อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติชมเปาะนโยบายคุมใช้คริปโตฯซื้อ-ขายสินค้า

“อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ” ชมเปาะนโยบายคุมใช้คริปโตเคอร์เรนซี่ซื้อ-ขายสินค้า พร้อมหนุนพัฒนา เร่งรับมือความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ

5 เม.ย. 2565 – ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา “เหลียวหลัง แลหน้า กับผู้ว่าการ ธปท.” ในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธปท. ว่า ขอชื่นชมทัศนคติของ ธปท.ในปัจจุบันเกี่ยวกับการดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล หรือเรื่องคริปโตเคอร์เรนซี่ ที่ห้ามไม่ให้นำคริปโตเคอร์เรนซี่ ไปใช้ในการซื้อ-ขายสินค้า แต่ในขณะเดียวกัน ธปท.ได้พัฒนาเกี่ยวกับดิจิทัลเคอร์เรนซี่ขึ้นมา ซึ่งอยากให้ ธปท.พัฒนาให้เร็วกว่าแผนที่วางไว้ เพราะช่วยป้องกันไม่ให้คริปโตเคอร์เรนซี่ขยายเข้าไปในวงการค้าได้

นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ความท้าทายของ ธปท.ที่เห็นได้ชัดเจนในขณะนี้ คือความท้าทายที่มาจากด้านเทคโนโลยี ซึ่งทำให้เกิดเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ อยู่เสมอ แม้จะมีข้อดีที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในยุคปัจจุบันและเป็นทางเลือกที่ดี แต่ในฐานะ ธปท.ต้องมองไปข้างหน้าว่าจะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง และจะมีผลกระทบมากน้อย ธปท.ต้องทันต่อเหตุการณ์ หลายเรื่องเปรียบเหมือนต้องไล่ตามสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา แต่เชื่อในพื้นฐานที่วางไว้ดี

“ในเรื่องคริปโตเคอร์เรนซี่ เราใช้ความเป็นผู้กำกับดูแลที่จะบอกว่าเราไม่สนับสนุนให้ทำ เป็นการออกแรงอย่างทันสมัย การทำงานของ ธปท.อาจยากขึ้น เพราะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้นกว่าในอดีต” นายชัยวัฒน์ กล่าว

ทั้งนี้ หลักการที่สำคัญของการดำเนินนโยบายของ ธปท. คือ ความพอดี ความคล่องตัว และความระมัดระวัง โดยจากอดีตที่ผ่านมาพว่า นโยบายการเงินที่เข้มงวด ไม่ใช่นโยบายที่ประชาชนชอบ เพราะว่ารัฐบาลประชาชนชอบนโยบายที่ผ่อนคลายมากกว่า ขณะเดียวกันนโยบายการเงินและนโยบายการคลังต้องประสานกันให้ดี

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่า ธปท. กล่าวว่า ในเวลานี้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ก็เป็นฉากหนึ่ง บทหนึ่ง อนาคตก็อาจมีมาอีก แต่หลักการของธปท. คือ 1.อย่าไปอยู่แต่เรื่องความสำเร็จในอดีต 2.ถ้าต้องปรับเปลี่ยนเมื่อไหร่ ต้องรู้ก่อน 3.ใช้ประโยชน์จากความหลากหลาย ในฐานะผู้นำที่ดี จะต้องจับหลักการในการดูแลให้ได้ ซึ่งคริปโตเคอร์เรนซี่ สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ บิทคอยน์ เป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านเข้ามาเท่านั้น

“เสาหลักสำคัญ 3 เสาของ ธปท. คือ 1.การมีกรอบนโยบายการเงินที่ยืดหยุ่น มีธรรมาภิบาล และมีเครื่องมือทางการเงินที่เพียงพอในการแก้ไขปัญหา 2.มีบุคลากรที่มีความสามารถ และระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ 3.มีประวัติศาสตร์ที่ดี ค่านิยมที่ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปได้” นายประสาร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ แขวะ 'ธปท.' ชมคนพูดลดดอกเบี้ยจิตใต้สำนึกดี

'เศรษฐา' แขวะ 'แบงก์ชาติ' ไม่ยอมหั่นดอกเบี้ย ชมเปาะเหล่าทัพ-หน่วยงานรัฐ มีจิตสำนึกดีอยากให้ลด ขอบคุณเห็นความลำบากประชาชน ย้ำเรื่องหนี้สารตั้งต้นหายนะประเทศ

'กุนซือนายกฯ' กระทุ้งอีก! 'ธปท.' ต้องเร่งลดดอกเบี้ย

'พิชัย' ห่วงเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ หลังเงินเฟ้อติดลบ 5 เดือนซ้อนสวนทางโลก จี้ ธปท. หั่นดอกเบี้ยนโยบาย ลดช่วงห่างเงินกู้เงินฝาก ตามสภาพัฒน์ฯ แนะนำ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ วันหยุดเพิ่มเป็นกรณีพิเศษของสถาบันการเงิน

ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 84/2567 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของสถาบันการเงินและสถาบันการ

‘อดีตเลขาฯรมว.ตท.’ เตือน กดดันลดดอกเบี้ย อาจเสี่ยงซ้ำรอยวิกฤตค่าเงินบาทปี’40

อย่าทำลายความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง อย่าทำลายความน่าเชื่อถือของธนาคารชาติ จะกระทบต่อฐานะเงินบาทในภูมิภาค

'เศรษฐา' ย้ำลดดอกเบี้ย สลึงเดียวก็ช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนได้ แต่แบงก์ชาติไม่ยอมลด

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ขยายตัวเพียง 1.7% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 1.4% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 และรวมทั้งปี เศรษฐกิจไทย ขยายตัวเพียง 1.9%