
24 ก.ค. 2565 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีลูกหนี้รายหนึ่งที่ จ.ลำพูน มีอาชีพค้าขายได้ไปกู้เงินนอกระบบจากเจ้าหนี้หลายเจ้ารวมเงินต้นประมาณ 12,000 บาท ต่อมาได้มีคนมาติดตามทวงหนี้ที่บ้านเกิดเหตุหลายครั้งมีการพูดจาข่มขู่และปาของเข้าไปในบ้านทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุ สอบปากคำพยานและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตัวผู้ต้องหาที่ร่วมก่อเหตุในคดีนี้ได้แล้วจำนวน1ราย ส่วนอีก 1 ราย อยู่ระหว่างหลบหนี ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดลำพูน ในข้อหา ร่วมกันทวงถามหนี้ลักษณะข่มขู่ลูกหนี้หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่นฯ และได้นำตัวส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมาย
การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมาย โดยหากมีการทวงหนี้โดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ฯ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการข่มขู่ การใช้ความรุนแรง การใช้วาจาดูหมิ่นหรือการเปิดเผยข้อมูลการเป็นหนี้ของลูกหนี้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนผู้ที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก 1-5 ปี ปรับตั้งแต่ 100,000-500,000 บาทและการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท และหากมีการตรวจสอบพบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด ก็อาจมีความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
จากสถิติของ ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตารวจแห่งชาติ (ศปน.ตร.) พบว่าในช่วงระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 64 – 30 มิ.ย.65 มีการแจ้งการกระทำความผิดซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินกู้นอกระบบกว่า 1,664 เรื่อง ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว 1,446 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 86 อยู่ระหว่างดำเนินการ 218 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 14 โดยการกระทำความผิดที่ได้รับแจ้งมากที่สุด 3 อันดับ คือ การเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา ,การปล่อยกู้ออนไลน์, และการทวงหนี้ผิดกฎหมาย ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดําเนินการสืบสวนสอบสวนจับกุมผู้กระทําความผิดต่อไป
ทั้งนี้ ขอฝากประชาสัมพันธ์ถึงวิธีหลีกเลี่ยงการถูกทวงหนี้นอกระบบด้วยรูปแบบต่างๆ และแนวทางการป้องกัน ดังนี้ 1.หากถูกแก๊งทวงหนี้ แอบอ้าง ข่มขู่ ควรตั้งสติให้ดี อย่าตื่นตระหนก รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาตรวจสอบหรือให้ความช่วยเหลือ 2.ทำการบันทึกข้อมูลการสนทนา ภาพถ่าย คลิปวีดีโอ เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ เพื่อใช้ในการดำเนินคดีภายหลัง 3.หากมีความจำเป็นต้องกู้เงิน ควรกู้จากสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หนาวแน่! ตร.ไซเบอร์เอาจริง กวาดล้างแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า
พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว อย่างเคร่งครัด
ตำรวจแนะ 8 แนวทางป้องกันภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ชี้ช่วงนี้ปลอมเป็น ตร.ภูธรระบาดหนัก แนะตั้งสติ พร้อมเสนอ 8 แนวทางป้องกันปัญหา
ตร.คุมตัว 'เบนซ์ เดม่อน' ฝากขังพร้อมคัดค้านประกันตัว เร่งสอบความเชื่อมโยงพี่น้องตระกูล บ.
ตร.คุมตัว 'เบนซ์ เดม่อน' ฝากขังพร้อมคัดค้านประกันตัว เร่งสอบความเชื่อมโยงพี่น้องตระกูล บ.
จ๋อยสนิท! รวบ 2 สมุนแก๊งเงินกู้ 'บังหนวด' เจอ 4 ข้อหา เหิมเกริมท้ากฎหมาย
พ.ต.อ.ณัฏฐวิชฌ์ ราชแก้ว ผกก.สภ.เมืองนครพนม เปิดเผยว่า คืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับคดีแก๊งเงินกู้นอกระบบบุกงัดบ้านลักทรัพย์ลูกหนี้ ได้สั่งการตำรวจทีมสืบสวนลงพื้นที่หาเบาะแส ซึ่งจากคำให้การของลูกหนี้ รวมถึงหลักฐานจากหมายเลขโทรศัพท์
ออกหมายเรียก 'ผู้การชลบุรี' เปลี่ยนตัวผู้ต้องหาช่วยแก๊งเงินกู้พ้นผิด
พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. กล่าวถึงการเตรียมดำเนินคดีกับตำรวจระดับ “นายพล” ในพื้นที่ภาค 2
ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยมิจฉาชีพแฝงตัวการลอยกระทงออนไลน์
เตือนภัยมิจฉาชีพแฝงตัวการลอยกระทงออนไลน์ เปิด 5 วิธีป้องกันตกเป็นเหยื่อ