
แม้ความท้าทายจากสภาพเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อแผนการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ของคนรุ่นใหม่ แต่ความต้องการซื้อนั้นยังคงมีอยู่ โดยกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z จากผลการสำรวจของ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่าหากต้องเลือกระหว่างการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ต้องการซื้อมากถึง 82% มีเพียง 18% เท่านั้นที่สนใจเช่า
นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วง 1 ปีข้างหน้าผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z วางแผนการเงินไปกับการใช้จ่ายภายในครอบครัวมากถึง 56% รองลงมาคือเก็บเงินไว้เป็นกองทุนเงินสำรองฉุกเฉิน 54% เพื่อรับมือสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคต และเก็บเงินไว้เพื่อเคลียร์หนี้ต่าง ๆ ให้หมด 27% โดยมีเพียง 21% เท่านั้นที่วางแผนออมเงินไว้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
สอดคล้องกับข้อมูลจากรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ระบุว่า สถานการณ์สังคมสูงวัยที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับวัยแรงงานที่ลดลงในไทย ส่งผลให้ "แซนด์วิช เจเนอเรชัน (Sandwich Generation)" หรือคนที่อยู่ตรงกลางที่ต้องดูแลทั้งพ่อแม่สูงอายุและลูกของตนเอง มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเผชิญปัญหาทางการเงิน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางกลายเป็นความท้าทายให้คนรุ่นใหม่สร้างเนื้อสร้างตัวได้ยากกว่าสมัยก่อน การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยจึงอาจไม่ใช่สิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ อีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความท้าทายจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นเวลายาวนานและอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงได้กลายมาเป็นความท้าทายสำคัญที่ทำให้ตลาดอสังหาฯ ไม่ได้เติบโตตามที่คาดการณ์ไว้ และกระทบต่อผู้ที่วางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างเลี่ยงไม่ได้ เห็นได้จาก 1 ใน 3 ของผู้บริโภค (33%) จะชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ รองลงมาคือวางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกกว่าแทน และไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ ในสัดส่วนเท่ากันที่ 22% เพื่อเป็นการลดการสร้างภาระหนี้ที่ไม่จำเป็นในช่วงนี้ออกไปก่อน
นอกจากนี้ สภาพคล่องทางการเงินยังเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้การมีบ้านในฝันไม่ใช่เรื่องง่าย มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (56%) เผยว่าอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยมาจากรายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคง รองลงมาคือมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี 41% และมีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ไม่เอื้ออำนวย 30% จะเห็นได้ว่าอุปสรรคสำคัญ 3 อันดับแรกล้วนเป็นผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของผู้บริโภค ที่มีผลโดยตรงต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคารทั้งสิ้น ทำให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เผยว่าอัตราการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน จากเดิมที่เป็นกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท
ทั้งนี้ หลายฝ่ายยังคงคาดหวังปัจจัยบวกจากมาตรการจากภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นการเติบโตในตลาดอสังหาฯ ควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ จากภาครัฐที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุดในเวลานี้ 3 ใน 5 (60%) ต้องการให้มีมาตรการช่วยลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น รองลงมาคือมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อเดิมที่มีอยู่และกู้ใหม่ 51%
จะเห็นได้ว่า 2 อันดับแรกให้ความสำคัญกับมาตรการที่มาช่วยแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยเป็นหลัก เนื่องจากจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของผู้กู้ซื้อบ้านได้โดยตรง และอันดับ 3 มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก 40% ซึ่งจะช่วยดึงดูดใจให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ตัดสินใจเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีบ้านเป็นของตนเองสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่อยากให้คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัย ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญขับเคลื่อนให้ภาคอสังหาฯ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกลับมาคึกคักอีกครั้ง
บุญช่วย ค้ายาดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แนะธุรกิจวางกลยุทธ์รับมือAI
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์: AI ถือเป็นความทันสมัย เป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็ถูกจับตาว่า AI จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำลังปฏิวัติทุกอุตสาหกรรม ความสามารถของ AI
พาอัตลักษณ์ไทยไปExpo2025
แน่นอนว่าในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เป็นส่วนสำคัญของการรักษาความเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ของอาเซียน ซึ่งอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมจากรถยนต์สันดาปภายใน
เขตห้ามสูบบุหรี่
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ย้ำจุดยืนอย่างชัดเจนในการสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย สำหรับผู้โดยสารทุกคน โดยได้ออกประกาศยกระดับมาตรการควบคุมการสูบบุหรี่บนขบวนรถและในบริเวณสถานีรถไฟอย่างเข้มงวด
กฎหมายAIคุมความเสี่ยง
ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถือเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานและการยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในยุคที่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เจาะลึกอาหารญี่ปุ่นแบบไหนถูกใจคนไทย
ในปี 2568 นี้ พบว่า “อาหารญี่ปุ่น” ยังครองใจผู้บริโภคชาวไทยอย่างเหนียวแน่น ไม่ใช่แค่เพียงมื้อพิเศษในโอกาสพิเศษอีกต่อไป แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมการกินที่คนไทยหลายคนนิยมเลือกรับประทานในชีวิตประจำวัน
จับตาเทรนด์ Biodiversity มาแรง!
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) กำลังเป็นมาตรฐานใหม่ด้าน ESG ที่ประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น โดย “ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS”