
ตั้งศูนย์อำนวยการฝนหลวงช่วยจังหวัดชุมพร ประสบวิกฤติภัยแล้งรุนแรง ทุเรียนขาดน้ำทะยอยยืนต้นตายเสียหายแล้วกว่า 100 ล้าน
28 พ.ค.2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดชุมพรประสบภัยแล้งขั้นวิกฤติ หลังไม่ตกฝนทิ้งช่วงนานกว่า 3 เดือน อากาศร้อนจัด น้ำในลำคลองแห้งขอด แม้แต่ในสระน้ำของเกษตรกรก็ไม่มีเหลือ จนถึงขณะนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง พืชผลทางการเกษตรเสียหาย โดยเฉพาะทุเรียนที่ขาดน้ำมานานต่อเนื่อง ทำให้ผลร่วง ใบแห้ง ทยอยยืนต้นตายเป็นจำมากกว่า มีความเสียหายมากกว่า 100 ล้านบาทแล้ว
สำหรับจังหวัดชุมพรมีพื้นที่ทั้งหมด 3.75 ล้านไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 2.56 ล้านไร่ เป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่มีชื่อเสียงของประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด และเป็นศูนย์กลางการตลาดทุเรียนของภาคใต้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดชุมพร ในปี 2563 มีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจำปีเท่ากับ 125,364 ล้านบาท เป็นลำดับที่ 5 ของภาคใต้ และลำดับที่ 23 ของประเทศ มีการผลิตภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด โดยเฉพาะการผลิตทุเรียน ปาล์มน้ำมันและยางพารา มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวเท่ากับ 250,823 บาทต่อคนต่อปี เป็นลำดับที่ 1 ของภาคใต้ และลำดับที่ 12 ของประเทศ
ด้านสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร รายงานว่า มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในปี 2566 จำนวน 261,296 ไร่ คาดว่าจะเสียหายจำนวน 69,831 ไร่ และหากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงยังคงดำเนินต่อไปคาดว่าพื้นที่การเกษตรจะยิ่งได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง
นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่าจากปัญหาฝนทิ้งช่วงนานจนเกิดภาวะภัยแล้งส่งผลกระทบในทุกพื้นที่ของจังหวัดชุมพร ตนจึงได้ประสานไปยังอดิบดีกรมฝนหลวง เพื่อปฎิบัติการฝนหลวงขึ้นที่จังหวัดชุมพร ซึ่งท่านได้มอบหมายให้ นายสินชัย พึ่งตำบล ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ เข้ามาดำเนินการตั้งศูนย์อำนวยการฝนหลวงที่ท่าอากาศยานชุมพร ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดชุมพร โดยจะเริ่มบินตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป ใช้เครื่องบิน 2 ลำ และจะทำจนกว่าจังหวัดชุมพรจะพ้นวิกฤตภัยแล้ง ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ใช้เครื่องของหน่วยทหารที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และหน่วยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเมื่อขึ้นปฎิบัติการแต่ละครั้งจะต้องไปกลับและเดิมสารขึ้นทำฝนหลวงในพื้นที่ตั้งของหน่วยทำให้เสียเวลา
นายสินชัย พึ่งตำบล ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ กล่าวว่าการทำฝนหลวงหรือฝนเทียมนั้นมีปัจจัยองค์ประกอบหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นความชื้น กำลังลม และข้อจำกัดของพื้นที่โดยเฉพาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นพื้นที่แคบ เมื่อทำฝนเทียมแล้วคนชอบพูดว่าฝนไปตกในทะเลหมด ซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เราจึงต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อทำให้ฝนตกในพื้นที่ให้ได้ เพื่อท้องฟ้าจะได้มีความชื้น และจะทำฝนเทียมง่ายขึ้นในวันต่อๆไปด้วย โดยห้วงระยะเวลาในการทำฝนเทียมว่า ได้รับมอบหมายจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและอธิบบดีกรมฝนหลวงว่าให้อยู่ปฏิบัติการทำฝนหลวงจนกว่าจังหวัดชุมพร ฝนจะตกและพ้นวิกฤติภัยแล้ง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดับเพลิงระดมช่วย 'น้องขนุน' พลัดตกบ่อน้ำลึก 5 เมตร
เมื่อเวลา 01.00 น. ศูนย์วิทยุ หน่วยป้องและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลเขตรอุดมศักดิ์ ได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือจาก นางสุนันท์ จันทรศรี อายุ 70 ปี ว่าสัตว์เลี้ยง สุนัขพันธุ์ไทย เพศผู้ อายุกว่า 10 ปี
ชุมพร คุมเข้มล้งทุเรียน หลังถูกจีนตีกลับ 29 ตู้ กว่า 300 ตัน เจอหนอนเจาะเมล็ด
ชุมพรคุมเข้มล้งทุเรียน หลังถูกจีนตีกลับ 29 ตู้ กว่า 300 ตัน เจอหนอนเจาะเมล็ด ตรวจสอบพบผู้ประกอบการบางแห่งซื้อผลผลิตราคาถูกจากชายแดนใต้มาผสมปิดตู้ส่งออก
อุตุฯ อัปเดตเส้นทาง 'ไต้ฝุ่น LAN - พายุขนุน'
กรมอุตุนิยมวิทยาอัปเดตสถานการณ์พายุในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยระบุว่า เช้าวันนี้ (11 ส.ค.) พายุ "ขนุน" บริเวณคาบสมุทรเกาหลี ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว
หนุ่มดวงซวย จอดรถยืนฉี่ริมป่า โดนฝูงลิงกังรุมกัดแผลเหวอะ กลิ้งตกเหวปางตาย
ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก ชุดกู้ชีพกู้ภัยสายชล เขตเขาทะลุ มูลนิธิชุมพรการกุศลสงเคราะห์ ว่าเมื่อช่วงสายของวันนี้ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.นาสัก อ.สวี จ.ชุมพร ว่ามีผู้ประสบเหตุถูกสัตว์ป่าทำร้ายจนตกเหว ริมถนนสายบางแก้วหมู่ 6 ตำบลเขาทะลุ อ.สวี จ.ชุมพร จึงรุดไปทำการตรวจสอบเพื่อช่วยเหลือ
'เขื่อนอุบลรัตน์' ปรับการระบายน้ำ รับปรากฎการณ์ 'เอลนีโญ'
นายสมปอง ฉ่ำกระมล ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 6 เปิดเผยว่า สำนักงานชลประทานที่ 6 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ลุ่มน้ำชี