ศอ.บต. ผุด 3 มาตรการ 'ฟื้นเมืองหาดใหญ่' เปิดสถานบันเทิง 24 ชม. ดันเขตปลอดภาษี

18 พ.ค.2565 - ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต. ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดคลี่คลาย โดยเชิญคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา ตัวแทนภาคเอกชน โดยมีนายแวฮามะ บากา รองประธานคณะกรรมการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นประธานในที่ประชุม และนายธนวัฒน์ พูลศิลป์ ประธานหอการค้า ได้บรรยายพิเศษ เรื่อง ผลกระทบทางเศรษฐกิจของ จ.สงขลา จากสถานการณ์โควิด

นาวาเอกจักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผอ.กองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) ได้ให้เหตุผลในการประชุมรับฟังความคิดเห็นจาก คณะกรรมการที่ปรึกษาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ฝ่ายเศรษฐกิจ ) และ ตัวแทนเอกชนใน ซึ่งมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีตัวแทนของจังหวัดสงขลา และตัวเอกที่เป็นนักธุรกิจใน จ.สงขลา มาประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการ “ฟื้นฟูธุรกิจการค้าการท่องเที่ยว”ของ จ.สงขลา ในวันนี้ เพื่อนำข้อมูลข้อเสนอแนะจากที่ประชุมเพื่อนำเสนอต่อ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธาน คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( กพต.) ที่จะเดินทางมาพบปะกับ นักธุรกิจ และภาคส่วนอื่นๆ ที่ อ.หาดใหญ่ ในวันที่ 8 มิ.ย.ที่จะถึงนี้

สำหรับในการประชุมวันนี้ ต้องการเห็นประเด็นของปัญหาและการแก้ปัญหาของ จ.สงขลา ในพื้นที่ อ.เมือง อ.หาดใหญ่ อ.สะเดา ในพื้นที่เมืองชายแดน เทศบาลตำบลสำนักขาม และเทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ ที่เป็นเมืองชายแดน ซึ่งทั้งหมดมีความซบเซา จากการระบาดของโควิด และขณะนี้คลี่คลายไปในทิศทางที่ดี และมีการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูให้เมืองทั้งหมดกลับมาเป็นเมืองเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเช่นเดิม เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และปากท้องของทุกภาคส่วน

ซึ่ง ศอ.บต. ได้เสนอแนวทางในการฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ จ.สงขลา ไว้ 3 ข้อด้วยกัน 1.ผลักดันให้ จ.สงขลา เป็นเขตปลอดภาษี หรือ “ดิวตี้ฟรีโซน” 2.ให้สถานบันเทิงเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และ 3.การสร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอก กลับมาทำธุรกิจและท่องเที่ยวใน จ.สงขลาอีกครั้ง ซึ่งในที่ประชุมได้มีการให้ข้อคิดเห็น และเห็นด้วยกับทั้ง 3 แนวทาง แต่ยังมีประเด็นปัญหาที่ ศอ.บต.ต้อง ผลักดันให้รัฐบาลแก้ปัญหาให้ตรงจุด เช่นเรื่องของ เงินกู้ดอดเบี้ยต่ำ ที่ สถาบันการเงินให้กู้แต่กับกลุ่มทุนที่ไม่เสี่ยง แต่ปฏิเสธในการให้กู้กับผู้นำธุรกิจ เอสเอ็มอี และ ชาวบ้านที่ค้าขายเล็กๆ และประชาชนทั่วไป และรัฐบาลไม่ควรที่จะกลับมาเก็บภาษีที่ดิน ภาษีต่างๆ ในขณะที่ ปัญหาต่างๆเพิ่งจะคลี่คลาย

มีการนำเสนอว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ของ อ.หาดใหญ่ อำเภอเมือง และ เมืองชายแดนอย่างด่านนอก และ ปาดังเบซาร์ มีความต่างกัน จะใช้นโยบายเดียวกันไม่ได้ อย่าง อ.เมือง ต้องขายความเก่า หาดใหญ่ขายความทันสมัย บันเทิง และ ด่านนอก ต้องมองถึงนักท่องเที่ยวที่เป็นเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียเป็นสำคัญ และไม่ว่าอย่างไร จะมองเฉพาะเรื่องธุรกิจการค้า การบันเทิงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูที่ภาพรวม เช่นอาชีพเกษตรกร ประมง และอื่นๆ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ถ้าอาชีพเหล่านี้มีปัญหา ไม่มีกำลังซื้อ การที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นตามที่ต้องการเห็นก็เป็นไปได้อยาก

นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล เลขานุการคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นผู้สรุปการประชุมในครั้งนี้ กล่าวว่า เห็นด้วยในการที่จะฟื้นหาดใหญ่แบบเฉพาะหน้าด้วยการเปิดสถานบริการ ไม่ต้อง 24 ชั่วโมง แต่ให้อนุญาตให้เปิดได้ถึงตี 4 อาจจะทำให้หาดใหญ่ฟื้นคืนชีพได้ เพราะในอดีตหาดใหญ่รุ่งเรืองเติบโตจากสถานบันเทิง ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่เดินทางมาเที่ยวในยามราตรี ทุกวันนี้สถานบันเทิงส่วนใหญ่ ในหาดใหญ่ ใน สงขลา ก็เปิดเกินเวลาที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว โดยการจ่ายส่วยให้เจ้าหน้าที่ ถ้าเปิดได้ถึงตี 4 จะได้ไม่ต้องทำผิดกฎหมาย และไม่ต้องจ่ายส่วยให้เจ้าหน้าที่ แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการค้ามนุษย์ และเรื่องศีลธรรมให้มาก ต้องมีการป้องกันในเรื่องนี้

ในส่วนเรื่อง “ดิวตี้ฟรีโซน” เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ต้องมีเรื่องกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องหลายเรื่อง ซึ่งเคยพูดกันมากว่า 10 แล้ว แต่ไม่ได้ทำอย่างจริงจัง ในเรื่องของความเชื่อมั่น ในพื้นที่ จ.สงขลา ยกเว้น 4 อำเภอ ไม่น่าจะมีปัญหา ซึ่งการสร้างความเชื่อมั่น เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก ที่ยากกว่าคือการฟื้นฟูเมืองชายแดนอย่าง “ด่านนอก” อ.สะเดา เมืองเศรษฐกิจชายแดนไทย-มาเลเซีย เพราะเมืองนี้เกิดขึ้นแบบไร้แบบแผน และเติบโตด้วยธุรกิจผิดกฎหมาย มีปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ และผลประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ และเป็นเมืองที่ต้องพึ่งพาชาวมาเลเซียมากกว่าคนในพื้นที่ ซึ่งการฟื้นฟูเมืองเศรษฐกิจเมืองนี้ต้องให้เจ้าของธุรกิจ นักลงทุน ในพื้นที่ มีส่วนในการเสนอความคิดเห็นด้วย จึงจะสามารถหาแนวทางในการฟื้นฟู

สำหรับหาดใหญ่ ในระยะยาวต้องมีการสร้างจุดขาย เพราะหาดใหญ่ในอดีตโตมาจากสินค้าหนีภาษี เรื่อง โสเภณี ไม่ได้โตจากการท่องเที่ยว หาดสวย น้ำใส ซึ่งเป็นการเติมโตที่พึ่งพิงชาวมาเลเซีย เป็นความรุ่งเรื่องเมื่อ 40 ปีก่อน ที่วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว แม้แต่ภูมิทัศของธุรกิจการค้าก็เปลี่ยน แต่คนส่วนหนึ่งของหาดใหญ่ยังไม่เปลี่ยน ยังอยู่กับอดีต และยังคาดหวังว่าหาดใหญ่จะฟื้นด้วยชาวมาเลเซีย

หาดใหญ่วันนี้ไม่มีจุดขาย หากไม่มีการสร้างจุดขายใหม่ขึ้นมา หาดใหญ่ก็จะเป็นเมืองผ่าน ซึ่งการเป็น เมืองผ่าน ก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรกับการเป็นเมืองผ่าน และ เจ้าของธุรกิจรุ่นเก่าๆ ยังมีอิทธิพลในหาดใหญ่ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเองตามภูมิทัศน์ทางการค้าที่เปลี่ยนไปแล้ว จริงอยู่ องค์กรต่างๆ ที่เป็นของเอกชน มีการเปลี่ยนผู้นำเป็น คนรุ่นใหม่ แต่ถ้า เจ้าของธุรกิจ ไม่เชื่อ ไม่ฟัง ไม่ให้ความร่วมมือ การขับเคลื่อนองค์กรก็เป็นไปยาก และที่สำคัญ ราชการคือ ปัญหาใหญ่ของการเปลี่ยนแปลง

ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการนำ รายการสนธิทอล์กที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็น "หาดใหญ่ตายแล้ว" และ "ใครทำให้หาดใหญ่ตาย" มาเปิดให้ผู้เข้าประชุมได้รับฟังข้อมูลที่มีการนำไปวิพากษ์วิจารณ์ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คุมเข้ม 10 วันสุดท้ายเดือนรอมฎอน หน่วยข่าวจับตาก่อเหตุซ้ำป่วนชายแดนใต้

ที่ด่านตรวจไกรลาศ หน้าที่ว่าการอำเภอเบตง จ.ยะลา นายอมร ชุ่มช่วย นายอำเภอเบตง อำนวยการสั่งการให้กำลังเจ้าหน้าที่ ตำรวจ และฝ่ายปกครอง เพิ่มมาตรการตรวจสอบ ค้นหารถยนต์ รถจักรยานยนต์ รวมทั้งบุคคลเป้าหมายอย่างเข้มงวด

คืบหน้าเหตุป่วนหลายจุดเดือนรอมฎอน คนร้ายมุ่งทำลายเศรษฐกิจในพื้นที่ จชต.

จากเหตุการณ์ คนร้ายกลุ่มใหญ่ก่อกวนหลายจุด ในเขตจังหวัดปัตตานี, จ.ยะลา, จ.นราธิวาส และจ.สงขลา สำหรับ จังหวัดปัตตานี เกิดเหตุมากที่สุด กระจายทั้ง 10 อำเภอ จำนวน 20 จุด ล่าสุดผวจ.ปัตตานี ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบ ความเสียหาย เยี่ยมญาติกรณี

นายกฯ สั่งตรวจสอบสถานการณ์ชายแดนใต้ พร้อมทำความเข้าใจประชาชนในพื้นที่

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ต่อสถานการณ์ความไม่สงบภาคใต้ที่เกิดขึ้น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งการให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตาม ตรวจสอบสถานการณ์อย่างเร่งด่วน อย่างต่อเนื่อง

'เศรษฐา' ต่อสายตรง 'อันวาร์' ช่วยดับไฟใต้!

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวถึงกรณีที่สั่งการให้พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นที่ไป

กอ.รมน. สรุปเหตุป่วนชายแดนใต้ 40 จุด สร้างสถานการณ์ความไม่สงบเดือนรอมฎอน

กอ.รมน. ภาค4 ส่วนหน้า ได้สรุปเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งเกิดเหตุ ก่อกวนหลายจุด ทั้งในเขตจังหวัดปัตตานี, จังหวัดยะลา, จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา

'กอ.รมน.ภาค 4 สน.' สรุปป่วนใต้เกือบ 40 จุด ครบรอบ 20 ปี ตากใบ เสียชีวิต 1 ราย

'โฆษกกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า' เผยป่วนชายแดนใต้พุ่ง 30 กว่าจุด เชื่อสร้างสถานการณ์ช่วงครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ตากใบตามปฏิทินอิสลาม รับเจ้าหน้าที่ทำงานยากขึ้น พบผู้ก่อเหตุหน้าใหม่