ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นสรรพากร หลอกยื่นภาษีประจำปี

24 ม.ค.2566 - พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ฉวยโอกาสใช้สถานการณ์ต่างๆ สร้างความน่าเชื่อ มาก่อเหตุหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ

ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี จะเป็นช่วงเวลาให้ประชาชนยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ซึ่งมิจฉาชีพก็จะฉวยโอกาสในช่วงเวลาดังกล่าว แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ติดต่อไปยังประชาชนหลอกลวงด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ โทรศัพท์เข้ามาหลอกลวงเป็นขบวนการ (แก๊งคอลเซ็นเตอร์) หรือส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกให้กดลิงก์แอดไลน์เพิ่มเพื่อน แล้วให้ติดตั้งโปรแกรมของกรมสรรพากรปลอม หรือแอปพลิเคชันกรมสรรพากรปลอม หรือให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลทางการเงิน โดยอ้างเหตุผลต่างๆ เช่น เพื่อเป็นการตรวจสอบรายได้ของท่าน หรือแจ้งเตือนให้ท่านชำระภาษี หรือให้ทำการยกเลิกเสียภาษีจากโครงการคนละครึ่ง หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้เสียภาษีย้อนหลังได้ ผ่านแอปพลิเคชันกรมสรรพากรปลอมดังกล่าว

โฆษก บช.สอท.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้แล้วมิจฉาชีพยังมีการใช้สัญลักษณ์ของสรรพากร และเอกสารราชการปลอม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อลดการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

​ทั้งนี้ ขอฝากประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงแนวทางการป้องกัน ดังนี้
1.เมื่อรับโทรศัพท์ หรือได้รับข้อความ ให้ท่านตั้งสติ ตรวจสอบให้ดีว่าเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจริงหรือไม่ โดยตรวจสอบจากหมายเลขคอลเซ็นเตอร์ (Call center) จากหน่วยงานนั้นๆ เป็นหลัก

2.โดยปกติ หน่วยงานภาครัฐไม่มีนโยบายที่จะติดต่อประชาชนทางโทรศัพท์หรือ การส่งข้อความสั้น (SMS) หากมีการติดต่อ ให้ขอรายละเอียดที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อติดต่อกลับหน่วยงานนั้นๆ ด้วยตนเอง

3.ไม่กดลิงก์ หรือติดตั้งโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันที่ผู้อื่นส่งมาให้โดยเด็ดขาด แม้จะเป็นโปรแกรมที่รู้จักก็ตาม โดยหากต้องการใช้งานขอให้ทำการติดตั้งผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น

4.ไม่ติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ รวมถึงไม่กดโฆษณา หรือหน้าต่าง (Pop-up) ปลอม (Adware) บนเว็บไซต์ที่เข้าเยี่ยมชมเพราะอาจเสี่ยงต่อการฝัง หรือติดตั้งมัลแวร์จากมิจฉาชีพ

5.หลีกเลี่ยงการกดลิงก์ที่ส่งต่อกันมาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และให้ตรวจสอบทุกครั้งก่อนที่จะติดตั้ง

6.ไม่โอนเงิน หรือทำธุรกรรมใดๆ ผ่านแอปพลิเคชันผ่านลิงก์ หรือผ่านคิวอาร์โค้ด (QR Code) โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัญชีธนาคารที่ใช้ชื่อของบุคคลธรรมดา

7.ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงินใดๆ ลงในลิงก์ หรือแอปพลิเคชันที่เข้ามาในลักษณะดังกล่าวโดยเด็ดขาด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จนท.ตัดวงจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยึดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กว่า 6 พันชิ้น ซุกริมแม่น้ำโขง

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.)และกรมศุลกากร ภายใต้อำนวยการพล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. , นายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรม

ตร.ไซเบอร์ ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกเหยื่อโอนเงิน 115 ครั้ง สูญ 200 ล้านบาท

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รอง ผบช.สอท. พล.ต.ต.นิพล บุญเกิด ผบก.สอท.2 และ พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงข่าว “ปฏิบัติการ SAVING GOOD MAN ตร.ไซเบอร์ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ตร.ไซเบอร์ บุกรวบเจ้ามือหวยลาวรายใหญ่ เงินสะพัดกว่า 10 ล้าน

พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย ผบก.สอท.5 พ.ต.อ.กฤษดา มานะวงศ์สกุล ผกก.1 บก.สอท.5 และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ได้นำหมายค้นเข้าตรวจค้นที่บ้านหลังหนึ่งใน ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เนื่องจากสืบทราบมาว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่พักของ

'ตร.ไซเบอร์' ขยายผล 'แก๊งอายุน้อยร้อยล้าน' จับสาวดูแลเงินเว็บพนัน

พ.ต.อ.คมสัน มีภักดี ผกก.บก.สอท.4 และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการ 4 บก.สอท.4 ได้นำหมายค้นศาลจังหวัดเชียงรายที่ ลงวันที่ 7 เมษายน 2567 เข้าทำการตรวจค้นหอพักแห่งหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย