สธ. พบคนไทยมาจากคองโกติดเชื้อ 'โอมิครอน' ชี้ศัตรูในไทยตอนนี้คือ เดลต้า

9 ธ.ค.2564 - ที่กระทรวง​สาธารณสุข​ นพ.ศุภกิจ ​ศิริ​ลักษณ์​ อธิบดี​กรม​วิทยา​ศาสตร์​การแพทย์ ​แถลง​ความ​คืบหน้าสถานการณ์​โค​วิด​-19 สายพันธุ์​โอมิครอน ข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อโอมิครอน ค่อนข้างเยอะ ทำให้เกิดความวิตกกังวลสับสน ซึ่งตนขอให้ข้อมูลว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่ายเฝ้าระวังเรื่องการตรวจรหัสพันธุกรรมมาโดยตลอด 1 พ.ย. - 8 ธ.ค. ตรวจแล้วด้วย 2 วิธีคือ 1. การตรวจเฉพาะตำแหน่งเฉพาะยีน เป็นเบื้องต้น และ 2. การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว เพื่อการยืนยันสายพันธุ์ โดยในส่วนของผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและการสุ่มตรวจคนที่อยู่ในประเทศไทย โดยตรวจทั้งหมด 1,649 ตัวอย่าง เจอเดลต้า (อินเดีย)​ เกือบทั้งหมด 99% กว่าๆ มี 4 ราย เป็นโอมิครอน คิดเป็นประมาณไม่ถึง 1% ดังนั้นศัตรูในประเทศไทยคือเชื้อเดลต้า

ทั้งนี้ 4 ราย ดังกล่าวนั้น โดย 2 ราย เป็นหญิงไทยเดินทางกลับจากไนจีเรีย ยืนยันเป็นโอมิครอน รวมชายอเมริกัน 1 ราย ที่มาจากสเปน จึงสรุปเป็นโอมิครอน 3 ราย อย่างไรก็ตามเมื่อวันจันทร์​ที่ผ่านมาเราได้รับตัวอย่างมาอีก 1 ตัวอย่างเป็นตัวอย่างของผู้ชาย อายุ 41 ปี สัญชาติไทย เป็นเจ้าหน้าที่ของยูเอ็น เดินทางมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย​คองโก เข้ามาในระบบ Test &​go เคยได้รับวัคซีนแอสต​ร้า​เซน​เน​ก้า​มาแล้ว 2 โดส ตรวจพบยีน 4 ตำแหน่ง เข้าข่ายเป็นเชื้อโอมิครอน กำลังตรวจสายพันธุกรรมทั้งตัว จะทราบผลใน 2-3 วัน ตอนนี้อยู่ระหว่างกักตัว และสอบสวนโรค ย้ำว่าทั้งหมดเป็นการติดเชื้อมาจากต่างประเทศ

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ยืนยันว่า Antigen​ Test Kit​ สามารถตรวจหาเชื้อโอมิครอนได้ เพราะโปรตีนที่ผลิตในการทำ ATK ไม่มีปัญหาที่โอมิครอนจะหลบหลีกได้ ทั้งนี้จะต้องตรวจ ATK ให้ถูกต้อง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”

'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86

ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

'WHO-FDA' ชงใช้สายพันธุ์ XBB ต้นแบบผลิตวัคซีนโควิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (US FDA)