
19 ก.ย. 2565 – ที่ จ.ชัยนาท จากการที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าในช่วงวันที่ 21 – 24 กันยายนนี้ จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำเหนือจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และไหลมาสมทบกับแม่น้ำสะเเกกรัง และลำน้ำสาขา เข้าสู่บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพิ่มมากขึ้น สำนักงานชลประทานที่ 12 จ.ชัยนาท จึงได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จากอัตรา 1,948 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 1,989 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อพร่องน้ำเหนือเขื่อน รองรับปริมาณน้ำเหนือและน้ำฝนที่จะตกในช่วงสัปดาห์นี้
โดยสถานการณ์น้ำเจ้าพระยา วันนี้ น้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2 จ.นครสวรรค์ มีปริมาณ 2,012 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 12 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณ 2,149 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน (18 ก.ย.) 36 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำระบายท้ายเขื่อน 1,989 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 41 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน ที่ อ.เมืองชัยนาท ลดลง 9 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 16.33 เมตร (รทก.) ระดับน้ำท้ายเขื่อนที่ อ.สรรพยา สูงขึ้น 12 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 14.45 เมตร(รทก) ต่ำกว่าตลิ่ง 1 เมตร 89 เซนติเมตร
ทั้งนี้การเพิ่มระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตรา 1,989 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้มีน้ำล้นตลิ่ง เข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบางจุด ในพื้นที่ ต.หาดอาษา อ.สรรพยา น้ำเริ่มเข้าท่วมใต้ถุนบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ติดริมแม่น้ำ แต่ยังไม่ส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่ ชาวบ้านยังอาศัยอยู่ในบ้าน และยังเดินทางเข้าออกบ้านได้ปกติ ยังไม่ต้องใช้เรือหรือเดินลุยน้ำ แต่ก็นำเรือออกมาเตรียมพร้อมไว้ใช้งานแล้ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 6 อัปเดตพื้นที่เสี่ยง 10 จังหวัดภาคตะวันออก-ภาคใต้ฝั่งตะวันตกเจอฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก ฉบับที่ 6 มีผลกระทบถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566 โดยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง
กรมชลฯเติมน้ำในอ่างประแสร์ ป้องกันฝนขาดช่วงกระทบเศรษฐกิจภาคตะวันออก
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทาน ได้วางแผนป้องกันและบรรเทาสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อปัญหาขาดแคลนน้ำ
อุตุฯ เตือนฝนถล่ม 36 จังหวัด คลื่นสูง 2-3 เมตร
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ชาวกรุงพกร่ม 'กทม.' เตือนกรุงเทพมีฝนฟ้าคะนอง 70% ของพื้นที่
กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ วันที่ 30 พฤษภาคม 2566
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 9 อัปเดตพื้นที่ฝนถล่มหนักถึง 30 พ.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา เผยแพร่ประกาศเรื่อง "ฝนตกหนัก-หนักมาก บริเวณพื้นที่ประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน" ฉบับที่ 9 มีผลกระทบถึงวันที่ 30 พ.ค.นี้ โดยระบุว่า