ชาวบ้านค้านผนวกป่าจิตวิญญาณ 2.4 ไร่ เป็นเขตอุทยานฯ ร้อง 'บิ๊กป้อม' ยึดหลักมีส่วนร่วม

ชาวปกาเกอะญอ 3 หมู่บ้านชุมนุมค้านผนวกป่าจิตวิญญาณ 2.4 หมื่นไร่เป็นเขตอุทยานฯ ยื่นหนังสือถึง “บิ๊กป้อม” วอนยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน หวั่นอุทยานเบี้ยวข้อตกลง

11 ตุลาคม 2565 - ชาวบ้านใน 3 หมู่บ้าน (8 หย่อมบ้าน) บนดอยอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ซึ่ง ส่วนใหญ่มีเชื้อสายปกาเกอะญอ และมีภูมิลำเนาอยู่กับป่ามาช้านาน ได้เดินทางมายังที่ว่าการอำเภอสะเมิง เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและอีก 4 หน่วยงาน ผ่านายณฐกร ภัทรวนนท์ นายอำเภอสะเมิง เพื่อยืนยันขอให้กรมอุทยานแห่งชาติ กันแนวเขตการเตรียมประกาศอุทานแห่งชาติออบขาน ออกจากพื้นที่ชุมชนบ้านแม่ลานคำและบ้านป่าคา ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง

ทั้งนี้ในหนังสือระบุว่า ชุมชนบ้านแม่ลานคำ หมู่ 6 และบ้านป่าคา หมู่ 11 ตำบลสะเมิงใต้ ในนามของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และสมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ได้ขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขานทับพื้นที่ชุมชน จำนวน 24,513 ไร่ ซึ่งทับในพื้นที่ป่าชุมชนและพื้นที่ทำกินของชุมชนที่ใช้ประโยชน์ตามวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มาอย่างยาวนาน โดยชุมชนเห็นว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อหลักสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ สร้างความไม่เป็นธรรมต่อชุมชน และขัดต่อการดำรงวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนที่ได้รับการคุ้มครองตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553

ในหนังสือระบุว่า ระหว่างวันที่ 16-28 ตุลาคม 2562 ตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่บ้านแม่ลานคำ-บ้านป่าคา และอุทยานแห่งขาติออบขาน (เตรียมการ) ได้มีการดำเนินการร่วมกันเดินสำรวจพื้นที่การใช้ประโยชน์ของชุมชนตามวิถีดั้งเดิมที่จะถูกทับซ้อนจากการเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติ ออบขาน (เตรียมการ) จนได้ข้อสรุปเบื้องต้นร่วมกันว่า พบการใช้ประโยชน์ตามการเดินสำรวจร่วมกันในพื้นที่จิตวิญญาณกว่า 368 จุด กระจายรูปแบบการใช้ประโยชน์ทั้งพืชสมุนไพร เก็บหาของป่าตามฤดูกาล เลี้ยงสัตว์ตามวิถีชีวิตและพื้นที่พิธีกรรมทางความเชื่อบรรพบุรุษดั้งเดิม จึงทำให้เห็นว่าข้อเท็จจริงชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่โดยอาศัย พึ่งพิง เกื้อกูลรักษาธรรมชาติควบคู่กับการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนาน เป็นข้อเท็จจริงและข้อสรุปเหตุผลที่จะนำไปสู่การขอให้กันพื้นที่ชุมชนออกจากการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งขาติออบขาน และให้ชุมชนได้บริหารจัดการที่ดินภายใต้สิทธิชุมชนในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากร

ในหนังสือระบุว่า จนเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 ชุมชนบ้านแม่ลานคำ และบ้านป่าคาได้รับหนังสือจากผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ในการเชิญชวนรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้องและประชาชนในการกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติออบขาน จังหวัดเชียงใหม่ โดยจะจัดขึ้นที่อำเภอสะเมิง ในวันที่ 18 ตุลาคม 2565 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ที่ว่าการอำเภอสะเมิง ซึ่งชุมชนเกิดความกังวลใจ เล็งเห็นว่าจะไม่ทำตามข้อเสนอของชุมชน ที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาที่มีข้อเท็จจริงปรากฏบิดเบือนไป


หนังสือได้ระบุข้อเสนอดังนี้ 1.กระบวนการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้องและประชาชนในการกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติออบขาน ต้องนำปัญหาข้อเท็จจริงในระดับพื้นที่ที่ได้ข้อสรุปเพื่อนำไปประกอบในการรับฟังความเห็นอย่างรอบด้าน และยืนอยู่บนหลักการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ทั้งการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วม การเปิดพื้นที่ในการนำเสนอข้อเท็จจริงและนำไปสู่การสรุปที่ตรงประเด็นไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง

2.ชุมชนขอยืนยันให้กันพื้นที่ออกจาก การเตรียมประกาศเขตอุทยานฯ ออบขาน ที่จะทับซ้อนพื้นที่ออกจากชุมชน จำนวน 24,513 ไร่ 3.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้หลักการนำไปปฏิบัติตามแนวทางการแก้ไขปัญหา ตามมติ ครม. 3 สิงหาคม 2553 และแนวทางการยกระดับรูปแบบโฉนดชุมชน 4.ชุมชนยืนยันแนวทางการแก้ไขปัญหารูปแบบโฉนดชุมชน ภายใต้ มติ ครม. 1 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม จำนวน 15 กรณี 5.ขอให้สนับสนุนการเข้าถึงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ได้แก่ น้ำ ไฟ ถนนและคุณภาพชีวิตราษฎร ภายใต้มติ ครม 1 กุมภาพันธ์ 2565

พะตีตาแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ ปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำทางจิตวิญญาณปกาเกอะญอบ้านสบลาน กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ชาวบ้าน 3 หมู่บ้าน ที่จะได้รับผลกระทบจากการประกาศแนวเขตของอุทยานแห่งชาติออบขาน ได้ทำประชาคมหมู่บ้าน โดยทั้งหมดมีมติร่วมกันว่าไม่ต้องการให้พื้นที่ป่าจิตวิญญาณและพื้นที่ลุ่มน้ำขานเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานฯ เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านร่วมกันดูแลและรักษาป่ามาเป็นอย่างดี ป่ามีความอุดมสมูรณ์ เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญ

ด้านนายณฐกร ภัทรวนนท์ นายอำเภอสะเมิง ได้รับหนังสือจากชาวบ้าน และกล่าวว่า ทางอำเภอขอรับเรื่องไว้ และจะประสานงานไปยังอุทยานแห่งชาติออบขาน ขอดูรายละเอียดในหนังสือก่อนแล้วจะส่งต่อไปยังหน่วยงาน ตนเป็นประธานในที่ประชุม แต่อำนาจหน้าที่นั้นอยู่ที่อุทยานแห่งชาติออบขาน ส่วนชาวบ้านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ย้ำว่าเป็นการประชุม ไม่ใช่การชี้ขาด ต้องว่าไปตามขั้นตอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เทพไท' ผสมโรง! เอกสาร 'บิ๊กโจ๊ก' ประจาน ระบอบทักษิณ-ยุคคสช. องค์กรอิสระที่ไม่อิสระจริง

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช กองเชียร์พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กว่า จากระบอบทักษิณ ถึงยุค คสช. องค์กรอิสร

'ประวิตร' ยันไม่รู้จัก 'สุชาติ' กรรมการป.ป.ช. เป็นการส่วนตัว หลังโดนบิ๊กโจ๊กโยนระเบิดใส่

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ปฏิเสธไม่ทราบกรณีที่มีการเผยแพร่เอกสารคัดค้านการปฏิบัติหน้ากรรมการป.ป.ช. และขอให้ตรวจสอบพ

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

ผวาฮีตสโตรก! 'สาธารณสุขเชียงใหม่' เตือน ปชช. 25 อำเภอ

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า อากาศในช่วงนี้อุณหภูมิสูงร้อนอบอ้าวจากอิทธิพลความกดอากาศต่อเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน

พายุฤดูร้อนถล่ม 4 จังหวัดภาคเหนือ บ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้ใหญ่โค่นล้มเพียบ

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับรายงานจาก สอต.พะเยา สอต.เชียงใหม่ สอต.แพร่ และ สอต.เชียงราย เกี่ยวกับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน วาตภัย เหตุการณ์เกิดเมื่อวันที่ 19 เม.ย.67 ในพื้นที่ ดังนี้

'ธรรมนัส' เชื่อ 'บิ๊กป้อม' มีชื่อสำรอง หาก 'ไผ่ ลิกค์' คุณสมบัติไม่ผ่านเป็นรมต.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) พรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอชื่อต่อนายกรัฐมนตรีแล้วหรือไม่ กับโควตาที่ยังว่างอยู่ ว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรียังไม่ได้ส่งสัญญาณอะไร