ใกล้ถึงบทอวสาน

ปากกล้า ขาสั่น

คดียุบพรรคก้าวไกล คงใช้เวลาไม่นานนัก เพราะแทบไม่ต้องไต่สวนเพิ่มเติม

รวมทั้งคำวินิจฉัย "เซาะกร่อนบ่อนทำลาย" ในคดีพรรคก้าวไกล และ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" แก้ (ยกเลิก) ม.๑๑๒ ก็มีความชัดเจนเพียงพอแล้ว

แต่หลังจากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไปเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ศาลให้เวลาพรรคก้าวไกล ๑๕ วัน ในการส่งคำชี้แจง แกนนำพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะเป็น "ชัยธวัช ตุลาธน" "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์"  พยายามจะถ่วงเวลา

ขอขยายการยื่นเอกสารออกไป

อ้างว่ามีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ

ฟังสุ้มเสียงแล้วพรรคก้าวไกลต้องการให้คดีนี้รุงรังมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

พยายามหาข้อโต้แย้ง

อ้างผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม

เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญไต่สวนเพิ่มเติม ด้วยเหตุผลมีข้อเท็จจริงเพิ่ม

ก็ว่ากันไปตามกระบวนการครับ

แต่...ปัญหามันอยู่ที่คำพูดของ "ชัยธวัช ตุลาธน"

"...ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติใด หรือมาตราใด ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคการเมือง

แต่อำนาจในการยุบไปปรากฏอยู่ใน พ.ร.ป.พรรคการเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองและต่ำกว่า

ดังนั้นเรายิ่งเห็นว่ารัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญแค่สั่งให้ยุติการกระทำ ที่ศาลฯ เห็นว่าเป็นการล้มล้างการปกครองแค่นั้น

ดังนั้นจุดมุ่งหมายและลำดับศักดิ์ของกฎหมายก็ไม่เท่ากัน แต่โทษที่กำหนดในกฎหมายต่ำกว่า กลับร้ายแรงกว่า ต้องเป็นกรณีจำเพาะมากเท่านั้น จึงจะลงโทษร้ายแรงขนาดนี้ต้องได้สัดส่วน...”

ไม่ทราบว่าพรรคก้าวไกลจะเอาประเด็นนี้ไปสู้ในศาลหรือไม่?

จริงตามที่ "ชัยธวัช ตุลาธน" พูดครับ

มาตรา ๔๙ บัญญัติว่า...

บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้

ผู้ใดทราบว่ามีการกระทําตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าวได้

ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคําสั่งไม่รับดําเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดําเนินการภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับคําร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคําร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้

ไม่น่าเชื่อว่าคนระดับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  แถมยังเป็นทนายความ จะอ่านกฎหมายไม่แตก หนำซ้ำยังเอามากล่าวอ้างต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง

รัฐธรรมนูญมาตรานี้ ระบุถึง "บุคคล" ไม่ใช่ "พรรคการเมือง"

และยังอยู่ในหมวด ๓ ว่าด้วย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย             

ไม่ใช่ส่วนที่เกี่ยวข้องพรรคการเมืองแต่อย่างใด

ขณะที่พรรคการเมืองถูกแยกย่อยไปใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

แน่นอนครับกฎหมายมีลำดับชั้น

แต่เรื่องบทลงโทษหนักเบากว่ากฎหมายลูก เป็นความคิดที่ไร้สาระ

เป็นตรรกะนรก

หากจะให้รัฐธรรมนูญ เป็นอย่างที่ "ชัยธวัช ตุลาธน" ต้องการ ก็คงต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความยาวพอๆ หรือมากกว่าประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมกัน

เพราะต้องกำหนดโทษรุงรังไปหมด เพื่อไม่ให้บทลงโทษไปอยู่ในกฎหมายลูก

รัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๐ กำหนดหน้าที่และอำนาจศาลรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้

 (๑) พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย

 (๒) พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ

 (๓) หน้าที่และอํานาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

นี่คือกรอบกว้างๆ

ย้อนกลับไปดูคำร้องที่ กกต.ยื่นไปยังศาลรัฐธรรมนูญกันอีกครั้ง

เป็นคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นว่าพรรคก้าวไกล มีพฤติการณ์กระทําการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเข้าลักษณะกระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  อันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐  มาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒)

ซึ่งข้อเท็จจริง ปรากฏตามคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่  ๓/๒๕๖๗ จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลผู้เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้อง และห้ามมิให้ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้ง

คำร้องก็ชัดเจนว่าร้องตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

และศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้องไว้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗ (๓) คดีเกี่ยวกับการร้องขอให้เลิกการกระทำล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ทนายใหญ่อย่าง "ชัยธวัช" เข้าใจหรือเปล่าว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (organic law) คืออะไร

เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เด็กนักเรียนน่าจะค้นหาเพื่อเอาไปทำการบ้านกันบ่อยๆ

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ คือกฎหมายที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่อธิบายขยายความและกำหนดรายละเอียดสาระสำคัญของเรื่องต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนและชัดเจนยิ่งขึ้น

ถ้า "ชัยธวัช ตุลาธน" บอกว่าไม่รู้ เสียสุนัขเลยนะครับ

แล้วอย่าสะเออะเอาประเด็นนี้ไปสู้คดียุบพรรคเด็ดขาด คิดถึงหน้าด้อมส้มบ้าง ไม่รู้จะเอาหน้าไปซุกไว้ตรงไหน

นึกไม่ออกเลยว่าจะมีอะไรมาหักล้างคำวินิจฉัย "เซาะกร่อนบ่อนทำลาย" ได้บ้าง

ฉะนั้นเตรียมไว้เลย มีแค่ ๒ ทางเลือก

หาพรรคใหม่มาสวม

หรือแยกย้ายไปพรรคอื่น

เพราะก้าวไกลจะเป็นเพียงพรรคในอดีตที่ถูกยุบ จากพฤติการณ์กระทําการล้มล้างการปกครอง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทันเหลี่ยม 'ธนาธร'!

คงจะห้ามไม่อยู่ กกต.เตือนว่าห้าม จัดแคมเปญ จูงใจ ชี้ชวน รวบรวมบุคคลจากหลากหลายอาชีพ รวม ๒๐ กลุ่ม ให้เป็นผู้เสนอตัวสมัครเข้ารับการเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ

ยิ่งปรับยิ่งชินวัตร

ยังเป็นที่คาใจกันอยู่ การลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ของ "ปานปรีย์ พหิทธานุกร" เพียงไม่กี่ชั่วโมงนั้น เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่

'ครม.ทักษิณาฐา'

ส่องกันอยู่ร่วมเดือน รัฐมนตรี ว่าที่รัฐมนตรี ลุ้นกันชนิดกินข้าวไม่ได้นอนไม่หลับกันหลายวัน เพราะคนที่อยู่ไม่รู้ว่าจะหลุดหรือไม่ ส่วนคนมาใหม่ไม่รู้จะได้เสียบหรือเปล่า

'นักโทษ'ตรวจการบ้าน

ยกประเทศให้ไปเลยดีมั้ยครับ นานๆ ประชดที เพราะทนเห็นบางคนยังใช้สันดานเดิม เป็นสันดานที่ทำให้ต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศนานถึง ๑๗ ปีไม่ได้

เลือกคุกจะได้คุก

ว่อนสิครับ! หนังสือจาก "เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ" ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี