'โจทย์จากระนอง'

รัฐบาลเลือกจังหวัดระนอง เป็นสถานที่ประชุม ครม.สัญจรครั้งต่อไป ต่อจากจังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 4  ธ.ค.ที่ผ่านมา

สำหรับเมืองระนอง แม้เป็นเมืองเล็ก แต่ร่ำรวยไปด้วยสถานท่องเที่ยวต่างๆ และทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมาย ไม่ว่าจะหมู่เกาะ ท้องทะเลอันดามันอันสวยงาม และเชื่อมต่อไปถึงทะเลของประเทศเมียนมา อีกทั้งอนาคตจะกลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของโลกอีกด้วย 

นอกจากนี้ ในทางการเมืองยังถือเป็นเหมืองหลวงของพรรคภูมิใจไทย โดยมี "สส.เอ" คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์  สส.ระนอง พรรคภูมิใจไทย เป็นผู้รับผิดชอบดูแลพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง   

เบื้องต้น "สส.เอ" เปิดการบ้านให้รัฐบาลนำไปพิจารณา เพื่อมาแก้ปัญหาให้พี่น้องชาวระนอง ทั้งปัญหาความเดือดร้อนทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต  

 ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องจัดสรรที่ดิน จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง (อบจ.ระนอง) ที่กรมธนารักษ์ยังไม่ดำเนินการให้ประชาชนแล้วเสร็จ, ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก, ปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่ง, พัฒนาท่าเทียบเรือ, แหล่งกักเก็บน้ำ, ปัญหากฎหมายประมงที่ยังล่าช้า และ ถนนเพชรเกษมสายเก่าหมายเลข 4 จำนวน 4 เลน ที่ต้องการให้ทำเชื่อมต่อไปจังหวัดพังงา แต่ขณะนี้ทำสิ้นสุดแค่ตัวเมืองระนองเท่านั้น ให้สอดรับแผนโครงการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือ "ไทยแลนด์ริเวียรา" เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศ

ส่วนอนาคต ต้องการให้รัฐบาลผลักดันโครงการ "แลนด์บริดจ์" หรือ โครงการพัฒนาสะพานข้ามทะเล เพื่อเชื่อมโยงทะเลอันดามันด้าน จ.ระนอง กับอ่าวไทยด้าน จ.ชุมพร หลังพรรคภูมิใจไทยเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายนี้ตั้งแต่รัฐบาลที่ผ่านมา และนายกฯ เศรษฐาก็ขานรับด้วยมติ ครม.อนุมัติหลักการโครงการนี้ไปเมื่อวันที่ 16 ต.ค.  2566 และนำไปขายในเวทีโลกมาแล้ว  

"หากรัฐบาลดำเนินการสำเร็จ จะทำให้เมืองระนองเป็นศูนย์การค้าและคมนาคมขนส่ง จะเป็นแม่เหล็กใหม่ให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ที่จะเกิดมูลค่าเศรษฐกิจมหาศาลต่อประเทศไทย และยังสร้างงานสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ชาวระนองและจังหวัดอื่นๆ อีกด้วย" สส.ระนอง  พรรคภูมิใจไทย กล่าวปิดท้าย   

นี่คือโจทย์ของรัฐบาล ที่ชาวระนองคาดหวังต่อการประชุม ครม.สัญจรครั้งต่อไป.

 ช่างสงสัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อำลา‘ก.ท่องเที่ยวฯ’

เป็นช่วงเวลาของการอำลาตำแหน่งและการย้ายกระทรวงของบรรดารัฐมนตรีหลายคนในรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่บางคนต้องออกไปถาวร หรือบางคนแค่ย้ายกระทรวง ทำให้ช่วงนี้เห็นบรรยากาศอบอวลไปด้วยความอบอุ่นของบรรดาข้าราชการกระทรวงต่างๆ ที่จัดงานอำลาให้กับเจ้ากระทรวงของตัวเอง

ไม่ได้หมายถึงเรื่องใด

ช่วงปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา นั้นเป็นที่วิพาษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เมื่อ อ. ธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และ ศาสตราภิชานประจำคณะนิติศาสตร์

สายล่อฟ้า

ปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.)เศรษฐา1/1 เกิดเหตุตามหลังมากกมาย ที่กล่าวขานกันมากก็กรณี “ปานปรีย์ พหิทธานุกร” ลาออกจากการเป็นรมว.ต่างประเทศ เรียกว่าทุกสายตาคอการเมืองพุ่งเป้าไปที่นั่น

“วันสบายๆ”

การเมืองช่วงนี้ร้อนแรงไม่แพ้กับอากาศจริงๆ เพราะนอกจากจะร้อนแล้วยังระอุไปทั่ว ทั้งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถึงรายชื่อรัฐมนตรี ทั้งพ้นความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยมีชื่อที่คุ้นหน้าคุ้นตากันหลายชื่อ

บันทึกหน้า 4

ควันหลงการปรับ ครม.เศรษฐา 1/1 เกิดดรามามากมาย โดยเฉพาะจากคนที่ผิดหวัง ไม่ว่าจะเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ที่พ้นกระทรวงสาธารณสุข กลับไปทำงาน สส. รวมถึงกรณี นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ที่หลุดจากตำแหน่งรองนายกฯ

นิ่งแบบนี้มีลุ้น

ช่วงตั้ง ครม.เศรษฐา 1 ใหม่ๆ หลายคนคาดการณ์ สมศักดิ์ เทพสุทิน คงนั่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ทำเนียบรัฐบาลไม่นาน เพราะถนัดงานกระทรวงมากกว่า