
ซีพีออกแถลงการณ์ข้อเท็จจริง กรณีนักการเมืองพาดพิงดีเบตหาเสียง พร้อมย้ำนโยบายดูแลสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ และระบบตรวจสอบย้อนกลับ “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
30 เม.ย. 2566 – รายงานข่าวจากเครือเจริญโภคภัณฑ์เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดยสำนักยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร ได้ออกแถลงการณ์กรณีมีการพาดพิงชื่อซีพีจากเวทีดีเบตหาเสียง อันทำให้เกิดความเข้าใจผิด โดยแถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า ซีพีให้ความเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หรือเผยแพร่ข้อมูลที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องเป็นจริง อย่างไรก็ตามปรากฎว่าในช่วงที่ผ่านมามีการดีเบตของนักการเมืองเรื่อง “ปัดฝุ่น ปัญหาภาคเหนือ” เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ซึ่งมีเนื้อหาพาดพิงถึงชื่อ “ซีพี” โดยมีการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง อันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ประเด็นพาดพิง 1 : การเผาป่าเป็นวิธีการของนายทุนเพื่อลดต้นทุน (ซีพียืนยันว่าไม่มีนโยบายลดต้นทุน ด้วยวิธีการส่งเสริมการเผาป่า และสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ 100%)
ข้อเท็จจริง 1 : ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซีพีมีการทำงานร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่และภาคสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยยืนยันได้ว่าใน 5 ปีที่ผ่านมา ซีพีเป็นผู้นำในการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Corn Traceability) มาใช้ 100% ข้าวโพดทุกเมล็ดของซีพีที่ใช้ในอุตสาหกรรมมาจากพื้นที่ถูกกฎหมาย ไม่มีการเผาป่า ซึ่งมีความโปร่งใส โดยมีความพร้อมและยินดีทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อให้ระบบดังกล่าวเป็นต้นแบบอุตสาหกรรม ซีพีไม่มีนโยบายลดต้นทุนจากการทำลายสิ่งแวดล้อม
ประเด็นพาดพิง 2 : นายทุนอาหารสัตว์ไปส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา รับซื้อข้าวโพดมาโดยไม่สนใจว่าเกษตรกรจะเผาหรือไม่ (ซีพียืนยันว่าไม่มีการส่งเสริมและไม่มีการรับซื้อข้าวโพดในพื้นที่ที่มีการเผา 100%)
ข้อเท็จจริง 2 : ซีพีไม่มีการส่งเสริมเกษตรพันธสัญญาในพื้นที่ผิดกฎหมาย และพื้นที่ที่มีการเผาซังข้าวโพดทั้งในและต่างประเทศ โดยกำหนดเป็นนโยบายบริษัทชื่อ “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” ซึ่งรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่ที่ถูกต้อง ไม่บุกรุกป่า ไม่บุกรุกภูเขา และซื้อจากพื้นที่ที่ไม่มีการเผาเท่านั้น นอกจากนี้ในการขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ซีพีมีระบบตรวจสอบย้อนกลับและไม่มีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรนำข้าวโพดไปปลูกในพื้นที่ผิดกฎหมายทั้งในและต่างประเทศเช่นเดียวกัน อีกทั้งในต่างประเทศยังมีการใช้ระบบเกษตรแปลงใหญ่ (Smart Farming) ซึ่งไม่มีการเผา แต่ใช้วิธีการไถกลบโดยเครื่องจักรทันสมัย
ซีพีหวังว่าการหาทางออกปัญหาหมอกควัน ไฟป่า จะตั้งอยู่บนข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์และเป็นความจริง ซีพียืนยันว่าระบบการจัดซื้อตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Sustainable Supply Chain) พื้นที่การเกษตรที่อยู่ใน Supply Chain ของซีพี เป็นพื้นที่ที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซีพีพร้อมที่จะให้นักวิชาการ ภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนขยายผลระบบตรวจสอบย้อนกลับ ให้เป็นระบบพื้นฐานของอุตสาหกรรม โดยมี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด และ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยยังเจอฝนต่อเนื่อง ภาคตะวันออก - ใต้ รับมือฝนตกหนัก
ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ
'พัชรวาท' ลุยแก้วิกฤตฝุ่นพิษภาคเหนือ ไฟเขียวใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำ
'พัชรวาท' ลุยแก้วิกฤตฝุ่นพิษภาคเหนือ ไฟเขียวใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำ
ปภ.เตือนหลายพื้นที่ ‘ภาคเหนือ-อีสาน-กลาง‘ ระวังน้ำท่วมฉับพลัน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัยพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังในระยะสั้น
กรมป่าไม้ เตรียมพร้อมนโยบายเร่งด่วน วางแผนรับมือแก้ไฟป่า หมอกควันภาคเหนือ
พลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบนโยบายขอให้ทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเตรียมวางแผนในการป้องกันการเกิดปัญหาไฟป่าและการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง
'ก้าวไกล' ชี้ปัญหาหมอกควันฝุ่นพิษต้องแก้เชิงโครงสร้าง อัดรัฐบาลไม่มีนโยบายเร่งด่วน
นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สส.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล อภิปรายเรื่อง PM 2.5 ว่า หลังจากอ่านคำแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดนี้แล้ว ตนมีความกังวลใจเป็นอย่างยิ่งว่าปัญหาใหญ่อย่าง PM 2.5 ที่นายกฯระบุว่าเป็นวาระแห่งชาติ กลับไม่มีนโยบายใดๆ ที่เป็นรูปธรรมเลย น่าผิดหวังอย่างยิ่งที่มีเพียง 3 คำแถลง
ภาพถ่ายดาวเทียมกรมอุตุฯ พบเมฆฝนยังปกคลุม ’ภาคเหนือ-อีสาน-กลาง’
กรมอุตุนิยมวิทยา เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียม แบบเคลื่อนไหว เช้วันนี้ (11/9/66)