สธ. เผยพบผู้เข้าข่ายติดเชื้อโอมิครอน 11 คน ยืนยันแล้ว 8 คน

13 ธ.ค.2564 - ที่กระทรวงสาธารณสุข​ นพ.ศุภกิจ​ ศิริ​ลักษณ์​ อธิบดี​กรม​วิทยา​ศาสตร์​การแพทย์​ แถลง​สถานการการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์​โอ​มิ​ค​รอน​ว่า ตั้งแต่เปิดประเทศวันที่ 1 พ.ย.64 เชื้อที่ระบาดยังเป็นสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)​ สำหรับสายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) 1 คน ในภาคใต้ ส่วนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ผลการเฝ้าระวังพบผู้เข้าข่ายติดเชื้อ 11 คน มีผลตรวจยืนยันแล้ว 8 คน ในจำนวนนี้  9 คนอยู่ใน กรุงเทพ​มหานคร​ เข้าไทยในระบบแซนด์บ็อกซ์และTest&Go อีก 2 คน พบใน นนทบุรี และชลบุรี

นพ.ศุภกิจ​ กล่าวว่า จากข้อมูลการตรวจพบเพิ่มเติม ดังนี้ รายที่ 5 เป็นชายไทย อายุ 39 ปี มาจากประเทศไนจีเรีย เข้าไทยระบบแซนด์บ็อกซ์ รายที่ 6 เพศชาย สัญชาติโคลัมเบีย อายุ 62 ปี เดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย เข้าไทยระบบแซนด์บ็อกซ์ (ยังไม่ยืนยันผล) รายที่ 7 เพศชาย สัญชาติอังกฤษ อายุ 51 ปี เดินทางมาจากสหราชอาณาจักร เข้าไทยในระบบ Test&Go รายที่ 8 เป็นชายไทย อายุ 37 ปี เดินทางมาจากประเทศแอฟริกาใต้ เข้าไทยระบบกักตัว รายที่ 9 เพศชาย สัญชาติอเมริกัน อายุ 40 ปี เดินทางมาจากสหรัฐอเมริกา เปลี่ยนเครื่องที่เกาหลีใต้ เข้าไทยระบบ Test&Go รายที่ 10 เพศชาย สัญชาติเบลารุส อายุ 51 ปี เดินทางมาจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าไทยระบบ Test&Go รายที่ 11 เพศชาย สัญชาติอังกฤษ อายุ 31 ปี เดินทางมาจากสหราชอาณาจักร เข้าไทยระบบ Test&Go (ยังไม่ยืนยันผล)

นพ.ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนผู้เข้าข่ายติดเชื้อโอมิครอน รายที่ 4 เป็นชายไทย อายุ 41 ปี มาจากประเทศสาธารณ​รัฐประชาธิปไตย​คองโก ตรวจพบเชื้อในปริมาณน้อย ขณะนี้ยังไม่ได้ผลยืนยัน สำหรับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน อยากย้ำเตือนว่าประชาชนอย่าเพิ่งวิตกกังวล มาตรการที่มีเพียงพอรับมือเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน หรือเชื้อกลายพันธุ์ใหม่ ระหว่างนี้สายพันธุ์ที่ระบาดหลักยังเป็นสายพันธุ์เดลต้า จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากที่สุด

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามขณะนี้การตรวจพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน เป็นการตรวจพบจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเท่านั้น ยังไม่พบที่เกิดการติดเชื้อในประเทศไทยโดยตรง  สำหรับกรณีที่หลายคนกังวลว่าอาจจะเกิดการระบาดสายพันธุ์ผสม ขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อแบบไฮบริดแต่อย่างใด  ที่ผ่านมาการระบาดในประเทศไทยมีการระบาดที่หลากหลายสายพันธุ์แต่ยังไม่เจอการเกิดสายพันธุ์แบบไฮบริด กระทรวง​สาธารณสุข​จะมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขณะนี้นั้น ถือว่าอยู่ในช่วงขาลง เพราะการติดเชื้อการแพร่ระบาดต่ำว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ ขณะนี้จะเรียกได้ว่าเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่นั้นยังไม่มีความชัดเจนมากพอที่จะประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น จะต้องมีการหารือกับผู้เชี่ยวชาญต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”

'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86

ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

'WHO-FDA' ชงใช้สายพันธุ์ XBB ต้นแบบผลิตวัคซีนโควิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (US FDA)