ประหารการเมือง ‘ปารีณา’ โทษจริยธรรมสั่นกันทั้งสภา

การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ อดีต ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีครอบครองที่ สปก.4-01 ใน จ.ราชบุรี โดยไม่มีคุณสมบัติและไม่มีเอกสารสิทธิ 

ถือเป็นการกระทำที่เสื่อมเสียเกียรติ และมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรงข้อ 17 ที่ต้องรักษาชื่อเสียง ตำแหน่งหน้าที่ของ ส.ส. และไม่กระทำการใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์

จึงสั่งให้พ้นตำเเหน่ง ส.ส.ตั้งเเต่วันที่ 25 มี.ค.64 เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง 10 ปี เเละไม่มีสิทธิรับสมัครเลือกตั้ง เเละดำรงตำเเหน่งทางการเมืองตลอดไป ทำให้ ‘เอ๋ ปารีณา’ ไม่สามารถเล่นการเมืองตลอดชีวิต กำลังทำให้นักการเมือง และ ส.ส.หลายคนรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ ไปตามกัน  

นั่นเพราะข้อหาผิดจริยธรรมร้ายแรง ที่ ‘เอ๋ ปารีณา’ ถูกพิพากษา เป็นข้อหาที่ ‘เร็ว’ และ ‘แรง’  

เพราะกระบวนการไต่สวนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จนมาถึงศาลฎีกานั้นใช้เวลาไม่นาน 

จะเห็นว่า คดีครอบครองที่ดิน สปก.ของ ‘เอ๋ ปารีณา’ ใช้เวลาเพียงไม่นาน โดย ป.ป.ช.มีมติชี้มูลเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ขณะที่ศาลฎีกาตัดสินวันที่ 7 เมษายน 2565 ใช้เวลาเพียงปีเศษเท่านั้น  

ขณะที่กรณีที่ดิน ภ.ท.บ.5 ที่ ‘ปารีณา’ ถือครองในบัญชีทรัพย์สิน ได้รับความสนใจในช่วงปี 2562 และถูก ป.ป.ช.รับเรื่องแจ้งข้อกล่าวหาในเดือนกันยายน ปี 2563 

นับตั้งแต่วันที่มีการร้องเรียน ป.ป.ช.ไต่สวน และศาลฎีกามีคำพิพากษา ต้องถือว่าเป็นคดีนักการเมืองที่ใช้เวลารวดเร็วมากเมื่อเทียบกับคดีนักการเมืองอื่นๆ ในอดีต 

ทั้งนี้ สาเหตุที่คดีของ ‘ปารีณา’ ค่อนข้างเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความผิดฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2562 ข้อ 11 และข้อ 17 นั้น ไม่ต้องส่งให้ ‘อัยการ’ เหมือนกับคดีอาญาที่ ป.ป.ช.ชี้มูล แต่สามารถส่งให้ ‘ศาลฎีกา’ ได้เลย 

โดยในมาตรา 234 ของรัฐธรรมนูญ (1) เขียนไว้ว่า “ถ้าเป็นกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ทั้งนี้ ให้นําความในมาตรา 226 วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาโดยอนุโลม” 

เมื่อไม่มีขั้นตอนอัยการที่ปกติค่อนข้างจะใช้เวลานาน จะต้องมีการตรวจสอบสำนวนของ ป.ป.ช. และหากสำนวนไม่สมบูรณ์ จะต้องตั้งคณะทำงานร่วมอัยการ-ป.ป.ช.ขึ้นมาอีก มันจึงประหยัดเวลาไปได้มากและรู้ผลเร็ว  

ส่วนที่ว่า ‘แรง’ เพราะแม้ความผิดจริยธรรมอันจะฟังดูเบา แต่หากดูจากคำวินิจฉัยของ ‘เอ๋ ปารีณา’ ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตลอดไป มันสร้างความขนลุกขนพองให้กับนักการเมืองเป็นอย่างมาก

เพราะข้อหานี้ค่อนข้างนามธรรมและกว้าง ใช้กลั่นแกล้งทางการเมืองได้ 

ดังจะเห็นที่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาที่ น.ส.ปารีณาโดน ซึ่ง ‘ปิยบุตร’ ไม่น่าจะเห็นใจ ‘เอ๋ ปารีณา’ หากแต่น่าจะมองในมิตินี้มากกว่า 

สำหรับปัจจุบัน มี ส.ส.ที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลข้อหาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงแล้ว 4 คน ได้แก่ 1.นายฉลอง เทิดวีระพงศ์ ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย 2.นายภูมิศิษฏ์ คงมี ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย 3.นางนาที รัชกิจประการ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย และ 4.น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคพลังประชารัฐ กรณีเสียบบัตรแทนกัน 

3 ใน 4 ยกเว้นนางนาที ถูกศาลฎีกา สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว หากเทียบกับระยะเวลาในคดี ‘เอ๋ ปารีณา’ อีกไม่นานน่าจะรู้คำตอบ 

ในมือของ ป.ป.ช.ยังมีคดีเกี่ยวกับการถือครองที่ดิน สปก./ภ.บ.ท.5 ของ ส.ส.คล้ายๆ กับของ ‘เอ๋ ปารีณา’ ที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ร้องเอาไว้อีกร่วมเป็น 19 คน 

ขณะนี้ ‘เอ๋ ปารีณา’ ถูกชี้มูลและมีคำพิพากษาไปแล้ว 1 คน คำร้องของนายศรีสุวรรณในมือ ป.ป.ช.เหลือ 18 คน

แต่อย่างไรก็ดี นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช.ออกมาเปิดเผยว่า ไม่ได้มีเพียงที่นายศรีสุวรรณยื่นเอาไว้ แต่หลังจากนั้นยังมีที่คนอื่นเข้ามายื่นอีก และมีที่ ป.ป.ช.ตรวจพบจากการยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วย

รวมๆ แล้วอยู่ที่ 50-60 ราย! 

มีตั้งแต่ผู้บริหารในฝ่ายนิติบัญญัติ ระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารพรรคการเมือง อาทิ น.ส.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย

บางรายมีการตั้งอนุกรรมการไต่สวนไปแล้ว อย่างในกรณี นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 แจ้งถือครองที่ดินของรัฐ (น.ส.2) โดยมิชอบ ที่มีการแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนไปก่อนหน้านี้แล้ว และมีความคืบหน้าไปมาก

หากดูจากกรณี ‘เอ๋ ปารีณา’ และคำวินิจฉัยของศาลฎีกา ที่ ป.ป.ช.จะถอดออกมาเพื่อเอามาเป็นบรรทัดฐานในกรณีต่อๆ ไป ต้องบอกว่าเสียวสันหลังกันทั้งสภา เพราะนักการเมืองแต่ละคนถือครองที่ดินกันไม่น้อย

ใครที่ได้มาไม่ถูกต้อง รู้ทั้งรู้ว่าไม่ถูกต้อง แต่ยังจะครอบครองถือไว้จนรัฐได้รับความเสียหาย ลักษณะนี้เสี่ยงซ้ำรอย ‘เอ๋ ปารีณา’ ทั้งนั้น

 ‘เอ๋ ปารีณา’ ไม่รอด แล้ว ส.ส.คนอื่นที่ถือครองอยู่ หรือได้มาไม่ถูกต้องเหมือนกันรอด คงตอบคำถามสังคมยาก!. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลากไส้องค์กร'สีกากี'ยิ่งแฉยิ่งเละ ถึงเวลาปฏิรูปตำรวจกู้ภาพลักษณ์

เละ! ตายตามกันไปข้าง ศึกภายในรั้ว “กรมปทุมวัน” ถึงแม้ “บิ๊กต่อ” พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.และ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.จะถูกโยกไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี แต่ศึก “นอมินี” แทงฟันกันเลือดสาดไม่มีใครยอมใคร อย่างที่ ทีมทนาย “รองฯ โจ๊ก” เตือนก่อนที่ความขัดแย้งจะบานปลายมาจนถึงปัจจุบัน “ไม่ยอมตายเดี่ยว”

เดินหน้าแจกดิจิทัลวอลเล็ต หลังเพิ่มทางเลือกแหล่งเงิน

หลังเมื่อวันจันทร์ที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา “จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง” เปิดแถลงข่าวไทม์ไลน์นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะเดินหน้านโยบายดังกล่าวต่อไป และจะสามารถแจกเงินให้ประชาชน 10,000 บาท ได้ภายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ คือประมาณ ตุลาคม-ธันวาคม 2567

กางไทม์ไลน์‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ รัฐบาลได้‘ไฟเขียว’แจกเงิน?

โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท นโยบาย เรือธง ของพรรคเพื่อไทย โยกเยก ไร้ความชัดเจนตั้งแต่เข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ

ทักษิณรุกคอนโทรล พท. ยิ่งขยับ ยิ่งเข้าทาง ก้าวไกล

การเดินทางเข้าพรรคเพื่อไทยของ ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะ เจ้าของพรรค-หัวหน้าพรรคเพื่อไทยตัวจริง วันอังคารที่ 26 มี.ค.นี้ ถ้าไม่มีการยกเลิกเสียก่อน แต่ก็พบว่า กระแสข่าวดังกล่าวค่อนข้างคอนเฟิร์มว่าทักษิณไปแน่

สภาสูงVSเศรษฐา เปิดแผนสว.จัดทัพถล่ม

ระเบิดศึกการเมือง “สมาชิกวุฒิสภาVSรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน” กันในวันจันทร์ที่ 25 มีนาคมนี้แล้ว เพราะจะเป็นการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาญัตติให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153

ลายแทงอำนาจหลังศึก'สีกากี' ชิงจัดทัพเก้าอี้ตำรวจ-ทหาร

หลังจากนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งเด้ง บิ๊กต่อ-พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ บิ๊กโจ๊ก-พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล