
'หมอยง' ชี้ชัดนับจากนี้ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19พุ่งขึ้นแน่นอน แต่จะสูงแค่ไหนขึ้นอยู่กับการจัดการ เผยถ้าทั่วโลกอัตราการป่วยตาย เหลือน้อยกว่า 0.1% จะเข้าสู่ยุคโรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล
06 ม.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด-19 โอมิครอน หยุดยาวช่วงปีใหม่ และการติดต่อง่าย” มีเนื้อหาว่า โอมิครอน เรารู้แล้วว่าติดต่อง่าย ประกอบกับ การสนุกสนานรื่นเริง และหยุดยาวช่วงปีใหม่ ดังนั้น ผลที่จะพบผู้ป่วยมากขึ้นในช่วงต่อจากนี้ไป ไม่ใช่เรื่องแปลก
ผมอยู่กับห้องปฏิบัติการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2 - 3 วันนี้ รู้แล้วว่าตัวเลขและอัตราการตรวจพบ โควิด 19 เพิ่มขึ้นมากๆ
ผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ นับจากนี้ต่อไป จะเริ่มพุ่งขึ้นสูงอย่างแน่นอน จะขึ้นสูงแค่ไหนก็คงขึ้นอยู่กับการปฏิบัติ ต่อจากนี้ ที่ทุกคนจะต้องร่วมมือกันลดจำนวนตัวเลข ให้อยู่ในระดับที่ระบบสาธารณสุขรองรับได้
อัตราการป่วยรุนแรง และเสียชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วย จะน้อยกว่า ช่วงการระบาดของเดลตา
สิ่งที่สำคัญขณะนี้ จะต้องเร่งกระตุ้นวัคซีนเข็มที่ 3 ให้ได้มากที่สุดและอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง 608 ที่เรารู้กันดีว่าอายุเกิน 60 และหรือ มีโรคเรื้อรัง 8 โรค เพื่อลดความรุนแรงให้ได้
การดูแลรักษา จะรับผู้ป่วยที่มีอาการมากเข้าโรงพยาบาล ในกลุ่มสีเขียว จำเป็นที่จะต้อง แยกตัวที่บ้าน หรือ ในชุมชนที่จัดไว้ community isolate เพื่อเป็นการลดการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์จะได้มีเวลาไปดูแลผู้ป่วยที่มีอาการมาก
จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ในรูปเราจะเห็นว่าการระบาดของทั่วโลกเกิดขึ้นเป็น 4 ระลอก เมื่อเปรียบเทียบอัตราป่วยตาย จะเห็นว่าอัตราป่วยตายมีแนวโน้มลดลง ถ้าเริ่มจากปีแรกอัตราป่วยตายถึง 3 ถึง 5 % พอเข้าสู่ปีที่ 2 เริ่มลดลงเหลือ 2 % และมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอดจนมาถึงระลอก ของโอมิครอน ที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้อัตราการป่วยตายอยู่ที่ 0.3 % และก็หวังว่าจะลดลงอีก ดังแสดงในรูป
อัตราการเสียชีวิตในช่วงระบาดของเดลตาของประเทศไทย เราน้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของทั่วโลก อัตราการป่วยตาย อยู่ที่ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ และหวังว่าในช่วงการระบาดของโอมิครอน ก็น่าจะลดลงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของทั่วโลก และถ้าเป็นไปได้ ถ้าทั่วโลกอัตราการป่วยตาย เหลือน้อยกว่า 0.1% หรือหนึ่งในพัน ก็จะเข้าสู่ยุคของ โรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล ที่จะสร้างปัญหาส่วนใหญ่ให้กับกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเปราะบางอย่างเช่นไข้หวัดใหญ่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จริยธรรม' อยู่สูงกว่ากฎหมาย! 'หมอยง' ชี้ทุกคนต้องยึดมั่น ไม่ใช่เฉพาะแพทย์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ร่วมลงชื่อสนับสนุนและให้กำลังใจ "แพทยสภา"
จุฬาฯ มหาวิทยาลัยหนึ่งเดียวและตัวแทนของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ร่วมฉลอง Pride Month อย่างยิ่งใหญ่ในงาน Bangkok Pride 2025
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมเดินหน้าสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมและเปิดกว้างทางความคิด ด้วยการเข้าร่วมงาน Bangkok Pride 2025 อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ธีม “Born to be Together” นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียว ที่ได้รับเกียรติให้เป็น 1 ใน 6 ขบวนหลักของ Pride Parade ปีนี้ โดยมีจุดเริ่มต้นที่ สนามเทพหัสดิน
น่าห่วง! โควิด-19 พุ่ง ยอดผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิต ทำลายสถิติรายสัปดาห์ของปีนี้อีกครั้ง
ตัวเลขโควิด-19 สัปดาห์ที่ 22 (25-31 พ.ค. 2568) อัปเดต 05.20 น.จาก delayed report ตอนนี้เพิ่มจาก 65,846 ราย ตาย 3 ราย ไปเป็น 73,065 ราย ตาย 6 ราย
"วราวุธ" ห่วงใย พี่น้องกลุ่มเปราะบาง กำชับ พม.ทุกจังหวัด เข้ม มาตรการป้องกัน โควิด-19
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝน มีแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่
น่าห่วง! อาจารย์หมอจุฬาฯ ระบุโควิด-19 สัปดาห์ที่ผ่านมา มากกว่าไข้หวัดใหญ่ 10 เท่า
แม้ตัวเลขขณะนี้ เคสสัปดาห์ที่ 21 (18-24 พ.ค.) จะอยู่ที่ 53,597 ราย ตาย 5 ราย แต่ติดตามต่อไป delayed report อาจทำให้สูงขึ้นกว่านี้ได้อีกมาก