ค้านตั้งอุทยานถ้ำผาไท จ.ลำปาง ยันกะเหรี่ยงอยู่ก่อนนับร้อยปี แนะเปิดให้ชุมชนมีส่วนร่วมแท้จริง

แนะ อส.เปิดให้ชุมชนมีส่วนร่วมแท้จริง สส.ก้าวไกลยันกะเหรี่ยงป่าถ้ำผาไทอยู่ก่อนหน่วยงานป่าไม้-อุทยานฯ ผู้ใหญ่บ้านจวกทางการให้ร้ายชุมชนหวังประกาศเขต-10 หมู่บ้านอยู่กับป่าเตรียมระดมพลคัดค้านแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาเหตุไม่ทำตามข้อตกลง

1 ก.ย.2566 - นายมานพ คีรีภูวดล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช(อส.) เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ในการกำหนดเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท (เตรียมการ) จังหวัดลำปาง เพื่อเตรียมการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 448,933.43 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5 อำเภอ 13 ตำบล ของจังหวัดลำปาง ว่า กลไกการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนมีความสำคัญ รวมทั้งกลไกขององค์กรส่วนท้องถิ่นทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ต้องมีการจัดรับฟังความคิดเห็นให้ชุมชนมีส่วนร่วม

“ผมคิดว่าเมื่อประชาชนเองก็ไม่ได้คัดค้านการประกาศเขตอุทยานพื้นที่อนุรักษ์ ส่วนสำคัญคือว่าเมื่อมีการประกาศกระบวนการทำแผนที่แนวเขตที่จะต้องกันพื้นที่ชุมชนออกมา ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน หรือที่ประชาขนใช้ร่วมกัน เช่น ป่าชุมชนอนุรักษ์ ป่าชุมชนใช้สอย พื้นที่ต้องถูกกันออก ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญ หน่วยงานจะประกาศเขตอนุรักษ์เพิ่มเติม ทุกคนก็อยากอนุรักษ์อยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรไม่ให้ทับซ้อนกับพื้นที่บริหารจัดการของชุมชน นั่นคือกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการต่างๆจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก” นายมานพ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามถึงประเด็นชาวกะเหรี่ยงอยู่ในพื้นที่ประกาศของอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท (เตรียมการ) และการใช้แผนที่อาจไม่เป็นธรรม ส.ส.แบบบัญชีพรรคก้าวไกล กล่าวว่า ที่บอกพี่น้องชาวกะเหรี่ยงอยู่ในพื้นที่ถ้ำผาไท ต้องเปลี่ยนคำถามใหม่ เนื่องจากอุทยานกำลังจะมาทับพื้นที่ของพี่น้องชาวกะเหรี่ยง

“ชาวกะเหรี่ยงอยู่มาก่อน อุทยานฯกำลังจะมาทับที่ของพี่น้อง กรณีกะเหรี่ยงบ้านกลาง อ.แม่เมาะ อยู่มาร้อยกว่าปีก่อนกฎหมายใดๆ ก่อนป่าไม้จะประกาศด้วยซ้ำไป สิ่งสำคัญก็ต้องกลับมาหลักการเดิมคือการประกาศพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ ชุมชนเห็นร่วมอยู่แล้วที่จะมีการอนุรักษ์ แต่จะทำอย่างไรให้พื้นที่ที่เขาดูแลมาร้อยๆปีและมันดีอยู่แล้ว ประชาชนก็อยากจะออกความคิดเห็นของตัวเอง กันพื้นที่ทำกินที่อยู่อาศัยออก ทำให้ชัดเจนว่าพื้นที่อุทยานอยู่ตรงไหน พื้นที่ประชาชนอยู่ตรงไหน แต่ถ้าประกาศทับพื้นที่ประชาชน ผมคิดว่าประชาชนมีเหตุผลที่ออกมาคัดค้านยืนหยัดในหลักสิทธิของชุมชน” นายมานพ กล่าว

นายสมชาต รักษ์สองพลู ผู้ใหญ่บ้านบ้านกลาง หมู่ 5 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตอุทยานฯในครั้งนี้ กล่าวว่าในวันที่ 2 กันยายน ชาวบ้านกว่า 10 หมู่บ้านจะร่วมหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรกับกรณีที่อุทยานฯเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น เพราะการที่กรมอุทยานฯระบุเหตุผลว่าต้องรีบประกาศอุทยานฯเนื่องจากมีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่านั้น เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและโยนควาผิดให้ชาวบ้านเพื่อทำให้สังคมเข้าใจว่าชาวบ้านดูแดลเป่ากันเองไม่ได้

“เราดูแลป่าไม้กันมานับร้อยๆปี จนเหลือป่าผืนใหญ่ก่อนที่อุทยานฯจะเข้ามาเสียอีก ผมถามว่าการที่อุทยานฯไปประกาศว่ามีการลักลอบตัดไม้ แล้วทำไมท่านถึงไม่จัดการ ผมเห็นในพื้นที่อุทยานฯอื่นๆที่ประกาศเป็นอุทยานฯไปแล้วก็มีการลักลอบตัดไม้และการลักลอบค้าสัตว์ป่า เพราะฉะนั้นอย่ามาบ่ายเบียงเพื่อให้สังคมเข้าใจผิด เพราะแท้ที่จริงแล้วมันก็แค่ข้ออ้างที่พวกคุณอยากเข้ามาควบคุมและจัดตั้งอุทยานฯ การใช้ข้ออ้างแบบนี้ผมว่ายิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก เพราะให้ร้ายกัน”พ่อหลวงบ้านกลาง กล่าว

นายสมชาติกล่าวว่า ประเด็นที่ชาวบ้านติดใจมากก็คือในแผนที่ที่จะใช้แนบท้ายประกาศกฤษฏีกา เพราะแผนที่ฉบับที่อุทยานฯเตรียมประกาศนั้นเป็นคนละฉบับที่เคยตกลงไว้กับชุมชน โดยชุมชนพยายามยืนยันแผนที่ฉบับเมื่อปี 2563 ที่ชาวบ้านหมู่บ้านต่างๆได้ร่วมสำรวจกับอำเภอและอบต.รวมถึงอุทยานฯ แต่ปรากฏว่าอุทยานฯกลับไปใช้แผนที่เก่าเมื่อปี 2542 ซึ่งอุทยานฯทำขึ้นมาเองโดยไม่รับฟังเสียงชาวบ้าน และแผนที่ดังกล่าวทับซ้อนกับพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน รวมทั้งไม่ยอมกันพื้นที่ป่าจิตวิญญาณของชุมชนออก

นายธนากร สิงห์เชื้อ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท (เตรียมการ) กล่าวว่า อุทยานเตรียมการถ้ำผาไทย เตรียมการเพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติตั้งแต่ปี 2532 พื้นที่เดิมที่จะดำเนินการนั้น มี 7.5 แสนไร่ แต่เมื่อลงพื้นที่ เดินสำรวจร่วมกับชาวบ้าน และผู้นำชุมชนต่างๆ เพื่อจะกันพื้นที่ ทั้งเป็นป่าอนุรักษ์ ป่าชุมชน เพื่อเป็นไปตามมาตรา 8 ในพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)อุทยานแห่งชาติแล้ว เหลือพื้นที่ที่จะต้องประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเพียง 4.4 แสนไร่

"สำหรับพื้นที่ทั้งหมด ก็ได้ทำความเข้าใจกับชาวบ้านทั้งหมดแล้ว ส่วนพื้นที่ที่ได้กันออก มี 7 ชุมชน 2 อำเภอ คือ อ.แม่เมาะ กับ อ.งาว ซึ่งเป็นที่อยู่เดิมของกลุ่มชาติพันธุ์หลายหมื่นไร่ ขอเรียนว่าอุทยานไม่ได้มีอคติกับชาวบ้านกลุ่มพื้นที่ใด และพยายามทำความเข้าใจกับทุกกลุ่ม เพื่อให้การประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติครั้งนี้ไม่มีปัญหา และเป็นที่ยอมรับกับทุกฝ่าย"นายธนากร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

ไทยมอบความช่วยเหลือเมียนมา หวังนำร่องทุกกลุ่มกลับสู่โต๊ะเจรจา

นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกองทัพบก สภากาชาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กมธ.ที่ดิน ถกปมพื้นที่พิพาทเขาใหญ่ แฉพบ 10 รายชื่อคนต่างถิ่นส่อได้ที่สปก.

ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายอภิชาติ ศิริสุนทร สส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นประธาน กับกมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ

เปิดทำเนียบ เคลียร์ปมที่ดินพิพาทเขาใหญ่ 'ชัยวัฒน์' ประกาศลั่นจบหล่อไม่ได้ ต้องมีคนผิด

นายจตุพร​ บุรุษ​พัฒน์​ ปลัด​กระทรวง​ทรัพยากร​ธรรมชาติ​และ​สิ่ง​แวดล้อม​ กล่าวว่า​ การประชุมวันนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทุกคนให้ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ ทั้งสองกระทรวงมีเป้าหมายทำงานเพื่อประชาชน ซึ่งในส่วนของกระทรวงทรัพย์ฯ นอกจากดูแลป่าและทะเลแล้วบางส่วน ก็ดูแลพื้นที่ของประชาชน

ส.ป.ก. ยันที่ดินข้อพิพาทเขาใหญ่ ได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย มีสภาพใช้ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่

เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ออกแถลงการโดยระบุว่าสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขอแถลงการเรื่อง กรณีพิพาท ระหว่างแนวเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมากับแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

กรมอุทยานฯ แถลงการณ์ยืนยันแนวเขต 'เขาใหญ่' เป็นไปตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกแถลงการณ์เรื่อง “การจัดทำแผนที่แสดงแนวเขตอุทยานแห่งชาติ” ระบุว่า การกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2562 หรือพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2505 (เดิม)