Government Shutdown=Failed State?

ขอออกตัวเลยว่าวันนี้ คอลัมน์จะออกแนวทับศัพท์ภาษาอังกฤษเยอะกว่าปกติ เหตุผลเดียวเพราะ ผมกลัวจะแปลไม่ตรงตัว เลยทับศัพท์เสียเลยจะได้ตรงความหมายครับ วันนี้ผมจะพูดถึงเรื่อง Government Shutdown ที่มักเกิดขึ้นในสหรัฐมากกว่าประเทศอื่นในโลก เอาเข้าจริงถ้าบอกว่าเกิดขึ้นที่สหรัฐที่เดียวก็คงไม่ผิด

แค่เอ่ยถึงคำว่า Government Shutdown ก็จะนึกภาพความวุ่นวาย ระบบที่ล้มเหลว การบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพ และรัฐบาลที่หมดความชอบธรรม จะนึกถึงปฏิวัติ การปะทะกลางเมือง สงครามกลางเมือง และราษฎรที่พึ่งพาทางการไม่ได้ เหมือนอาการ Failed State

แต่ Government Shutdown เป็นปรากฏการณ์ที่เป็น “เรื่องปกติ” ในสหรัฐ ไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมากนัก แต่เกิดขึ้นบ่อยพอไม่ให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ เหตุการณ์ Government Shutdown ถ้าสรุปและแปลห้วนๆ คือการไม่มีงบประมาณให้หน่วยงานรัฐทำงานได้ และเหตุการณ์ Government Shutdown จะเกิดขึ้นต่อเมื่องบประมาณไม่ผ่านสภา

ปีงบประมาณของสภาคองเกรสสหรัฐไม่ต่างกับบ้านเราครับ (คำว่าไม่ต่างหมายถึง กรอบเวลา ไม่ใช่เม็ดเงิน) ปีงบประมาณของไทยคือ 1 ตุลาคมถึง 30 กันยายน ใช่ไหมครับ? ของสหรัฐก็เหมือนกัน แต่ถ้าย้อนกลับมาบ้านเรา สมมติฐานว่ารัฐบาลชุดไหนเสนองบประมาณและไม่ผ่าน จะเกิดอะไรขึ้น ตามทฤษฎีคือรัฐบาลชุดนั้นๆ ต้องลาออกใช่ไหมครับ?

ของสหรัฐไม่ได้เป็นอย่างนั้นครับ ก่อนยุคประธานาธิบดี Jimmy Carter ทางสหรัฐไม่เคยมี Government Shutdown แต่หลังยุคประธานาธิบดี Carter เหตุการณ์ Government Shutdown เกิดขึ้นทั้งหมด 10 ครั้ง ซึ่งปกติ Government Shutdown จะประมาณสัปดาห์หนึ่ง หรือสองสัปดาห์เต็มที่ แต่ที่เคยปิดยาวสุดในประวัติศาสตร์คือ ในปี 2019 (ยุคของประธานาธิบดี Donald Trump) ที่เคยปิดนานถึง 35 วัน

ในยุคประธานาธิบดี Carter อัยการสูงสุด (ชื่อ Benjamin Richard Civiletti) ไปตีความใหม่ กฎหมายดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณของรัฐบาล นั่นคือ Anti Deficiency Act (ตั้งแต่ปี 1884) ที่ระบุว่าหน่วยงานรัฐและรัฐบาลห้ามใช้งบประมาณ หรือมีข้อตกลงใดๆ ทั้งสิ้นที่จะเกี่ยวข้องกับงบประมาณและการเงินก่อนผ่านสภา คือพูดง่ายๆ ครับ ถ้าจะใช้เงินเมื่อไร หรือจะทำโครงการที่ต้องใช้เงินเมื่อไหร่ ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาทุกๆ ครั้ง

อันนั้นคือเจตนาของกฎหมายฉบับเดิม และตลอดระยะเวลาก่อนยุค Carter ยืดหยุ่นกับกฎหมายฉบับนี้ เพราะสิ่งที่ต้องเข้าใจคือ อำนาจสหรัฐ ถึงแม้ตามทฤษฎีจะคล้ายๆ กับทุกที่คือ แบ่งอำนาจเป็นฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร กับฝ่ายนิติบัญญัตินั้น ถ้าเป็นประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเรา ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติแทบจะเดินคู่กันไป เพราะจะเป็นฝ่ายบริหารได้ก็ต้องมีเสียงข้างมากในสภาใช่ไหมครับ? ถ้าของสหรัฐไม่ได้เป็นเช่นนั้น 3 เสาอำนาจของเขาแบ่งแยกออกมาชัดเจน

หลายคนเข้าใจว่า อำนาจเบ็ดเสร็จและสูงสุดอยู่ในมือประธานาธิบดี อันนั้นไม่ใช่ครับ ประธานาธิบดียังต้องไปขอสภาใช้งบประมาณ ถ้าสภาไม่ผ่านให้ก็คือไม่ผ่านครับ ดังนั้นอำนาจที่แท้จริง (เรื่องการใช้งบ) อยู่ในมือสภาคองเกรส แต่แน่นอนครับ ถ้าสภาคอนเกรสมาจากพรรคเดียวกับประธานาธิบดี การขอสภาจะง่ายขึ้น แต่ยังไงประธานาธิบดีต้องขอสภาอยู่ดี

ก่อนยุค Carter ถ้ามีปัญหางบประมาณ (จะ) ไม่ผ่านนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารจะยืดหยุ่นกัน และเอางบไปใช้กับหน่วยงานจำเป็น เช่น น้ำ ไฟ ตำรวจ ทหาร และอาหาร เป็นต้น ส่วนหน่วยงานอื่นๆ พักการใช้งบประมาณชั่วคราวจนกว่าจะคลี่คลายปัญหาในสภา และรอให้งบประมาณผ่านอย่างเป็นทางการ แต่อัยการ Civiletti ไปตีความกฎหมายฉบับเดิมให้เคร่งครัดกว่าเดิม และเป็นแนวปฏิบัติตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงวันนี้ คือก่อนหน้านั้นยืดหยุ่น ถ้าเผื่องบประมาณไม่ผ่านใช่ไหมครับ? แต่ Civiletti เป็นประเภทไม้บรรทัดที่ไม่ยอมงอ เขาตีความว่า ต่อเมื่องบประมาณไม่ผ่าน ก็ไม่ให้มีการจ่ายเงินใดๆ ทั้งสิ้น จึงเกิด Government Shutdown ตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงยุคปัจจุบัน 10 ครั้ง

ตามความเป็นจริงเหตุการณ์ Government Shutdown ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างหยุดนิ่งชะงักไปหมด ถ้าปิดสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ สังคมแทบไม่รู้สึกอะไร แต่ในกรณีที่ปิด 35 วัน อันนั้นมีผลกระทบจริงๆ ข้าราชการไม่ได้รับเงินเดือน (สองงวด) และหน่วยงาน เช่น วิทยุการบิน ต้องให้พนักงานพักงาน เพราะไม่มีเงินเดือนจ่ายเขา เลยมีผลกระทบกับการเดินทางทางอากาศ ส่วนข้าราชการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มครับ คือกลุ่ม Essential กับ Non-Essential ถ้าเป็นกลุ่ม Essential ในกรณีที่มี Government Shutdown เขายังต้องทำงานอยู่ ส่วนถ้าอยู่ในกลุ่ม Non-Essential จะให้เขาพักงานจนกว่าปีงบประมาณผ่าน

การบริการที่จะรับผลกระทบในเหตุการณ์ Government Shutdown คือในด้านดังต่อไปนี้ นโยบายหรือโครงการด้านสตรีและเด็ก (หรือภายใต้ WIC-Women, Infants and Children); Immigration Courts; Civil Courts; National Parks and Smithsonian Museums; Low-Risk Food Inspections; Small Business Loans และ Military Efforts (ด้านการเกณฑ์และจ่ายเงินให้กับบรรดา Contractors กับ Suppliers)

ส่วนการบริการที่แทบไม่รับผลกระทบอะไรทั้งสิ้น คือด้าน Social Security, Medicare, and Medicaid; US Postal Service; SNAP Food Aid; FEMA (Federal Disaster); Criminal Prosecution; Congress; White House; และ Military

อย่างที่บอกครับ Government Shutdown จะเกิดขึ้นต่อเมื่อสภาคองเกรสไม่ผ่านงบประมาณ (หรือผ่านงบประมาณไม่ได้) งบประมาณจะแบ่งเป็น 12 หน่วย/ภาค ที่ต้องผ่านให้ได้ (หรือจะเรียกว่า 12 ฉบับก็แล้วแต่) 12 หน่วยหลักของงบประมาณสหรัฐแบ่งอย่างนี้: Military Construction & Veterans Affairs; Agriculture; Transportation, Housing and Urban Development (HUD); Defense; Energy and Water Development; Interior and Environment; Homeland Security; State and Foreign Operations; Legislative Branch; Financial Services and General Government; Commerce, Justice and Science; และ Labor, Health & Human Services & Education.

ถ้าจะหลีกเลี่ยง Government Shutdown ทางสภาจะมีข้อตกลงอนุมัติและอนุญาตยืดงบประมาณออกมาตามระยะเวลาที่ตกลงกันได้ จนกว่าจะหาข้อตกลงผ่านงบประมาณให้ได้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาคอนเกรสมีข้อตกลงยืดงบประมาณออกไประยะหนึ่ง เลยทำให้หลีกเลี่ยง Government Shutdown ครั้งล่าสุดครับ วันนี้ถือว่าเป็นการให้ความรู้เกือบทั้งหมด เรื่องนี้เพราะเป็นคำที่เรามักเจอในข่าวเกี่ยวกับการเมืองของสหรัฐครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การประท้วงตามมหาวิทยาลัยในสหรัฐ (ตอนที่ 1)

อุณหภูมิบ้านเรามันร้อนเหลือเกินครับ ไปไหนมาไหนมีแต่คนพูดถึงความร้อน ซึ่งมันก็ร้อนจริงๆ แต่ยังโชคดีที่สัปดาห์หน้า อุณหภูมิจะไม่ร้อนระอุเหมือนที่ผ่านมา จากอุณหภูมิร้อนระอุจะกลับสู่ภาวะร้อนธรรมดา ก็ยังดีครับ

Be Careful What You Wish For….Your Wishes May Come True

ปกติถ้าบอกว่า “รอดูผลอีก 9 เดือน” คงไม่ต้องอธิบายความหมายใช่ไหมครับ? แต่สำหรับแฟนๆ TikTok ในสหรัฐอเมริกา ความหมายจะแตกต่างโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา ประธานาธิบดี Joe Biden ได้ลงนามอย่างเป็นทางการให้บริษัท Bytedance ขาย TikTok ในสหรัฐภายใน 9 เดือน หรือถ้าจะยืดเวลาออกไป

Sending a Message หรือ The Calm Before the Storm?

เมื่อสัปดาห์ก่อน ช่วงเวลาที่พวกเราสนุกและพักผ่อนกันเต็มที่ช่วงสงกรานต์นั้น มีเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่มันเกิดได้ทุกเมื่อ และในที่สุดก็เกิดขึ้นจริงๆ ครับ

หลานชายคุณปู่

สวัสดีปีใหม่ไทยครับ ช่วงเขียนคอลัมน์นี้ ผมยังอยู่ที่บ้านเฮา เจออากาศทั้งร้อนมากและร้อนธรรมดา เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเขียนเรื่องการขับรถขึ้นมาบ้านเฮากับลูกสาว

หลานคุณปู่

คอลัมน์สัปดาห์นี้กับสัปดาห์หน้า น่าจะเป็นคอลัมน์เบาๆ ครับ ผมเชื่อว่าแฟนๆ ครึ่งหนึ่งน่าจะหนีร้อนในไทยไปสูดอากาศเย็น (กว่า) ที่อื่น ส่วนใครที่ไม่ไปไหน คงไม่อยากอ่านเรื่องหนักๆ

'แก๊ง'ล้มรัฐบาลได้ด้วยเหรอ? (ตอน 2)

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเขียนเรื่องราวแก๊งที่ผมสัมผัสและรู้จักสมัยอยู่สหรัฐ สำหรับใครที่ชอบฟังเพลงแนว Gangster Rap ก็คงจะคุ้นเคยกับสิ่งที่ผมเขียนไป แต่สำหรับหลายท่านที่เติบโตคนละยุคคนละสมัยอาจไม่คุ้นเลย