25 ม.ค.2565 - นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงประเด็นการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ติดตามสถานการณ์การระบาดของสายพันธุ์ในประเทศ และ ติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทคโนโลยีการตรวจการกลายพันธุ์ (SNP genotyping assay, Targeted sequencing, Whole genome sequencing) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา ซึ่งพบสายพันธุ์ที่น่ากังวลในประเทศไทย (Variant of Concerns; VOC) ได้แก่ อัลฟ่า (อังกฤษ) เบต้า (แอฟริกาใต้) เดลต้า (อินเดีย) จนกระทั่งพบสายพันธุ์โอมิครอน รายแรกเมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2564 โดยเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 พบการกลายพันธุ์ตำแหน่ง K417N, T478K, N501Y และ del69/70 แต่ไม่พบการกลายพันธุ์ตำแหน่ง L452R ซึ่งเป็นรูปแบบการกลายพันธุ์รูปแบบหนึ่งของสายพันธุ์โอมิครอน โดยในช่วงแรกประเทศไทยยังคงพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เฉพาะในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และประมาณสามสัปดาห์ต่อมาเริ่มพบผู้ติดเชื้อในประเทศ โดยเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่พบในคลัสเตอร์ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า จากการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ร่วมกับเครือข่ายทั่วประเทศ พบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยในประเทศ ได้แก่ BA.1 และ BA.2 โดยสายพันธุ์ย่อย BA.2 ตรวจพบรายแรกตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 2565 และได้รายงานในระบบฐานข้อมูล GSAID ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.. 2565 ส่วน BA.3 ยังไม่พบในประเทศไทย
“ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ตรวจสอบพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 รวมทั้งหมด 9 ราย ซึ่งลักษณะสำคัญทางพันธุกรรมของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 คือ ไม่พบการกลายพันธุ์บน spike โปรตีน ของตำแหน่ง 69-70 ซึ่งแตกต่างจาก BA.1 และ BA.3 ทั้งนี้จากการติดตามสถานการณ์ระบาดและการกระจายของเชื้อไวรัสโควิด 19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ยังไม่พบความแตกต่างจากสายพันธุ์ย่อย BA.1 ในประเด็น ความสามารถในการแพร่เชื้อที่รวดเร็ว อาการรุนแรง หรือสามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ จากการติดเชื้อหรือการได้รับวัคซีนมาก่อน” นพ.ศุภกิจ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอศิริราช' ถึงกับร้องไอ้หยา! ตัวเลขฝุ่น PM2.5
'หมอนิธิพัฒน์' ถึงกับผงะฝุ่นพิษไทย เตือนคนกรุงอย่าปลดหน้ากากในช่วงนี้แม้โควิดเบาบางลง เรียกร้อง 4 ข้อ โดยเฉพาะพรรคการเมืองให้เสนอนโยบายแก้ไขไม่ใช่มุ่งแต่เพิ่มเงิน
ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ 627 ราย ดับ 44 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 15 - 21 มกราคม 2566 พบผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 627 ราย
โควิด 'XBB.1.5' จ่อขยับสายพันธุ์หลัก ในอเมริกา-ยุโรป ก.พ.นี้
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 128,373 คน ตายเพิ่ม 635 คน รวมแล้วติดไป 673,294,559 คน เสียชีวิตรวม 6,746,068 คน
'อนุทิน' ติดตามนโยบายจีน อนุมัติกรุ๊ปทัวร์เที่ยวนอก 20 ประเทศ ไทยติดโผ
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ทางการประเทศจีนจะดำเนินการนำร่องให้ชาวจีนเดินทางออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศแบบหมู่คณะ หรือ กรุ๊ปทัวร์ ได้ใน 20 ประเทศซึ่งรวมถึงประเทศไทย
WHO พบยอดดับโควิดเพิ่ม 20% จับตาใกล้ชิด 4 สายพันธุ์ย่อย
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 184,854 คน ตายเพิ่ม 876 คน รวมแล้วติดไป 672,392,899 คน เสียชีวิตรวม 6,737,823 คน