ย่างก้าว ‘พรรคเล็ก-ธรรมนัส’ ‘น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า’ ปั่น ‘บิ๊กตู่’

ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ก่อน ต่อเนื่องมาต้นสัปดาห์นี้ ความเคลื่อนไหวของบรรดา พรรคเล็ก และ พรรคปัดเศษ ที่มี ส.ส.เพียงคนเดียว ถูกจับตามองอย่างมาก 

โดยเฉพาะการที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา และแกนนำพรรคเศรษฐกิจไทย นัดรับประทานอาหารกลางวันกับบรรดาพรรคเล็ก ที่โรงแรมโกลเดน ทิวลิป ซอฟเฟอริน พระราม 9 เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อจะส่งสัญญาณไปถึงผู้มีอำนาจว่า คนเหล่านี้อยู่ในการปกครองของตนเอง

ขณะที่ในช่วงวันหยุดปรากฏว่า ‘เสี่ยเฮ้ง’ นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน และผู้อำนวยการพรรคพลังประชารัฐ ต่อสายถึงบรรดาพรรคเล็กให้มาร่วมรับประทานอาหารกับ ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในวันที่ 17 มีนาคม ที่สโมสรราชพฤกษ์ สถานที่เดียวกับที่ ‘บิ๊กตู่’ โซ้ยเซตอาหารจีนกับ 4 แกนนำพรรคใหญ่  

แต่พอเช้าวันจันทร์ ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กลับต่อสายหาบรรดาพรรคเล็ก เพื่อแจ้งยกเลิกงานเลี้ยงในวันที่ 17 มีนาคม ที่ ‘บิ๊กตู่’ เป็นเจ้าภาพ พร้อมกับเชิญให้มารับประทานอาหารในเย็นวันเดียวกันกับตนเองแทน  

เรื่องที่เกิดขึ้น คนภายนอกดูราวกับการเปิดศึกชักเย่อพรรคเล็กกัน 

ความเคลื่อนไหวของบรรดาพรรคเล็กเหล่านี้จะไม่ดูน่าสนใจเลย หากไม่มีตัวละครอย่าง ‘ธรรมนัส’ เข้ามาเกี่ยวข้อง 

ลำพัง ‘ธรรมนัส’ กับ ส.ส.รวม 18 เสียง หรือ 16 เสียงที่ใช้ได้จริงของพรรคเศรษฐกิจไทย ทำตัวเป็นหอกข้างแคร่ รัฐบาลยังออกอาการเสียวสันหลัง แต่หาก ‘ธรรมนัส’ สามารถดึงพรรคเล็กออกจากอาณัติรัฐบาลได้ จะทำให้เสียงของรัฐบาลยิ่งปั่นป่วนมากขึ้นไปอีก  

แม้เสียงของรัฐบาลจะมากกว่า แต่จะเป็นภาวะที่ปริ่มมากๆ  

สำหรับพรรคเล็กที่มี ส.ส.เพียง 1 คน ก่อนหน้านี้มีทั้งหมด 12 พรรค แต่ปัจจุบันเหลือ 9 พรรค เพราะมีการยุบตัวเองไปรวมกับพรรคใหญ่จำนวน 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาชนปฏิรูป พรรคประชาธรรมไทย พรรคประชานิยม ที่ย้ายมาอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ   

โดยหนึ่งในคนที่ยุบพรรคมาอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ ปัจจุบันได้ถูกขับออกไปอยู่กับพรรคเศรษฐกิจไทยแล้ว 1 คนคือ พล.ต.ต.ยงยุทธ เทพจำนงค์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

สำหรับ 9 พรรคที่เหลือ ได้แก่ พรรคพลังธรรมใหม่ พรรคประชาภิวัฒน์ พรรคเพื่อชาติไทย พรรคพลังชาติไทย พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคพลเมืองไทย พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคไทรักธรรม พรรคไทยศรีวิไลย์ 

                    จำแนก 9 พรรค ที่มีความสนิทสนมกับ ร.อ.ธรรมนัส มากกว่าพรรคอื่น คือ พรรคประชาธิปไตยใหม่ ของ นายสุรทิน พิจารณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรค ที่ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า ‘จุ๊บจิ๊บ’ น.ส.ธนพร ศรีวิราช ภรรยา ร.อ.ธรรมนัสจะเข้าไปเป็นเลขาธิการพรรค 

พรรคไทรักธรรมของ นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรค ที่ตั้งแต่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เอาผิดคดีอาญาข้อหาเสนอว่าจะให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อจูงใจให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคไทรักธรรม ก็มาใกล้ชิด ร.อ.ธรรมนัส 

อีกคนคือ นายพิเชษฐ สถิรชวาล ที่สนิทกับ ร.อ.ธรรมนัส แต่ปัจจุบันอยู่ภายใต้ชายคาพรรคพลังประชารัฐ จึงต้องทำตามมติพรรคพลังประชารัฐเป็นหลัก แหกคอกไม่ได้ 

ส่วน นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ แยกตัวออกไปนานแล้ว จึงไม่ถูกนับเป็นฝั่งรัฐบาล 

เมื่อคัด 3 เสียงคือ พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคไทรักธรรมที่ ร.อ.ธรรมนัส สั่งการได้ และนายมงคลกิตติ์ออก ก็ยังเหลือพรรคเล็กอีก 6 พรรคที่ยังสนับสนุนรัฐบาล ได้แก่ พรรคพลังธรรมใหม่ พรรคประชาภิวัฒน์ พรรคพลเมืองไทย พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคเพื่อชาติไทย และพรรคพลังชาติไทย 

แม้ใน 6 พรรคนี้จะมีบางคนไปร่วมรับประทานอาหารกับ ร.อ.ธรรมนัส แต่เมื่อถึงเวลาก็จะยกมือให้กับฝ่ายรัฐบาล 

ในขณะที่พรรคเกิน 1 เสียงฝั่งรัฐบาลนั้น พรรคพลังท้องถิ่นไทของ นายชัชวาลล์ คงอุดม ชัดเจนว่าอยู่กับรัฐบาล ขณะที่พรรครักษ์ผืนป่าของ นายดำรง พิเดช ส.ส.บัญชีรายชื่อ 2 เสียง ไม่สามารถเอาแน่เอานอนได้ 

อย่างไรก็ดี ความเคลื่อนไหวที่ไม่ชัดเจนของพรรคเล็กบางพรรคในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความขัดแย้งระหว่าง ‘บิ๊กตู่’ กับ ‘ธรรมนัส’ ที่เปิดช่องให้พรรคเหล่านี้สร้างราคาตัวเอง 

จะเรียกว่า เป็นพรรคที่ได้ประโยชน์ที่สุดจากความขัดแย้งก็ไม่ผิด เพราะยิ่งเสียงของรัฐบาลสุ่มเสี่ยงเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีมูลค่ามากขึ้นเท่านั้น   

พรรคเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องแสดงความชัดเจน เพราะการเป็น ‘เด็กดี’ ไม่ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ต่างกับการทำตัวเป็น ‘เด็กดื้อ’ 

ยิ่งในการประชุมสภาวาระสำคัญ ‘ค่าหัว’ คนเหล่านี้ยิ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่กำลังจะมาถึงในเดือนพฤษภาคม 

และการไปใกล้ชิดกับ ร.อ.ธรรมนัส ที่เป็นหอกข้างแคร่ของรัฐบาล ก็ยิ่งทำให้พวกเขาดูสำคัญ จนอีกฝ่ายต้องการชักเย่อกลับไป 

เช่นกันกับ ร.อ.ธรรมนัส ที่อาศัยความใกล้ชิดกับพรรคเล็กบางพรรค นำช่องว่างที่รัฐบาลไม่เหลียวแล มาปั่นประสาท ‘บิ๊กตู่’   

ต่างคนต่างหวังใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ของอีกฝั่ง ประหนึ่ง น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า  

การเคลื่อนไหวของ ร.อ.ธรรมนัส ก็ดูมีพลัง ในขณะที่พรรคเล็กก็มีกลิ่นตัวที่หอมขึ้น. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขึ้น 'รถไฟฟ้า-รถเมล์' ฟรี 7 วัน! รัฐบาลล้วงงบกลางแก้ฝุ่น PM2.5

นายกฯ สั่งคมนาคม ให้ประชาชนขึ้น 'รถไฟฟ้า - รถขสมก.' ฟรี 7 วัน 25-31 ม.ค. แก้ปัญหา PM 2.5 เตรียมชงครม.ใช้งบกลางชดเชย 140 ล้านบาท พร้อมตั้ง 8 จุตรวจจับควันดำ

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'อำนาจนอกระบบของทักษิณ'

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “อำนาจนอกระบบของทักษิณ" มีเนื้อหา ดังนี้

บี้ 'อิ๊งค์' ปกป้อง 'เอกนัฏ' ล่าไอ้โม่งลงขันเปลี่ยนตัว รมว.อุตสาหกรรม

24 ม.ค. 2568 - นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ปกป้อง เอกนัฏ" โดยระบุว่า ติดตามข่าวการตอบกระทู้ถามสด ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการปิดโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี จ.อุดรธานี ถึงการเลือกปฏิบัติในการรับซื้ออ้อยเผาของ นายธีระชัย แสนแก้ว สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย รู้สึกตกใจกับคำตอบของนายเอกนัฏ ตอนหนึ่งในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่ามีการลงขันจำนวนเงิน 200- 300 ล้านบาท เพื่อย้ายนายเอกนัฎ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สำหรับการเมืองไทย ที่มีกลุ่มทุนอิทธิพลเหนือการเมือง ใช้เงินลงขันด้วยเงินหลักร้อยล้านบาท เพื่อเปลี่ยนตัวผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ขอให้กำลังใจนายเอกนัฎ ในการต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง และควรจะเปิดเผยชื่อตัวการลงทุนย้ายนายเอกนัฎออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี หากไม่สามารถเปิดเผยชื่อต่อสังคมได้ ก็ควรนำเรื่องนี้ไปเรียนให้กับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจในการปรับคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ทราบว่ามีกลุ่มบุคคลหนึ่ง ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือการเมือง สามารถใช้เงินทุนโยกย้ายเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ หากนางสาวแพทองธาร ยังเอาไม่อยู่ เพราะไม่มีอำนาจที่แท้จริง ก็ต้องนำเรื่องนี้ให้ถึงมือของนายทักษิณ ชินวัตร ผู้มีอำนาจทางการเมืองสูงสุด เป็นเจ้าของรัฐบาลตัวจริง และสามารถสั่งการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีได้แต่เพียงผู้เดียว ถ้าหากเรื่องนี้เป็นความจริง นางสาวแพทองธาร จะต้องปกป้องนายเอกนัฎ เพราะการดำเนินนโยบายห้ามไม่ให้โรงงานน้ำตาลรับซื้ออ้อยเผา เป็นมาตรการป้องกันมลพิษ PM 2.5 ตามนโยบายของนางสาวแพทองธาร แต่ถ้าเมื่อนายเอกนัฎได้ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของนางสาวแพทองธารแล้ว แต่ไปสะดุดต่อ นางสาวแพทองธารในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จะต้องรับผิดชอบ และสืบหาตัวไอ้โม่งผู้อยู่เบื้องหลังการลงขัน เพื่อเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีอุตสาหกรรมให้ได้ ขอให้สังคมเรียกร้อง กดดันให้รัฐบาล เปิดโปงขบวนการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีออกมาให้สังคมรับรู้ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้อิทธิพลกลุ่มทุนใดๆ ทั้งสิ้น.

'นายกฯอิ๊งค์' ขอบคุณผู้นำอาร์เมเนีย หนุนเริ่มต้นเจรจา FTA ไทย-ยูเรเชีย

'นายกฯอิ๊งค์' ขอบคุณผู้นำอาร์เมเนีย สนับสนุนเริ่มต้นเจรจา FTA ไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย พร้อมเพิ่มพูนการค้า ดึงศักยภาพ ศก. ร่วมกัน

เลือกตั้งนายก อบจ.1 ก.พ. 47จว.“บ้านใหญ่”กวาดเรียบ

ถึงตอนนี้แม้เหลือเวลาอีกร่วมสัปดาห์เศษๆ แต่แวดวงการเมืองประเมินแล้วมีแนวโน้มสูงที่ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด ในวันเสาร์ที่ 1 ก.พ. ผู้สมัครนายก อบจ.ที่มาจากสาย “บ้านใหญ่-ตระกูลการเมืองประจำจังหวัด” จะได้รับชัยชนะเข้าไปเป็นนายก อบจ.มากที่สุด แนวโน้มเกินครึ่งหนึ่ง

'เท้ง' ลั่น 'อุ๊งอิ๊ง' ไปหาโอกาสใหม่ใน ตปท.ได้แต่ควรแก้ปัญหาในบ้านก่อน

'เท้ง' ชี้ 'นายกฯ' ไปหาโอกาสใหม่ต่างประเทศทำได้ แต่ควรแก้ปัญหาฝุ่นในไทยก่อน เชื่อ ปชช.เรียกร้อง-รอคอยอยู่ เผย 'ปชน.' เตรียมเสนอ มาตรการที่เป็นรูปธรรม หวังรัฐบาลรับไปดำเนินการ