แก้หนี้นอกระบบทำได้จริงหรือ?

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน จัดหนักจัดเต็มแจกแบบจุกๆ ถึง 3 เรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงินอุ้มชาวนาไร่ละ 1,000 บาท จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน เรื่องที่ 2 คือการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการบรรจุใหม่ปีละ 10% จากเดือนละ 15,000 บาท เพิ่มเป็น 18,000 บาท และเรื่องใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติคือ การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งมีการบูรณาการทุกหน่วยงานเข้ามาจัดการในเรื่องนี้

อย่างที่ทราบ งานหนักของรัฐบาลเศรษฐาในเวลานี้ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่โตแบบซึมๆ จนรัฐบาลออกมายอมรับว่าไทยกำลังเจอปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีสาเหตุมาหลายปัจจัย โดยเฉพาะเรื่องของเงินในกระเป๋าประชาชน ที่ยังอยู่ในสถานะ "กระเป๋าแบน" ไม่มีเงินใช้จ่าย จนหลายคนต้องหันไปหาแหล่งเงินอื่นๆ มาประคองชีวิต ซึ่งมีทั้งการกู้ยืมในระบบและนอกระบบ

สอดคล้องกับข้อมูลที่ทางสํานักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ออกมาแถลงภาวะสังคมเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ พบว่า หนี้ครัวเรือนในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้มีมูลค่าสูงถึง 16.07 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.6 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ที่ 90.6 เปอร์เซ็นต์ 

ขณะที่ความสามารถชำระหนี้ของครัวเรือนก็ลดลงเล็กน้อย โดยเอ็นพีแอล หรือหนี้เสีย มีมูลค่า 1.47 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2.68 เปอร์เซ็นต์ จากไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วน 2.71 เปอร์เซ็นต์ต่อสินเชื่อรวม

จากข้อมูลเห็นได้ชัดว่า ตอนนี้ประชาชนคนไทยกำลังแบกหนี้จำนวนมหาศาล แถมยังเริ่มผ่อนชำระไม่ไหว และกำลังจะสร้างปัญหาต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งที่ผ่านมาทุกรัฐบาลก็พยายามจัดการเรื่องนี้ อย่างในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยมีการจัดคลินิกแก้หนี้ โดยใช้กลไกของธนาคารแห่งประเทศไทย และบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) ร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากองค์ประกอบหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือการแก้ไขปัญหาทางการเงินเพียงอย่างเดียว

อย่างที่ทราบกันดี คนไทยกับเรื่องก่อหนี้ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมโดยตลอด ซึ่งบางครั้งการก่อหนี้ก็ไม่ได้มีเหตุผลจากความเดือดร้อนทางการเงินที่แท้จริง มีการก่อหนี้เพราะทำตามกันๆ แต่สุดท้ายเมื่อกู้มาแล้วไม่สามารถบริหารจัดการได้ และกลายมาเป็นการสร้างภาระให้กับตัวเองในที่สุด 

ดังนั้นการแก้ไขหนี้นอกระบบในครั้งนี้จะใช้การแก้ปัญหาทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับเจ้าหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ หรือการปล่อยกู้ยืมเงินในระบบเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือ การปรับทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชน ที่จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของการเงิน การระมัดระวังภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น รวมถึงการให้ความรู้ในเรื่องของการเงินเบื้องต้น และที่สำคัญคือ การฝึกวินัยการออมให้เป็นนิสัย

 จากนี้คงต้องเฝ้ารอติดตามว่า มาตรการแก้หนี้นอกระบบรอบใหม่จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท