ธ.ก.ส.อัดสินเชื่อ 35,000 ล้านบาทพยุงราคาข้าว

ธ.ก.ส. เดินหน้าสนับสนุนสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี วงเงินรวมกว่า 20,000 ล้านบาท ไม่มีดอกเบี้ย รองรับปริมาณข้าวเปลือก 2 ล้านตัน และสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1% เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและชะลอการขายข้าวเปลือกออกสู่ตลาด เริ่มจ่ายเงินกู้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

29 พ.ย. 2564 ​นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 เพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนระหว่างชะลอการขายข้าว ไม่ต้องเร่งขายข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากและราคาตกต่ำ ซึ่งเป็นมาตรการคู่ขนานกับการประกันรายได้ เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว วงเงินสินเชื่อรวม 20,401 ล้านบาท ไม่คิดดอกเบี้ยกับเกษตรกร ตั้งเป้าดูดซับปริมาณข้าวเปลือก 2 ล้านตัน ประกอบด้วย ชนิดข้าวเปลือกหอมมะลิในเขต 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และภาคเหนือ 3 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต 23 จังหวัด ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 และข้าวเปลือกเหนียว

คุณสมบัติข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นข้าวเปลือกที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2 และสีได้ต้นข้าวไม่ต่ำกว่า 20 กรัม โดยในส่วนข้าวหอมมะลิจะมีเมล็ดข้าวแดงได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 (ไม่เกิน 22 เมล็ดใน 100 กรัม) กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตัน ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิในเขต 23 จังหวัด 11,000 บาท/ตัน ข้าวหอมมะลินอกเขต 23 จังหวัด 9,500 บาท/ตัน ข้าวเจ้า 5,400 บาท/ตัน ข้าวหอมปทุมธานี 1 7,300 บาท/ตัน และข้าวเหนียว 8,600 บาท/ตัน โดยเกษตรกร กู้ได้รายละไม่เกิน 300,000 บาท สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท กรณีชำระคืนภายใน 5 เดือน ไม่มีดอกเบี้ย (รัฐบาลรับภาระจ่ายแทน) นอกจากนี้ยังมีการช่วยเหลือค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกหลักประกัน 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรเก็บข้าวเอง ได้รับ 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรฝากข้าวกับสถาบันเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับ 500 บาทต่อตัน และสถาบันฯจะได้รับ 1,000 บาทต่อตัน ระยะเวลาจัดทำสัญญาตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 กรณีภาคใต้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2565

นอกจากนี้ ยังมีสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65 วงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท สำหรับสหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชนที่ประกอบธุรกิจรวบรวมข้าวจากเกษตรกรสมาชิก เกษตรกรทั่วไป และมีคุณสมบัติตามที่กำหนดวงเงินกู้สำหรับสหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งคิดจากสถาบันฯ เพียงร้อยละ 1 ต่อปี ส่วนที่เหลือรัฐบาลรับภาระแทน ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อ ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 กันยายน 2565

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธ.ก.ส.' เสริมแกร่งสถาบันเกษตรกรอัดฉีดพันล้านรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

“ธ.ก.ส.” เตรียม 1,000 ล้านบาท อัดฉีดสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มเสริมแกร่งสถาบันเกษตรกร เคาะดอกเบี้ย 4% รัฐชดเชย 3%

'ธ.ก.ส.' ปักหมุดภารกิจสางหนี้เน่าตั้งเป้าหมายปีนี้เหลือไม่เกิน 5.5%

“ธ.ก.ส.” ปักหมุดภารกิจสางหนี้เน่า ตั้งเป้าหมายปีนี้เหลือไม่เกิน 5.5% เร่งเครื่องปั๊มสินเชื่อเติมกลุ่มขนาดใหญ่ 5 หมื่นล้านบาท พร้อมเตรียมเปิดตัวสินเชื่อรวมกลุ่มเกษตรกรขายคาร์บอนด์เครดิต

ธ.ก.ส.เตรียมปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเสริมสภาพคล่องการรับซื้อผลไม้

ธ.ก.ส. ร่วมมือกรมการค้าภายใน สนับสนุนผู้ประกอบการในการรวบรวมและรับซื้อผลไม้ฤดูกาลผลิต 2566 รวม 8 ชนิด เพื่อกระตุ้นให้มีปริมาณผลไม้หมุนเวียนในตลาดและส่งถึงมือผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว ทันตามฤดูกาล โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 3 ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่ ธ.ก.ส. ตั้งแต่วันนี้จนถึง 12 พฤษภาคม 2566

'ธ.ก.ส.'ฟุ้งปี 65 อัดสินเชื่อสู่ชนบท 8.7 แสนล้าน

“ธ.ก.ส.” โชว์ผลดำเนินงานปีบัญชี 65 อัดสินเชื่อสู่ภาคชนบท 8.7 แสนล้านบาท กวาดกำไรเฉียด 8 พันล้านบาท กางแผนปีบัญชี 66 สินเชื่อโตเพิ่มมากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท เงินฝากโต 1.2 หมื่นล้านบาท เดินเครื่องแก้หนี้เสีย ปักหมุดเหลือไม่เกิน 6.7% พร้อมคาดจีดีพีภาคเกษตรปี 66 โต 2.4% โอดเศรษฐกิจโลกชะลอกดดันการส่งออกสินค้าเกษตรแผ่ว

บอร์ด ธ.ก.ส.เคาะประกันรายได้สวนยาง-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ วงเงิน 8.2 พันล้าน

บอร์ด ธ.ก.ส. เห็นชอบดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 และประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2565/66 วงเงินรวมกว่า 8,282 ล้านบาท

เกษตรกรเตรียมตัว ธ.ก.ส. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท 0.25%

ธ.ก.ส. ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก สูงสุดร้อยละ 0.60 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท ร้อยละ 0.25 ต่อปี ตามมติ กนง. เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ร้อยละ 0.25 ต่อปีจากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.75 ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดและการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจไทย โดยมีผลตั้งแต่ 1 เม.ย. 66 เป็นต้นไป