นั้น... ยังไม่แน่ชัดว่ารัศมีการใช้เป็นยังไง...

ยังไม่แน่ชัดว่าจะเอาเงินจากไหน... ยังไม่แน่ชัดว่าจะแจกถ้วนหน้า หรือจะแจกเฉพาะกลุ่ม... ซึ่งหมายความว่า

ยังไม่แน่ชัดว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่! สิ่งที่ชัดอย่างเดียวก็คือ พรรคเพื่อไทยไม่ได้มีการศึกษามาก่อนล่วงหน้าว่าจะนำนโยบาย digital wallet ไปปฏิบัติยังไง ทุกอย่างคือต้องรอคณะกรรมการฯ โดยขอซื้อเวลาไปจนถึงสิ้นเดือนตุลา."

ตอนนี้ต้องยอมรับว่านโยบายนี้ทำให้สังคมเกิดแรงกระเพื่อมเป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจน คือ กลุ่มคนที่อยากให้รัฐผลักดันโครงการต่อ เพราะต้องการเงินมาใช้ กับอีกฝ่ายคือ กลุ่มที่คัดค้าน ที่มองเห็นว่าโครงการนี้เป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ และสร้างภาระให้ลูกหลานต่อไปในอนาคต ซึ่งก็เกิดการถกเถียงทางความคิดกันไปใหญ่โตทั้งสองฝั่ง

ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องฟังทั้งสองมุม และต้องโยนเผือกร้อนไปยังคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ต ที่จะต้องออกแบบโครงการออกมาให้สามารถนำมาใช้ได้จริง และมีคำตอบกับสังคมในทุกมิติว่าโครงการนี้มันดีจริง ไม่ใช่แค่โครงการประชานิยมเพื่อหาเสียง

ยิ่งตอนนี้มีข้อมูลมาหลายทิศทางในเรื่องของการปรับเงื่อนไข ทั้งว่าจะไม่แจกให้ทุกคน แจกแค่คนต้องการซึ่งต้องลงทะเบียนเท่านั้น หรือการใช้จ่ายเงินก็จะขยายได้แบบครอบคลุมทั้งจังหวัด หรือแม้กระทั่งแหล่งเงินที่รัฐบาลอ้างว่าไม่มีการกู้เงิน แต่จะเป็นการเบียดงบประมาณประจำปีมาจัดใช้ในโครงการนี้ ซึ่งสุดท้ายแล้ว คำตอบจะเป็นเช่นไร คงต้องติดตามชมกัน

แต่ที่แน่ๆ หากรัฐจะผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้นจริง ต้องมีคำตอบให้กับประเด็นเหล่านี้ก่อน คือ 1.เรื่องของการพัฒนาบล็อกเชนใหม่ที่ต้องรองรับคนใช้ 56 ล้านราย จะต้องใช้เงินลงทุนระบบที่ใหญ่มาก และการลงทุนก็สูงถึงระดับหมื่นล้านบาท รัฐจะเอาเงินส่วนไหนมาพัฒนา

2.เรื่องการทำธุรกรรมผ่านบล็อกเชนนั้น จะต้องมีเวลาเคลียริง ตรวจสอบข้อมูลไขว้ไปไขว้มา ซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 นาที ตรงนี้ไม่สะดวกสำหรับการค้าขาย เพราะผู้ขายจะต้องรอเงินโอนช้ากว่า 10 นาที ซึ่งถือว่าไม่เร็วพอสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน เป็นอุปสรรคและสร้างความหงุดหงิดในการใช้งาน แถมระบบยังใช้ไฟฟ้ามหาศาล

3.ความปลอดภัยของระบบมีมากแค่ไหน สามารถถูกแฮ็กได้หรือไม่ ซึ่งรัฐบาลใช้เวลาผลักดันโครงการในไม่กี่เดือน ใครจะรับประกันความปลอดภัยว่าระบบมีความสมบูรณ์แบบจริง

แค่ 3 ข้อนี้ ตอบให้ได้ก่อน แล้วค่อยคิดต่อว่าจะหาเงิน และวางเงื่อนไขแจกเงินอย่างไร

นี่ก็ฝากไว้ให้คิด.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท