ผลวิจัยเยอรมนีชี้คนอายุ 40-59 ปีมีโอกาสเจอ Long COVID มากสุด!

'หมอธีระ' ตอกย้ำเรื่อง Long COVID ยกผลวิจัยของเยอรมนีที่ศึกษาคนเหยียบ 4 แสนรายในเวลา 2 ปี ชี้ผู้ป่วยอายุ 40-59 ปี มีโอกาสรักษาซ้ำมากที่สุด

01 มิ.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 504,174 คน ตายเพิ่ม 1,304 คน รวมแล้วติดไป 532,536,426 คน เสียชีวิตรวม 6,313,278 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีเหนือ ไต้หวัน เยอรมัน บราซิล และฝรั่งเศส

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 76.18 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 72.62 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 46.1 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 13.34

...สถานการณ์ระบาดของไทย
จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนติดเชื้อเมื่อวาน รวม ATK ของไทย สูงเป็นอันดับ 13 ของโลก ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 14 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย ถึงแม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปก็ตาม ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานคิดเป็น 12.06% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

...อัพเดต Long COVID
Donnachie E และทีมงานจากประเทศเยอรมนี ทำการศึกษาอัตราการเกิดภาวะ Long COVID ในผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในแคว้นบาวาเรีย ตั้งแต่ปี 2020 ถึงมิถุนายน 2021 โดยทำการติดตามยาว 2 ปี จำนวน 391,990 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจอื่น 62,659 คน และกลุ่มที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 อีก 659,579 คนพบว่าคนที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้รับการวินิจฉัยเป็น Post COVID syndrome หรือ Long COVID สูงราว 15%

หลังการติดเชื้อโรคโควิด-19 จะพบอาการผิดปกติต่างๆ นั้นบ่อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจอื่น และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ติดเชื้อ โดยเฉลี่ยแล้ว 2-3 เท่า

นอกจากอุบัติการณ์เกิด Long COVID ที่ค่อนข้างสูงแล้ว ยังพบว่าอัตราการเข้ารับการดูแลรักษาอาการป่วยจาก Long COVID ก็สูงกว่าอีกสองกลุ่มที่ใช้เปรียบเทียบอีกด้วย โดยช่วงวัยที่เข้ารับการดูแลรักษามากสุดคือช่วงอายุ 40-59 ปี

ถือเป็นหลักฐานวิชาการอีกชิ้นหนึ่งที่ใช้กลุ่มประชากรที่ศึกษาจำนวนมาก และยืนยันถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อโรคโควิด-19

โควิด...ติดไม่จบแค่หายแบบชิลๆ แต่ป่วย ตาย หรือเกิดผลกระทบระยะยาวอย่าง Long COVID ได้ และจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สมรรถนะการดำรงชีวิตประจำวัน การทำงาน และเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็น ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องเสมอเวลาออกจากบ้านนะครับ สำคัญมาก

อ้างอิง
Donnachie E et al. Incidence of Post-Covid Syndrome and Associated Symptoms in Outpatient Care in Bavaria, Germany. medRxiv. 30 May 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)