'หมออุดม' ชี้ติดโควิดต่อวันยังอยู่ 3-4 หมื่น อีกปีถึงจะปรับเป็นโรคประจำถิ่น

‘หมออุดม’ เตือน ปชช. ยังต้องดูแลตัวเอง คนติดโควิดต่อวันยังอยู่ที่ 3 – 4 หมื่น ชี้อย่างน้อยอีก 1 ปี ถึงจะปรับเป็นโรคประจำถิ่น ยันยกเลิก ศบค. ไม่เกิดสุญญากาศ

23 ก.ย. 2565 – เมื่อเวลา 09.50 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ศ.นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ว่า ขณะนี้ผู้ติดเชื้อที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลอยู่ที่ประมาณ 800 – 1,000 คน ส่วนผู้ที่มีผลตรวจเอทีเคเป็นบวกอยู่ที่ 1.3-1.4 หมื่นคนต่อวัน และคาดว่ามีผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าระบบอีก 2 – 3 เท่า โดยรวมจึงมีผู้ติดเชื้ออยู่ประมาณ 3 – 4 หมื่นรายต่อวัน ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง เป็นเหตุผลที่ทำให้เราเปลี่ยนผ่านจากโรคติดต่อร้ายแรงมาเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง แต่ยังไม่ถึงขั้นโรคประจำถิ่นที่ผู้ป่วยต้องน้อยกว่านี้

อย่างไรก็ตาม การเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังทำให้เราสบายขึ้นเยอะ เพราะทุกอย่างผ่อนคลายเกือบหมด แต่อยากย้ำว่าเรายังต้องดูแลตัวเอง เพราะยังมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.1 % ซึ่งเราไม่อยากให้มีใครเสียชีวิต ต้องให้อัตราการเสียชีวิตน้อยกว่านี้ ตนเชื่อว่าโควิดจะอยู่กับเราอีกไม่ต่ำกว่า 1 ปี ถึงจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น ประชาชนจึงต้องดูแลตัวเอง ใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ประเมินความเสี่ยงตนเอง สามารถถอดหน้ากากได้หากอยู่ในที่โล่ง

ทั้งนี้ ขอย้ำว่าการสวมหน้ากากมีความจำเป็น โควิด-19 ยังไม่ได้เป็นโรคประจำถิ่น ยังไม่ได้อยู่ระดับเดียวกับไข้หวัด เพียงแต่เศรษฐกิจต้องเดินไป นอกจากนี้ วัคซีนยังมีความจำเป็น ที่สามารถลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต รวมทั้งหากฉีดเข็มกระตุ้นสามารถป้องกันลองโควิดได้ แต่ตอนนี้การฉีดเข็มกระตุ้นยังถือว่าต่ำ จึงขอให้เข้ารับการฉีดอย่างน้อยให้ได้เข็มที่ 3 ร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร จะทำให้เราสบายใจกันมากขึ้น ซึ่งขณะนี้หลายคนพอเห็นอาการไม่รุนแรงเลยไม่ไปฉีดกัน

ที่ปรึกษา ศบค. กล่าวว่า การระบาดระลอกใหม่ไม่ใช่เรื่องที่เรากังวล เพราะเรียนรู้จากโควิดมา 3 ปี มีระบบที่รองรับได้ แต่หลังจากวันที่ 1 ต.ค. ไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ ศบค. หมดไป การประชุม ศบค.ครั้งนี้จึงจะคุยกันว่า จะมอบหมายให้กระทรวงต่างๆ ยังทำงานโดยบูรณาการร่วมกันโดยใช้มติคณะรัฐมนตรีไปก่อน และระยะยาวเราได้แก้ไขพระราชบัญญัติโรคติดต่อที่มีโครงสร้างบางส่วนคล้าย ศบค. จะได้ไม่ต้องประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก แต่ขณะนี้ยังไม่ได้เข้าสภา ที่ผ่านมาเคยเสนอนายกรัฐมนตรี ออก พ.ร.ก. แก้ไข พ.ร.บ.โรคติดต่อ เพื่อใช้ไปก่อน ทั้งนี้ ยืนยันหลังวันที่ 1 ต.ค. จะไม่เกิดสุญญากาศ กระทรวงต่างๆ ยังทำหน้าที่ การทำงานจะไม่มีปัญหา แต่อาจไม่เข้มข้นเหมือนตอนมี ศบค.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 501 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 501 ราย