พาณิชย์บินนำคณะผู้แทนไทยเจรจา FTA ไทย–ยูเออี รอบแรก 16–18 พ.ค.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำคณะผู้แทนไทยเจรจา FTA ไทย–ยูเออี รอบแรก 16–18 พ.ค.นี้ ที่ดูไบ หลังประกาศเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการ เผยคณะกรรมการเจรจาการค้า และคณะทำงานกลุ่มย่อย 9 คณะ จะร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น และวางแผนงานการเจรจาแต่ละรอบ พร้อมเริ่มหารือข้อบทความตกลงทันที ตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาโดยเร็วที่สุด

16 พ.ค. 2566 – นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมมีกำหนดจะนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Comprehensive Economic Partnership Agreement : CEPA) ไทย–ยูเออี ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16–18 พ.ค.2566 ณ เมืองดูไบ หลังจากที่ไทยได้ประกาศเปิดการเจรจา FTA หรือที่เรียกว่า CEPA กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 พ.ค.2566 ที่ผ่านมา และไทย-ยูเออีได้ตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะสรุปผลการเจรจา CEPA ไทย–ยูเออี ให้ได้โดยเร็วที่สุด

สำหรับการประชุมเจรจาจัดทำ CEPA ไทย–ยูเออี ครั้งที่ 1 สองฝ่ายจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นและวางแผนงานสำหรับการเจรจาในแต่ละรอบ รวมทั้งจะเริ่มหารือข้อบทความตกลง โดยในการเจรจารอบแรกจะมีทั้งการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (Trade Negotiation Committee) เพื่อกำกับดูแลและติดตามการเจรจาในภาพรวม และการประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อย จำนวน 9 คณะ ได้แก่ 1.การค้าสินค้า 2.กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 3.พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 4.มาตรการเยียวยาทางการค้า 5.ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และ MSMEs 6.กฎหมายและสถาบัน 7.ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 8.ทรัพย์สินทางปัญญา และ 9.การค้าบริการ และการค้าดิจิทัล

ทั้งนี้ ยูเออีเป็นคู่ค้าอันดับที่ 6 ของไทยในตลาดโลก และอันดับที่ 1 ในตะวันออกกลาง โดยในปี 2565 การค้าระหว่างไทยกับยูเออี มีมูลค่า 20,824.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 73.9% โดยไทยส่งออกไปยูเออี มูลค่า 3,420.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้าจากยูเออี มูลค่า 17,404 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของไทย เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น และสินค้านำเข้าสำคัญจากยูเออี เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น

สำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 (ม.ค.–มี.ค.) การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 4,697.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.6% โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 856.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการนำเข้ามูลค่า 3,840.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พาณิชย์จ่อบุกดูไบเจรจาFTA กับยูเออี รอบที่ 3

“พาณิชย์” เตรียมนำทีมไทยเข้าร่วมประชุมเจรจา FTA กับยูเออี รอบที่ 3 วันที่ 29 ส.ค-1 ก.ย.นี้ ที่ดูไบ เดินหน้าประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า และประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อย 9 คณะ มั่นใจผลักดันการเจรจาคืบหน้าต่อเนื่อง และสรุปผลได้ภายในสิ้นปีนี้ เผยผลศึกษา ชี้การทำ FTA จะช่วยให้ GDP ของไทยเพิ่มขึ้น การส่งออกขยายตัว มีสินค้าและบริการได้ประโยชน์เพียบ

พาณิชย์ลุยศึกษาทำ FTA FTA ไทย-กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก ชี้หนุนการค้าโต 16.75%

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยแพร่ผลศึกษาการจัดทำ FTA ไทย-กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (PA) พบช่วยเพิ่มจีดีพี 0.04% ดันมูลค่าการค้าโต 16.75% สินค้าส่งออกที่ไทยจะได้ประโยชน์ มีทั้งธัญพืช พลาสติก ยาง ยานยนต์และชิ้นส่วน ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ค้าส่งค้าปลีก และก่อสร้าง ระบุกลุ่ม PA ยังจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะสินแร่และสัตว์น้ำ

'พาณิชย์' ฟุ้ง 5 เดือนไทยส่งออกกุ้ง ไปตลาดคู่ค้า FTA โต 27%

“พาณิชย์” ฟุ้ง 5 เดือนไทยส่งออกกุ้งสดแช่เย็น-แช่แข็ง ไปตลาดคู่ค้า FTA โต 27% กางผลงานปี 65 ติดอันดับ 9 ของโลก ขึ้นอันดับ 3 ของอาเซียน ด้าน “FETCO” ชี้นักลงทุนจับตาตั้งรัฐบาลใหม่เชื่อช่วยหนุนความเชื่อมั่นฟื้น

นายกฯ ยิ้ม FTA หลายฉบับคืบหน้าเป็นรูปธรรม!

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดีการเจรจาความตกลงการค้าเสรีหลายฉบับคืบหน้าเป็นรูปธรรม เชื่อมั่นไทยใช้ประโยชน์จาก FTA สนับสนุนโอกาสสินค้าไทยไปตลาดโลก ยกระดับมาตรฐานสินค้าสู่สากล

พาณิชย์เร่งติดตาม FTA ไทย-ชิลี

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยผลการประชุมติดตามการดำเนินงานภายใต้ FTA ไทย-ชิลี เห็นพ้องเร่งปรับโอนพิกัดศุลกากรจากระบบ HS2012 เป็น HS2022 การใช้ระบบลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (ESS) สำหรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ผลักดันร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ระบุ 8 ปีที่ FTA บังคับใช้ การค้าสองฝ่ายเพิ่มมากกว่า 40%

กรมเจรจาการค้า ลุยเจรจา FTA ยุโรป - เอฟตา

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกางแผนเจรจา FTA ปี 66 ตั้งเป้านับหนึ่งเปิดเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) เคลียร์ FTA คงค้างกับเอฟตา แคนาดา ตุรกี และศรีลังกา ให้จบภายในปี 67 และศึกษาประโยชน์และผลกระทบการทำ FTA กับคู่ค้าใหม่ ทั้งกลุ่ม GCC พันธมิตรแปซิฟิก และกลุ่มประเทศแอฟริกา