กรมการแพทย์ เตรียมแผนดูแลเด็กติดเชื้อโอมิครอน ประสานเตียงกับ กทม. เตรียมยาฟาวิพิราเวียร์ชนิดน้ำ

9 ม.ค.65- นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวครอบครัวของเด็กป่วยโควิดวัย 4 เดือน หาโรงพยาบาลรักษานั้น ขณะนี้กรมการแพทย์โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้ประสาน รับเด็กคนดังกล่าวเข้ารักษาที่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยเด็กรายดังกล่าวมีอาการไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีหอบเหนื่อย ดูดนมเองได้ ไม่อาเจียน ไม่มีถ่ายเหลว นอนพักผ่อนได้ปกติ ซึ่งได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานของการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิด 19 ที่กรมการแพทย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด

ทั้งนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน สั่งการให้กรมการแพทย์ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายรับมือการระบาดของโรคโควิด 19 ในรอบนี้ให้ดีที่สุด ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดการระบาดในเด็กมาก เพราะเด็กบางส่วนยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่ย้ำว่าอาการไม่รุนแรง หากไม่มีโรคประจำตัว

ขณะนี้มีการประสาน กทม.ให้จัดทำเตียง Community Isolation (CI) สำหรับเด็กและครอบครัวเอาไว้ 6 โซน โซนละ 1 แห่ง แห่งละอย่างน้อย 50 เตียง โดย 1 ห้องเด็กอยู่ร่วมกัน 3-4 คน มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมได้ เนื่องจากเด็กจะมีการทำกิจกรรมมากกว่าผู้ใหญ่ พร้อมทั้งมอบสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชราชินีเผยแพร่วิธีการเตรียมยาน้ำฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็ก ผ่านทาง YouTube ของสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชราชินีและกรมการแพทย์ เพื่อให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งสามารถเตรียมยาได้เองด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก โดยไม่ต้องสำรอง พร้อมจัดระบบให้ปรึกษาร่วมกับโรงเรียนแพทย์ (UHosNet) สำนักการแพทย์ กทม. โรงพยาบาลเอกชนในการดำเนินการ HI และ CI นอกจากนี้ยังได้จัดตั้ง CI สำหรับแรงงานต่างด้าว เริ่มจากหนึ่งโซน ถ้ามีความจำเป็นจะขยายไปโซนละ 1 แห่งต่อไป โดยกำหนดไว้แห่งละประมาณ 100 เตียง

นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มว่ากรมการแพทย์โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ซึ่งเป็นสถาบันเฉพาะทางที่ดูแลเด็ก มีการเตรียมความพร้อมอย่างดี สามารถให้การดูแลผู้ป่วยโควิดเด็กทุกกลุ่มอาการ โดยกลุ่มสีเขียวจะให้รักษาตัวที่บ้าน Home Isolation (HI) และเตียง Community Isolation (CI) ส่วนกลุ่มสีเหลืองและสีแดงจะรับไว้รักษาในสถาบัน ซึ่งขณะนี้มีห้องแยกความดันลบ 5 ห้อง มีเตียงรองรับผู้ป่วยทั้งหมด 70 เตียง นอกจากนี้ยังมอบหมายให้สถาบันฯ เตรียมความพร้อมรองรับการฉีดวัคซีนกลุ่มเด็ก 5-11 ปี ซึ่งได้มีการซักซ้อม พร้อมจัดสถานที่สำหรับให้บริการ เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว และจะเร่งฉีดเด็กกลุ่มนี้ให้เร็วที่สุด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ลดการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้ปกครองควรดูแลรักษาสุขภาพเด็กให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการ 1.สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ 2. หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัด โดยเฉพาะเด็กทารกเนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคของเด็กยังมีน้อยจึงอาจติดเชื้อโรคได้ง่าย 3.การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และปรุงสุกร้อนใช้ช้อนกลางส่วนตัว 4.ทำให้ร่างกายของลูกน้อยอบอุ่นอยู่เสมอ 5.ควรตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ ATK หากพบผลบวกให้โทร. 1330 เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”

กรมการแพทย์ เตือนพ่อแม่ PM 2.5 ภัยล่องหนส่งผลร้ายต่อลูก

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ชี้มลพิษทางอากาศ (ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5) ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและเด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที

'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86