สภาทนายความ ยื่นมือช่วยเด็ก 126 คนถูกผลักดันกลับพม่า

สภาทนายความยื่นมือช่วยเหลือเด็ก 126 คนถูกผลักดันกลับพม่า เตรียมแถลงข่าวชี้ผิดหลักสิทธิมนุษยชน ผอ.รร.ไทยรัฐ 6 เผยเด็กถูกส่งกลับเกือบหมดแล้ว-เหลือ 4 คน เป็นห่วงเสียโอกาสการศึกษา

24 ก.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีที่หน่วยงานราชการไทยได้ร่วมกันผลักดันเด็กนักเรียนไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฎร์ 126 คน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง กลับประเทศพม่า ท่ามกลางเสียงทักท้วงถึงเรื่องสิทธิการศึกษาเนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ต้องออกจากการเรียนกลางคันและการคุ้มครองเด็กเนื่องจากในพม่ายังเกิดการสู้รบอาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยขึ้นกับเด็กเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีการดำเนินคดีกับกรรมการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 จำนวน 5 คน ล่าสุดสภาทนายความได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องนี้ โดย ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าสถานการณ์ภายในประเทศพม่ายังมีการสู้รบกันอยู่ การส่งคนกลับภูมิลำเนาด้วยการผลักดันให้กลับอาจส่อไปในทางผิดหลักสิทธิมนุษชน

“ส่วนคดีที่กรรมการโรงเรียนถูกตั้งข้อหานั้น ในวันที่ 25 กรกฎาคม สภาทนายความจะแถลงข่าว เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อดูว่าเด็กนักเรียนถูกส่งกลับหมด ทั้ง 126 คนหรือว่าถูกส่งกลับไปบางส่วน หรือถ้ายังไม่ถูกส่งกลับก็จะต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษชน ผมยังไม่ทราบรายละเอียดว่ามีการส่งกลับแบบไหนอย่างไร” นายกสภาทนายความฯ กล่าว

ด้านนางกัลยา ทาสม ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 จ.อ่างทอง กล่าวว่า ขณะนี้เด็กนักเรียน 126 คน ถูกส่งกลับไปเกือบหมดแล้วเหลือเพียง 4 คนที่ไม่มีพ่อแม่มารับ โดยทั้งหมดอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 6-14 ปี

“ตอนเกิดเรื่องต้นสังกัดได้คุยกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้เข้ามาดูแล แต่คงมีการสื่อสารที่ผิดพลาด พอสำนักงานเขตพื้นที่ฯ เห็นว่าเด็กพวกนี้ไม่มีเอกสาร เราติดต่อกับพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเด็ก” นางกัลยา กล่าว

ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 กล่าวว่า ตั้งแต่มีคำสั่งให้ตนพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่และห้ามเข้าโรงเรียน ห้ามพบเด็กๆ ทำให้ต้องติดต่อขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือ และตอนนี้ได้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้ามาร่วมดูแลด้วย

“พอถูกแจ้งข้อกล่าวหา เรารู้สึกตกใจ เพราะได้ทำถูกต้องตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด พอเกิดเรื่องทำให้เด็กๆ ต้องขาดโอกาสในการได้รับการศึกษา เด็กทั้ง 126 คนไม่ใช่เด็กที่มาใหม่ทั้งหมด มีเด็กที่อยู่ในระบบการศึกษามาก่อนแล้ว 54 คน อีก 72 คนเพิ่งมาสมัครเรียน ตอนนี้เป็นกังวลใจมากว่าทำให้เด็กเสียโอกาส ต้องถูกผลักดันกลับ แล้วโอกาสที่เด็กจะได้กลับมาเข้าสู่ระบบการศึกษามีหรือไม่ มากน้อยอย่างไร เชื่อว่าทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นอย่างไร มันแย่ มันบาป” นางกัลยา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา

นายกฯเศรษฐา กังวลสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ใช้เวลาช่วงวันหยุดติดตามงาน รวมถึงสถานการณ์สู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา พร้อมทวิตข้อความผ่าน x ว่า “ผมติดตาม