'หมอยง' ชี้เด็กเล็กเป็นกลุ่มเสี่ยงโควิดไม่ต่างจากกลุ่ม 608

'หมอยง' ย้ำโควิดยังไม่หายไปจากไทย เด็กเล็กโดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 2 ปีถือเป็นกลุ่มเสี่ยง หากติดเชื้อ แนะควรได้รับวัคซีน 3 ครั้ง แต่ไม่ได้บังคับ

27 ต.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 ทำไมต้องให้วัคซีนในเด็กเล็ก” ระบุว่า โรคโควิด 19 คงไม่ได้หายหรือหมดไปจากประเทศไทย จะคงอยู่เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่

เด็กเล็ก โดยเฉพาะที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ที่เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงได้ จะเห็นได้จากกลุ่มเสี่ยงของโรคทางเดินหายใจ นอกจากผู้สูงอายุ 608 แล้วจะรวมเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีเข้าไว้ด้วย
กลุ่มเสี่ยงควรได้รับวัคซีน เพื่อให้มีภูมิต้านทาน ถึงแม้ว่า ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากวัคซีนจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้แบบสมบูรณ์ แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคลงได้ และเป็นที่ยอมรับทั่วไป

ปัจจุบันมีวัคซีน covid19 ในเด็กตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ถึงแม้จะเป็น mRNA วัคซีน ก็ได้มีการศึกษาวิจัยถึงความปลอดภัยของวัคซีน และมีการอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้จากวัคซีน กับความเสี่ยงในการติดเชื้อ

วัคซีนที่ใช้ในเด็กเล็กขณะนี้ ขนาดของ mRNA น้อยกว่าในผู้ใหญ่ 10 เท่า ในขณะที่น้ำหนักตัวเด็ก โดยเฉลี่ยแล้ว น้อยกว่าผู้ใหญ่ 5 เท่า ดังนั้นการให้วัคซีนในเด็กเล็ก จึงจำเป็นต้องให้ถึง 3 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรกห่างกัน 1 เดือนและครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2 สองเดือน

การรับวัคซีนไม่ได้เป็นภาคบังคับ เป็นไปด้วยความสมัครใจของผู้ปกครอง และจะไม่มีเงื่อนไขในการเข้าเรียนว่าจะต้องได้รับวัคซีนมาก่อนหรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)