'หมอยง' เผยผลศึกษา 'โอมิครอน' แทนที่ 'เดลต้า' เกือบทั้งหมด เร็วกว่าที่คาดคิดไว้

จะเห็นว่าจำนวนการตรวจพบสายพันธุ์ โอมิครอน มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังจะมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้าเกือบทั้งหมด เร็วกว่าที่คาดคิดไว้ แต่เดิมคิดว่าสายพันธุ์ โอมิครอน จะมาแทนที่ทั้งหมดในปลายเดือน มกราคม

11 ม.ค.2565- ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด 19 โอมิครอน อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังจะแทนที่เดลต้า

โอมิครอน ระบาดได้รวดเร็วมาก กระจายไปทั่วโลก ขยายตัวเพิ่มขึ้นและกำลังจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า

จากการศึกษาติดตามของศูนย์เชี่ยวชาญไวรัส ที่จุฬา โดยตัวอย่างทั้งหมดจะเป็นตัวอย่างที่กรุงเทพฯ ในระยะแรกก่อนปีใหม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะเป็นตัวอย่างของผู้ที่ติดเชื้อในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ และ วันที่ 10 มกราคม เป็นตัวอย่างที่ตรวจในผู้ติดเชื้อที่ติดในประเทศไทยล้วนๆ ไม่ตรวจผู้เดินทางมาจากต่างประเทศแล้ว

จะเห็นว่าจำนวนการตรวจพบสายพันธุ์ โอมิครอน มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังจะมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้าเกือบทั้งหมด เร็วกว่าที่คาดคิดไว้ แต่เดิมคิดว่าสายพันธุ์ โอมิครอน จะมาแทนที่ทั้งหมดในปลายเดือน มกราคม

จากข้อมูลนี้สายพันธุ์ โอมิครอน เพิ่มจำนวนอัตราการติดเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้ามาก ในช่วงสายพันธุ์เดลต้าที่จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์แอลฟา ยังใช้เวลานานกว่านี้

ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าการแพร่กระจาย โดยเฉพาะการติดต่อในสายพันธุ์ โอมิครอน แพร่กระจายได้เร็วมาก จึงสามารถที่จะมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า ตามหลักวิวัฒนาการ ของไวรัส และในที่สุด สายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยก็จะเป็น โอมิครอน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

‘หมอยง’ ชี้แบคทีเรียกินเนื้อ ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ

แบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล