ศึกประลองกำลัง 'พท.-ก.ก.' ชิงเก้าอี้ 'ประธานสภา'

ศึกชิงประธานสภาผู้แทนราษฎรของ 2 พรรคแกนนำระหว่างพรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทย ส่อแววทวีความดุเดือดมากขึ้นทุกวัน เพราะ 2 พรรคนี้ต่างต้องการประมุขนิติบัญญัติ เนื่องจากตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรีที่พรรคก้าวไกลจองแล้ว พรรคส้มยังต้องการประธานสภา เพราะเป็นตัวแปรสำคัญชี้ขาดว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล

จะได้ถึงฝั่งฝันเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 หรือไม่

ส่งผลให้พรรคเพื่อไทยเกิดความไม่พอใจว่าจำนวน ส.ส.ระหว่างทั้ง 2 พรรคห่างกันเพียง 10 ที่นั่ง โดยพรรคก้าวไกลมี 151 ที่นั่ง และพรรคเพื่อไทยมี 141 ที่นั่ง แต่ทำไมถึงไม่แบ่งอีก ประมุขนิติบัญญัติให้พรรคเพื่อไทย

ทั้งนี้ทั้งนั้น ศึกชิงประมุขนิติบัญญัติมิใช่แค่เรื่องคุมเกมโหวตในสภาล่างเพียงอย่างเดียว แต่เป็นบันไดขั้นแรกในการจัดตั้งรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ด้วยเพราะแม้บรรดา 8 พรรคร่วม มี ส.ส.รวม 312 เสียงนั้น หน้าฉากจับมือโพสต์รูปหัวใจประหนึ่งรักกันปานน้ำผึ้ง หวานเป็นเอกภาพเนื้อเดียวกัน แต่หลังฉากคลื่นใต้น้ำยังคงปล่อยข่าวดิสเครดิตใส่กันอย่างต่อเนื่อง

โดยเมื่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร และวงประชุมกรรมการบริหารร่วมกับ ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ยืนกรานให้คณะเจรจาการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยยึดข้อตกลงเดิมของดีลตั้งรัฐบาล 8 พรรค คือ สูตร 14+1 ของ 2 พรรคแกนนำ คือพรรคก้าวไกลได้ 14 เก้าอี้รัฐมนตรี บวก 1 เก้าอี้นายกรัฐมนตรี ถือเป็นเบอร์ 1 ของฝ่ายบริหาร ขณะที่พรรคเพื่อไทย ได้ 14 รัฐมนตรี บวก 1 เก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะทำหน้าที่ประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งในฐานะประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อต้องการแชร์เก้าอี้ผู้นำของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติให้มีความสมดุล เอื้อต่อการจับมือ

สาเหตุที่พรรคก้าวไกลต้องการตำแหน่งประธานสภามีอยู่ 2 กรณี

1.เพื่ออำนวยความสะดวกในการโหวตเลือกนายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี ในกรณีถ้าพรรคก้าวไกลหาเสียงโหวตนายพิธา ไม่ได้เกินกึ่งหนึ่งของสภาคือ 376 พรรคก้าวไกลก็ไม่สามารถคุมฝ่ายบริหาร จึงต้องการตำแหน่งเพื่อยื้อเวลาให้การดีลกับ ส.ว.หรือพรรคการเมืองอื่นให้แล้วเสร็จก่อนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี หากเกิดกรณีที่เสนอชื่อโหวตนายพิธาทันที แต่เสียงไม่ถึงก็ไม่สามารถที่จะโหวตกลับมาที่นายพิธาได้อีก อานิสงส์ก็จะอยู่กับพรรคเสียงรองลงมาคือเพื่อไทย

2.คือเพื่อให้พรรคก้าวไกลสามารถนำกฎหมายต่างๆ ที่ตัวเองต้องการเข้าสู่ที่ประชุมสภาได้ดั่งใจ โดยเฉพาะกรณีการแก้ไข หรือยกเลิกมาตรา 112 จึงเสนอชื่อนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก และกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลเป็นแคนดิเดตของพรรค

ด้วยเหตุผลนี้จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การประชุมระหว่างพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย รวมถึงการประชุมร่วม 8 พรรคจัดตั้งรัฐบาลต้องเลื่อนออกไปทั้งหมด หลังจากหาจุดร่วมลงตัวในตำแหน่งประธานสภาไม่ได้ ทั้งนี้ มีกระแสข่าวหนาหูออกมาว่า หากพรรคเพื่อไทยไม่ได้ตำแหน่งประมุขนิติบัญญัติ ก็จะปล่อยฟรีโหวตให้กับ ส.ส.ในพรรค ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก หากให้ไปถึงขั้นนั้น ตามข้อบังคับการประชุมสภา พ.ศ.2562 ข้อที่ 6 กำหนดให้การลงมติเลือกประธานสภาเป็นการลับ และจะจับมือใครดมไม่ได้ รวมถึงหากพรรคเพื่อไทยปล่อยฟรีโหวต นั่นหมายความว่า ส.ส.เพื่อไทยก็จะโหวตให้กับแคนดิเดตประธานสภาฝั่งเพื่อไทยอย่างนายสุชาติ ตันเจริญ ทันที ส่งผลให้พรรคก้าวไกลมีเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของ ส.ส. ไม่สามารถครองตำแหน่งประธานสภาได้

นั่นจะยิ่งเปิดรอยร้าวระหว่างพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยมากขึ้น และอาจจะเป็นส่วนสำคัญทำให้นายพิธาไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็เป็นได้ และย่อมส่งผลต่อการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคเดินหน้ายากขึ้นไปอีกขั้น ดังนั้นเก้าอี้ประธานสภาจึงเป็นการประลองกำลัง ชิงเหลี่ยมทางการเมืองของพรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ถ้าเปรียบเทียบโปรไฟล์ระหว่างนายปดิพัทธ์และนายสุชาติ จะเห็นได้ว่ามีความต่างกันพอสมควร นายปดิพัทธ์ปัจจุบันอายุ 42 ปี การสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมที่พิษณุโลกพิทยาคม สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะสัตวแพทย์ฯ จุฬาฯ และวิทยาลัยศาสนศาสตร์ทรีนีตี้ สิงคโปร์ เป็น ส.ส.สมัยแรก เขต 1 พิษณุโลก ในนาม “พรรคอนาคตใหม่” ก่อนถูกยุบแล้วแปลงร่างเป็นพรรคก้าวไกล โดยในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งล่าสุด เขาก็สามารถรักษาแชมป์ไว้ได้ เข้าสภาเป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งในรัฐบาลประยุทธ์ 2 นายปดิพัทธ์เป็น ส.ส.พรรคก้าวไกลอีกคนหนึ่งที่ได้ทำหน้าที่ได้อย่างโดดเด่นในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล

ฝั่งนายสุชาติ เจ้าของฉายาพ่อมดดำ ปัจจุบันอายุ 65 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัยธม ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จปริญญาตรี คณะวิศวะฯ จาก San Jose State University สหรัฐอเมริกา และปริญญาโท บริหารธุรกิจ Notre Dame de Namur University สหรัฐ โดยเจ้าตัวเป็น ส.ส.หลายสมัย และหลายพรรค 1 ในกลุ่ม 16 ที่โด่งดังเป็นอย่างมากในอดีต เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง รวมถึงเคยดำรงตำแหน่งรองประธานสภา คนที่ 1 มาแล้ว 2 ครั้ง คือในปี 2548 ในรัฐบาลไทยรักไทย และในปี 2562 ในรัฐบาลประยุทธ์ 2 

ทั้งนี้ ในวันที่ 2 ก.ค.นี้จะมีการประชุม 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งหลังจากที่ได้เลื่อนหลายครั้ง ซึ่งสังคมอาจจะได้ทราบทิศทางการเมืองไทยหลังจากนี้ว่าบทสรุปแล้วทั้ง 2 พรรคจะหาข้อตกลงร่วมตำแหน่งประมุขนิติบัญญัติได้หรือไม่ ซึ่งจะต้องจบศึกกันได้ในการประชุมสภา วันที่ 4 ก.ค.นี้ หรืออาจจะมีเหตุต้องเลื่อนออกไปอีกหรือไม่คงได้ทราบในเร็วๆ นี้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นโยบายที่“อิ๊งค์”ไม่กล้าพูด เรื่องสำคัญกว่าผลงาน90วัน

บรรดากองเชียร์รัฐบาลเพื่อไทยอาจจะชื่นชม หลัง “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี เล่นใหญ่ เปิดสตูดิโอ 4 ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ยืนเดี่ยวไมโครโฟน

แถลงผลงาน3เดือน‘รัฐบาลอิ๊งค์’ โชว์อนาคตประเทศ รอดหรือร่วง?

ได้เวลาตีปี๊บผลงานรัฐบาล 90 วันของ “นายกฯ อิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี วันนี้ 12 ธันวาคม 2567 ในหัวข้อ “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” (2025 Empowering Thais : A Real Possibility) ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) พร้อมถ่ายทอดสดให้คนไทยได้รับชม

กม.สกัดรัฐประหาร‘ส่อแท้ง’ พรรคร่วมไม่อิน-ไม่เอา

ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ฉบับ ‘หัวเขียง’ ที่นายประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยเสนอ ส่อแวว ‘แท้ง’ ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น

จับ“ไทย”ชน“เมียนมา” เด้งเชือกรับมือเกมมหาอำนาจ

หลังจากที่กองกำลัง “ว้าแดง” ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงข่าวลือความตึงเครียดระหว่างทหารไทยกับว้าแดงบริเวณชายแดน อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้ “ข่าวลือ” ดังกล่าวเริ่มเบาเสียงลง

พท.ยึดอำนาจกองทัพ สกัดลากรถถังตรึงทำเนียบฯ

เรียกเสียงครางฮือไปทั่วแวดวงทหารและแวดวงการเมือง กับการขยับของ สส.เพื่อไทย ที่เข้าชื่อกันเสนอร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เข้าสภาฯ ที่ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนผ่านเว็บไซต์ของสภาฯ

เพื่อไทยแจกเงินรัฐถังแตก? แผนสะดุดอดปล้นแวต15%

แม้รัฐบาลเพื่อไทยจะมั่นอกมั่นใจว่าจะอยู่ครบวาระหลังมีภูมิคุ้มกันด้วยพลังแฝง จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องคดี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ครอบงำรัฐบาล