กทพ.ชูสร้าง ทางด่วนใหม่ 'ท่าเรือกรุงเทพ-อาจณรงค์' 3 พันล้าน

กทพ.ลุยชง “คมนาคม” สร้างทางด่วน “ท่าเรือกรุงเทพ-อาจณรงค์” 3 พันล้าน “กทท.-กทพ.” ลุยถกสัดส่วนร่วมลงทุนให้จบปีนี้ ชี้เป็นโครงการที่ไม่ได้ช่วยเพิ่มรายได้ แต่ช่วยแก้รถติด อำนวยความสะดวกขึ้นลงในท่าเรือได้เลย

26 เม.ย. 2566 – นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทท. และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) ได้จัดทำการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพ และทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์(S1) ระยะทาง 2.25 กิโลเมตร(กม.) เสร็จเรียบร้อยแล้วอยู่ในขั้นตอนการตรวจรับ คาดว่าอีกประมาณ 2 เดือน หรือประมาณเดือน มิ.ย.66 จะสามารถเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาโครงการดังกล่าวได้ ทั้งนี้โครงการฯ มีวงเงินลงทุนประมาณ 2,500-3,000 ล้านบาทหากกระทรวงคมนาคมเห็นชอบ จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติ และดำเนินการต่อไป

” เบื้องต้นโครงการฯ จะใช้งบประมาณของ กทท. และ กทพ. ไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนในการก่อสร้างร่วมกันยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งจะหารือร่วมกันอีกครั้งในเร็วๆ นี้ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในปี 2566 ทั้งนี้โครงการดังกล่าวแม้จะไม่ได้สร้างรายได้เพิ่มให้ กทท. และ กทพ. เพราะแค่เปลี่ยนจุดขึ้นลงทางด่วน แต่จะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรบนถนนอาจณรงค์ บริเวณทางเข้าท่าเรือกรุงเทพและถนนโครงข่ายโดยรอบได้อย่างดี “นายเกรียงไกร กล่าว

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีระยะทาง 2.25 กม. พื้นที่โครงการอยู่บนถนนอาจณรงค์ในพื้นที่ของ กทท. และเชื่อมต่อกับทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) มีจุดเริ่มต้นอยู่บริเวณเทอร์มินอล 3 ของท่าเรือกรุงเทพ แนวสายทางจะเป็นทางยกระดับ 4 ช่องจราจร (ทิศทางละ 2 ช่องจราจร) ก่อสร้างเป็นโครงสร้างคานคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จรูปตัวไอไปตามแนวถนนอาจณรงค์ ข้ามคลองพระโขนงและถนนเลียบทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ จากนั้นแนวสายทางจะแยกเป็นขาทางเชื่อม เข้าเชื่อมกับ S1 ในทิศทางไปทางพิเศษบูรพาวิถี และทิศทางไปทางพิเศษฉลองรัช

สำหรับด่านเก็บค่าผ่านทางฯ มี 4 จุด แบ่งเป็น 1.ด่านขาขึ้น บริเวณหน้าอาคารสำนักงาน ปตท.พระโขนง มีช่องเก็บค่าผ่านทาง 3 ช่อง, 2.ด่านขาขึ้น บริเวณประตูทางออกเทอร์มินอล 1 และ 2 มีช่องเก็บค่าผ่านทาง 1 ช่อง, 3.ด่านขาลงบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ มีช่องเก็บค่าผ่านทาง 3 ช่อง และ 4.ด่านขาลง หรือด่านอาจณรงค์ 1 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มี 8 ช่อง โดยจะมีทางเชื่อมต่อเข้าท่าเรือกรุงเทพเป็น Ramp 1 ช่อง

อย่างไรก็ตามเบื้องต้นค่าผ่านทางจะจัดเก็บอัตราเดียวกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร รถ 4 ล้อ 50 บาทต่อคัน รถ 6-10 ล้อ 75 บาทต่อคัน และรถมากกว่า 10 ล้อ 110 บาทต่อคัน คาดว่าจะมีปริมาณการจราจร 1.4 หมื่นคันต่อวัน ในจำนวนนี้จะเป็นรถใหม่ที่ไม่เคยเข้าระบบทางด่วนสายนี้ ประมาณ 6,000 คัน อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้โครงการดังกล่าว มีแผนจะเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคา(ประมูล) ปลายปี 2565 ก่อสร้างภายในปี 2566 และเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2568 โดยโครงการนี้ไม่ต้องมีการเวนคืนที่ดิน เพราะเป็นพื้นที่ของ กทพ. และ กทท. แต่อาจต้องเจรจากับผู้เช่า และผู้บุกรุกที่ใช้พื้นที่อยู่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข พาทัวร์งานหินถมทะเลแหลมฉบังเฟส3

คงต้องบอกว่า “โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3” เป็นโครงการที่จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ยกระดับความสามารถทางการค้า และเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศไทย

กทท. ผุด 3 ธุรกิจใหม่พัฒนาท่าเรือกรุงเทพดันฮับขนส่งทางน้ำ

กทท.จับมือเอกชน ผุด 3 ธุรกิจใหม่พัฒนาท่าเรือกรุงเทพ มุ่งเพิ่มปริมาณตู้สินค้า 10,000 ทีอียูต่อปี ส่งเสริมการนำเข้า – ส่งออกระหว่างประเทศ พร้อมผุดโครงการเขตปลอดอากร หวังอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนในการนำเข้าส่งออก

คมนาคม ชง ครม.รับทราบของขวัญปีใหม่ วิ่งทางด่วน -มอเตอร์เวย์ ฟรี

“สุริยะ” แกะกล่องของขวัญปีใหม่รับปีมังกร ส่ง “Gifts” คมนาคมส่งความสุข 2567 มอบให้ประชาชน เตรียมเสนอ ครม.รับทราบวันพรุ่งนี้ จัดเต็มเปิดฟรี “มอเตอร์เวย์ 5 เส้นทาง-ทางด่วน-รถไฟฟ้าสีชมพู-จอดรถ 3 สนามบิน” ขยายเวลาให้บริการรถไฟฟ้า-รถเมล์ในคืนเคาน์ดาวน์ถึงตี 2 สั่งหน่วยงานเน้นย้ำความปลอดภัยสูงสุด คืนผิวจราจร-หยุดงานก่อสร้าง อำนวยความสะดวกการเดินทางเต็มที่

กทท. จี้ผู้รับเหมาเร่งงานแหลมฉบังเฟส 3

‘การท่าเรือ’ เดินหน้าแหลมฉบัง เฟส 3 สั่งผู้รับเหมากลุ่มกิจการร่วมค้า CNNC เร่งเครื่องกำชับคุมเข้มให้เป็นไปตามแผนงานและการบริหารสัญญา มั่นใจดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด

Doulos Hope ร้านหนังสือลอยน้ำเทียบท่ากรุงเทพฯ

ตอนนี้กรุงเทพฯ มีร้านหนังสือนานาชาติบนเรือกลางน้ำให้คนรักหนังสือได้ไปเดินช้อปกันเพลินๆ  เมื่อ Doulos Hope ร้านหนังสือลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกแวะมาจอดที่ท่าเรือกรุงเทพ หรือท่าเรือคลองเตยชื่อที่คุ้นเคย  โดยจะจอดเทียบท่าจนถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 ชาว

‘มนพร’ สั่ง ‘การท่าเรือ’ ติดตามผลกระทบจากสงครามอิสราเอล-ฮามาส 

‘มนพร’สั่ง ’การท่าเรือฯ’เตรียมความพร้อมส่งออกสินค้าไปยังประเทศตะวันออกกลาง หากความไม่สงบ‘อิสราเอล-ฮามาส’ยืดเยื้อ ด้าน กทท. แจงปริมาณขนส่งสินค้ายังส่งออกปกติ ไม่กระทบ เตรียมประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง