ดีอีเอสถกสิงคโปร์จับมือยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัล

ชัยวุฒิ ปลื้มใจ สิงคโปร์สนใจดึงไทยMOU ดิจิทัล พร้อมชื่นชม start up คนไทย เป็นผู้นำอาเซียน  ขณะที่รมว.ไอซีที สิงคโปร์บอกPDPA ดีจริง                                     

6 มิถุนายน 2565 -นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม  พร้อมด้วย นายชุตินทร คงศักดิ์  เอกคราชทูตไทยประจำ ณ.สิงคโปร์  และนายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล เลขานุการรัฐมนตรี ได้เดินทางไปพบ กับ นาย กาน คิม ยอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม  เพื่อหารือเกี่ยวกับการลงนามMOU Digital Economy partnership Agreement (DEPA)  ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการค้า เเละการลงทุน สิงคโปร์ได้เป็นเจ้าภาพในการเลี้ยงอาหารเช้าเเละพบปะพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในการผลักดันกรอบความร่วมมือทางด้านการค้าดิจิทัล เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนี้ 1.ความร่วมมือในการผลักดันนโยบายการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation)  รัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นองค์ประกอบสำคัญ 2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายด้าน e – Commerce ของไทย – หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.ศูนย์ข่าวปลอม 4.การดำเนินการระบบคลาวด์ การจัดตั้งบริการคลาวด์ กลางภาครัฐ (Government Data Center andCloud Service: GDCC)  5.แนวทางความร่วมมือเกี่ยวกับกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล – หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  6.แนวทางความร่วมมือเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 7.การลงทุน ณ Digital Valley และ IoT Institute ในเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก (EEC) 8.การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skill / Literacy) 

จากนั้น รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม ได้เดินทางไปพบนางโจเซฟิน เตียว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ และรัฐมนตรีคนที่สองกระทรวงมหาดไทย ณ.ที่ทำการกระทรวงมหาดไทย มีการหารือกันเกี่ยวกับ เรื่อง PDPE  ซึ่งรัฐบาล สิงคโปร์ ได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าว มาเเล้วหลายปี  เเละพร้อมที่จะช่วยเหลือเเละให้ข้อมูลกับประเทศไทยภายหลังจากที่ทราบว่าประเทศไทยเพิ่งได้มีการนำพระราชบัญญัติดังกล่าว มาบังคับใช้                     

ทั้งนี้นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า ทางรัฐบาลสิงคโปร์ ให้ความสนใจในเรื่องการลงทุนด้านดิจิทัลเป็นอย่างมากเเละอยากให้ไทยลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างกันเพื่อดึงดูดความสนใจนักลงทุนรุ่นใหม่ ให้หันมาลงทุนด้านดิจิทัลซึ่งสิงคโปร์มองว่าไทยมีศักยภาพด้านนี้ จึงอยากให้ผลักดัน กรอบความร่วมมือระหว่างกัน พร้อมกับเรื่องPDPA โดย นางโจเซฟิน เตียว  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ และรัฐมนตรีคนที่สองกระทรวงมหาดไทย ก็เล่าให้ผมฟังว่า เรื่องPDPA เป็นเรื่องที่ดีมาก รัฐบาลสิงคโปร์ก็ยินดีที่จะให้การสนับสนุนหรือให้ข้อมูลเรื่องPDPA กับประเทศไทยเพราะสิงคโปร์ทำมาหลายปีเเล้ว 

ทั้งนี้นายชัยวุฒิ ยังย้ำด้วยว่าจะนำเรื่องดังกล่าวรายงานเเละหารือกับท่านนายกรัฐมนตรีต่อไป เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญ เเละเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พยายามส่งเสริมเเละสนับสนุน จึงเรียกได้ว่าเรื่องดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เนื่องจากขณะนี้ไทยได้รับการยอมรับเเละถูกจับตามอง ในฐานะ ผู้นำ ด้านดิจิทัลแห่งอาเซียน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลตีปี๊บ ประกวด 'ข้าวหอมมะลิไทย' ช่วยยกคุณภาพชีวิตเกษตรกร

รัฐบาลหนุนเกษตรกรและโรงสี จัดประกวดข้าวหอมมะลิไทยปี 2566 เฟ้นหาและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไทยคุณภาพชั้นเลิศ พร้อมขยายช่องทางการจำหน่าย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

'อีเอฟจี ไชน่า แอลพีจี คิว ซีรีส์' ดวล4รายการปี2024 ที่สิงคโปร์

สิงคโปร์เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกอล์ฟ “อีเอฟจี ไชน่า เลดีส์ โปรเฟสชันแนล กอล์ฟเฟอร์ส คิว ซีรีส์” 4 รายการ ประเดิมทัวร์นาเมนท์แรกในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยมีธนาคาร อีเอฟจี แบงก์ เอจี เป็นผู้สนับสนุนหลักรายใหม่ ร่วมกับ LLD Sports ผู้ดำเนินการจัดการแข่งขัน เพื่อพัฒนาเวทีการแข่งขันกอล์ฟอาชีพหญิงระดับแนวหน้าของจีน ซึ่งผลิตโปรกอล์ฟฝีมือดีสู่เวทีระดับโลกอย่าง หยิน รัวหนิง ที่ก้าวขึ้นไปคว้าแชมป์เมเจอร์และครองมือหนึ่งโลกเมื่อปีที่แล้ว

'สุทิน' ควง 'เจ้าสัวธนินท์' สักขีพยาน MOU กลาโหมจับมือซีพี

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม กับบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา