กกพ.ปัดข้อเสนอเอกชน ยันค่าไฟงวดใหม่ที่ 4.45 บาท/หน่วย ชี้ต้องรอรัฐบาลใหม่มาอนุมัติงบประมาณ

8 ส.ค. 2566 – นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า กกพ.กำหนดให้มีการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(Ft) งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.2566 จำนวน 66.89 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยปรับลดลงจากงวดปัจจุบัน (พ.ค.-ส.ค.66) จาก 4.70 บาทต่อหน่วย เหลืออยู่ที่ 4.45 บาทต่อหน่วย ส่วนการปรับลดค่าไฟตามที่ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เสนอ 4.25 บาทต่อหน่วยนั้น กกพ.ไม่มีอำนาจใด ๆ ในการนำเงินมาสนับสนุน แต่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มีการของบประมาณเข้ามาสนับสนุน ส่วนหนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องอาศัยกลไกรัฐเข้ามาช่วย เนื่องจาก กกพ.ไม่มีอำนาจการบริหารหนี้ กฟผ.

“กรณีค่าไฟตามที่ กกร.เสนอเหลือ 4.25 บาทต่อหน่วยนั้น ต้องชี้แจงว่า กกพ.ไม่ได้มีงบประมาณในส่วนนี้ จึงต้องมีเงินจากรัฐบาลเข้ามาช่วย หรือลดหนี้ กฟผ. ดังนั้นหากต้องใช้เงินเข้ามาอุดหนุนค่าไฟ ซึ่งประเมินว่าการลดค่าไฟฟ้าลง 1 สตางค์ต้องใช้งบประมาณ 500-600 ล้านบาท จึงต้องรอรัฐบาลใหม่พิจารณา”นายคมกฤช กล่าว

สำหรับแนวโน้มค่าไฟฟ้าในงวดแรกของปี 67 จะสามารถลดลงได้มากกว่านี้หรือไม่นั้น ขณะนี้มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากปัญหาภัยแล้ง เนื่องจาก กฟผ.ได้แจ้ง กกพ.ว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนที่ สปป.ลาว ลดน้อยลง จะส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าที่ กฟผ.ซื้อไฟฟ้าพลังน้ำส่งมายังไทย อาจทำให้การผลิตไฟฟ้าต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเข้ามาทดแทน ขณะที่ราคาก๊าซ LNG ปรับตัวสูง ปัจจุบันยังอยู่ในช่วงขาขึ้น นอกจากนี้ถ่านหินราคาสูงขึ้นเช่นกัน หรือหากเปลี่ยนโครงสร้างคำนวนราคาก๊าซ คงต้องใช้เวลา และอำนาจรัฐเข้ามาช่วยตัดสิน ต้องมีกระบวนการ ดังนั้น คงรอรัฐบาลใหม่เข้ามา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกพ. ตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย 4.18 บาท/หน่วย ถึง ส.ค. 67

กกพ. ประกาศตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ขณะที่ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย จนถึงเดือน ส.ค. 67

กกพ.ชี้การทำงานยากขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานใหม่

กกพ.ชี้การกำกับพลังงานยากขึ้น ย้ำไทยยังต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ ชี้พลังงานหมุนเวียนยังพึ่งพาไม่ได้ 100% พร้อมเผยความท้าทายใหม่ ทั้งการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานใหม่ และความพร้อมของโครงข่ายไฟฟ้ารับการซื้อขายในอนาคต