‘คมนาคม’ ลุยทดสอบรถจักรพลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่คันแรกในไทย

‘คมนาคม’ เดินหน้าทดสอบใช้งานรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รถต้นแบบคันแรกในในไทย ตั้งเป้าจัดหา 50 คันภายในปี66 มั่นใจช่วยลดต้นทุน 40-60%

12 ม.ค.2575-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายเป็นประธานพิธีทดสอบการใช้งานรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รถต้นแบบคันแรกในการพัฒนารถไฟระบบ EV on Train ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และบริษัท พลังงานบริสุทธ์ จำกัด (มหาชน) ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ว่า นโยบายของรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการใช้งานยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือ EV เพื่อให้ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ 20 – 25% ภายในปี 2573 และมุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในระบบขนส่งของประเทศ รวมถึงผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมได้มีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการศึกษาการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EV on Train) โดยการประกอบหัวรถจักรที่ติดตั้งระบบแบตเตอรี่และสามารถขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าได้เอง ซึ่งเป็นความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และหน่วยงานเอกชนของไทย ตามนโยบาย Thai First จนเกิดเป็นหัวรถจักร EV ต้นแบบคันแรกของประเทศไทย 
 
ทั้งนี้รถไฟต้นแบบดังกล่าวได้ดำเนินการพัฒนาแล้วเสร็จเมื่อปี 2565 และพร้อมสำหรับการทดสอบการใช้งานในการลากจูงขบวนรถโดยสารขึ้นมาบนสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ในวันนี้ และภายในปี 2566 จะดำเนินการประกอบหัวรถจักรเพิ่มเติมอีกจำนวน 3 คัน รวมหัวรถจักรทั้งสิ้น 4 คัน โดยหัวรถจักรดังกล่าวหากชาร์จแบตเตอรี่เต็ม 1 ครั้ง จะมีสรรถนะในการลากจูงขบวนรถโดยสารได้ในระยะทาง 150 – 200 กิโลเมตร”ตอนนี้เรามีรถต้นแบบที่อยู่ระหว่างการทดสอบ 1 คัน ซึ่งจะต้องทดสอบให้ครอบคลุมถึงความปลอดภัยทุกด้าน ทั้งระบบเบรก และแรงปะทะในกรณีที่เกิดเหตุต่างๆ โดยเบื้องต้นกระทรวงฯ มีแผนว่าหากการทดสอบรถต้นแบบนี้ได้ผลสำเร็จ ก็จะจัดหาหัวรถจักร EV มาให้บริการ 50 คันภายในปีนี้ เพื่อเป็นการยกระดับบริการรถไฟแก่ประชาชน ลดมลพิษทางอากาศ อีกทั้งหัวรถจักรไฟฟ้ายังลดต้นทุนได้สูง 40-60% หากเทียบกับหัวรถจักรดีเซลในปัจจุบัน”นายศักดิ์สยาม กล่าว
 
นอกจากนี้ ปัจจุบัน รฟท. ได้ดำเนินโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) จำนวน 50 คัน โดยได้ดำเนินการส่งมอบรถจักรแล้วจำนวน 20 คัน เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2565 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบเพื่อตรวจรับขบวนรถ และจะได้มีการส่งมอบในส่วนที่เหลืออีกจำนวน 30 คัน ภายในปี 2566 ต่อไป ทั้งนี้ ขอมอบนโยบายให้กรมการขนส่งทางราง รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานและขั้นตอนในการนำรถไฟ EV on Train มาใช้ในประเทศไทยให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดคำวินิจฉัย ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย ชี้ความเป็นรมต. 'ศักดิ์สยาม' ไม่สิ้นสุดลง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 1 เสียง ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5)

ภูมิใจไทยรอด! 'นักวิชาการ' ชี้เป็นความผิดส่วนบุคคล ส่วนเงินบริจาคไม่ผิดกฎหมาย

รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้ความเห็นต่อโอกาสยุบพรรคภูมิใจไทย จากความผิดของเลขาธิการพรรคว่า

ซ้ำอีกดอก! 'พี่ศรี' จ่อร้อง กกต.กรณี ซุกหุ้น 'ศักดิ์สยาม-ภูมิใจไทย' ต้องถึงยุบพรรคหรือไม่

นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน เปิดเผยว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 1 ให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีต รม