ฟื้นความเชื่อมั่นดึงลงทุน

ช่วงปลายปี 2567 ที่ผ่านมา มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวในแวดวงอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตที่น่าสนใจหลายเรื่อง ทั้งการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจบนบก ครั้งที่ 25 ภายใต้ระบบสัมปทาน จำนวน 9 แปลง, การเตรียมความพร้อมเปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครั้งที่ 26 แปลงสำรวจในทะเลอันดามัน มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี 16 ธันวาคม 2567 เห็นชอบการโอนสิทธิประโยชน์และพันธะที่ถือครองในพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 3/2549/71 แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G12/48 ของบริษัท โททาล เอนเนอร์ยี่ส์ อีพี ไทยแลนด์ จากฝรั่งเศส สัดส่วน 33.33% ให้แก่ ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล ทำให้ ปตท.สผ.เป็นผู้ถือสิทธิสัมปทานในพื้นที่นี้ทั้ง 100%

หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณกว่า 60 ปีที่แล้ว ต้องยอมรับว่าเป็นยุคแรกๆ ที่คนไทยยังมีองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมไม่มากเพียงพอ ภาครัฐจึงสร้างแรงจูงใจเพื่อดึงดูด IOC มืออาชีพเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ภายใต้ระบบสัมปทาน ตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 โดยมี เชลล์, บีพีออยล์, โททาล, เอ็กซอน และยูเนี่ยนออยล์ ทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และวางรากฐานการพัฒนาบุคลากรคนไทย จนสามารถพัฒนาก้าวสู่การเกิดขึ้นของโอเปอเรเตอร์ในแหล่งปิโตรเลียมสัญชาติไทยในเวลาต่อมา

และเมื่อภาครัฐเปลี่ยนนโยบายสำหรับแปลงสัมปทานที่หมดอายุและไม่สามารถต่ออายุได้ โดยให้มีการประมูลใหม่ภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC ในปี 2561 ในแหล่งเอราวัณของเชฟรอน และแหล่งบงกชของ ปตท.สผ.และโททาล ซึ่ง ปตท.สผ.เป็นผู้ชนะทั้งแหล่ง G1/61 (เอราวัณ) และ G2/61 (บงกช) ส่งผลให้เชฟรอนจำเป็นต้องลดการลงทุนลงอัตโนมัติ โททาลถอนตัวจากการประมูล ส่วนเอ็กซอนที่เป็นเจ้าของสัมปทานบนบกในแหล่งน้ำพองยังคงดำเนินงานจนกว่าจะสิ้นสุดสัมปทาน แต่ก็ได้ขายธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและปั๊มน้ำมันให้กับบางจาก

ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ บริษัทน้ำมันข้ามชาติ (International Oil Companies หรือ IOC) ที่ลงทุนในไทย เพราะยักษ์ใหญ่ IOC ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในไทยเหลือเพียงแค่เชฟรอนกับเอ็กซอนและผู้เล่นรายย่อยอื่นๆ เท่านั้น ดังนั้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการถอยออกจากการลงทุนของ IOC หลายราย นับเป็นความท้าทายต่อการเปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ ทั้งรอบที่ 25 สำหรับแปลงสำรวจบนบก และรอบที่ 26 สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอันดามันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ดังนั้นจึงกลายเป็นโจทย์สำคัญที่ภาครัฐ โดยเฉพาะกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ต้องทำการบ้านเพื่อให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมไทย รวมถึงฝั่งรัฐบาลอาจต้องทบทวนนโยบายบางอย่างบ้างหรือไม่ เพื่อสร้างแรงดึงดูดและจูงใจให้นักลงทุนเข้าร่วมยื่นประมูลอีกครั้ง เช่น ระบบบริหารจัดการรายได้และผลประโยชน์ หรือการเพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจด้านภาษี หรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่เหมาะสม

เพราะอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมถือเป็นฟันเฟืองขนาดใหญ่ในระบบเศรษฐกิจ จึงเชื่อว่าการสร้างบรรยากาศการแข่งขันที่จูงใจด้วยเงื่อนไขกติกาที่เป็นสากล มีความเหมาะสมกับโครงสร้างธรณีวิทยาของประเทศไทย จะเป็นปัจจัยช่วยดึงดูด IOC กลับสู่อุตสาหกรรมสำรวจและปิโตรเลียมในประเทศไทย เพื่อป้องกันการผูกขาดตลาด สร้างการแข่งขันการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย เกิดการพัฒนาทั้งกำลังคนและเทคโนโลยี และที่สำคัญคือ ทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจจากเม็ดเงินลงทุนมหาศาลได้.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผุดสถาบันปั้นซอฟต์พาวเวอร์

ประเทศไทยถือว่ามีซอฟต์พาวเวอร์อยู่หลายแขนง ไม่ใช่เพียงแค่อาหาร หรือสถานที่ท่องเที่ยวเท่านั้น ซึ่งในส่วนนี้เองเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดค้นโซลูชัน วิธีการ

เปิดทีเด็ดความสำเร็จ

จากร้านขนมเล็กๆ ผลิตหลังร้านขายยาสู่แบรนด์ขนมไทยชั้นนำแบรนด์ “คุณเก๋ขนมหวาน” เริ่มต้นในปี 2540 และพลิกโอกาสครั้งสำคัญเมื่อได้ออกบูธในงาน Thaifex ปี 2549 จนนำไปสู่การวางจำหน่ายใน 7-Eleven เป็นครั้งแรกในปี 2551

ไทยทำรถไฟใช้เอง

หลังจากที่กระทรวงมีนโยบายผลักดันการขนส่งทางรางให้เป็นขนส่งหลักของประเทศ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าขนส่งของประเทศถูกลง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project)

ล้อมคอกซ้ำซาก

ซ้ำซากครั้งแล้วครั้งเล่าสำหรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนถนนพระราม 2 นับแต่เกิดเหตุโครงเหล็กพังถล่มลงมาด้านล่างพร้อมกับคานปูนขนาดใหญ่ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 6 ราย และบาดเจ็บหลายราย เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2567 ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา เกิดเหตุคานขวางระหว่างก่อสร้างถล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย

หนุน“SME”เร่งลงทุนเทคโนโลยี

ปี 2568 เศรษฐกิจไทยยังเติบโตภายใต้ปัจจัยท้าทายทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งหลายปัจจัยกดดันการเติบโตของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ “เอสเอ็มอี” ที่การเติบโตถูกกดดันมาอย่างต่อเนื่อง

ดิจิทัลคอนเทนต์เทรนด์โลก

เดี๋ยวนี้มองไปทางไหนก็มีแต่สื่อดิจิทัลเต็มไปหมด ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้การนำเสนอสื่อก็เปลี่ยนตามไปด้วย สังคมดิจิทัลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการนำเสนอสื่อ ขายของ ติดต่อสื่อสาร และอีกหลายๆ กิจกรรม ด้วยเหตุนี้เองกลุ่มผู้ประกอบการในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันกับเทรนด์และความต้องการที่เปลี่ยนไป