‘ธีระชัย’ ตั้ง 7 โจทย์เพิ่ม ถาม ‘รมว.คลังคนใหม่’ เตรียมคิดแก้ปัญหาแต่เนิ่น

27 ส.ค.2566-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊ก “Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล”หัวข้อ “โจทย์เพิ่มสำหรับรัฐมนตรีคลังใหม่” เนื้อหาระบุว่า

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในฐานะประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แสดงความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับโจทย์งานการคลังด้านวิชาการต่างประเทศสำหรับรัฐบาลหน้า ดังนี้

1 เรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล

เศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นเวทีแข่งขันสำคัญในโลกอนาคต ดังเห็นได้ว่าสหรัฐได้บรรจุหัวข้อนี้ไว้ในกรอบเจรจา Indo-Pacific Economic Framework ที่ประกาศโดยประธานาธิบดีไบเดนเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2023 โดยมีประเทศไทยอยู่ในรายชื่อประเทศร่วมก่อตั้งด้วย

เอกสารทำเนียบขาวระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

We will work with our partners to seize opportunities and address concerns in the digital economy, in order to ensure small and medium sized enterprises can benefit from the region’s rapidly growing e-commerce sector, while addressing issues is such as online privacy and discriminatory and unethical use of Artificial Intelligence.

โดยปกติ การที่ประเทศใหญ่บรรจุหัวข้อใดเข้าไปในโครงการ ก็เพื่อต้องการเจรจาให้มีการกำหนดกฎกติกาที่เพิ่มประโยชน์แก่ตนและ/หรือลดประโยชน์ให้แก่คู่แข่ง

ส่วนยุโรปเมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2022 ได้ทำข้อตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลกับเกาหลี และได้หารือกติกาการค้าในหัวข้อนี้กับประเทศอื่น

โดยหารือครั้งล่าสุดกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2022 หารือครั้งล่าสุดกับสิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2022 และได้ให้องค์กรความสัมพันธ์ยุโรป-แอฟริกาเผยแพร่ discussion paper เมื่อเดือน พ.ย. 2022 เพื่อหาทางยกบทบาทด้านนี้ของยุโรปในแอฟริกา ประเทศไทยควรมีแนวทางรับมือการเจรจาอย่างไร?

2 เรื่อง CBDC

Atlantic Council CBDC Tracker รายงานว่าขณะนี้มีประเทศที่ศึกษาจะให้ธนาคารชาติของตนเองออกเงินดิจิทัล (CBDC) 130 ประเทศ ครอบคลุม 98% ของจีดีพีโลก  โดยมี 64 ประเทศที่คืบหน้าสูง และ 11 ประเทศนำออกใช้แล้ว องค์กรระหว่างประเทศ IMF และ Bank of International Settlement เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ และต่างได้เผยแพร่ข้อเสนอให้องค์กรของตนเป็นศูนย์กลางในการหักบัญชี CBDC ของโลก  ซึ่งสำหรับประเทศกำลังพัฒนาจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะจะมีผลเท่ากับเป็นการยอมให้ระบบนี้ตกไปอยู่ในการควบคุมของประเทศตะวันตก ประเทศไทยศึกษาข้อดีข้อเสียหรือยัง?

3 เรื่อง BRICS

ประเทศในกลุ่ม BRICS จะต้องการให้มีระบบชำระเงินและระบบหักบัญชีที่แยกอิสระจากดอลล่าร์ ทั้งในแง่ดำเนินการผ่านระบบ CBDC ของสองประเทศคู่ค้า และในแง่ดำเนินการผ่านสกุล BRICS ที่มีแผนจะสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งข่าวระบุว่า จะไม่ใช่สกุลเงินของประเทศหนึ่งประเทศใด แต่อาจจะเป็น digital token ที่อิงทองคำ ประเทศไทยควรจะเข้าไปร่วมในกระบวนการเหล่านี้หรือไม่?

4 เรื่องหยวนดิจิทัล

ถ้าชาวจีนใช้เงินหยวนดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากขึ้น ประเทศใดที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ชาวจีนมาท่องเที่ยวโดยใช้เงินหยวนดิจิทัลในประเทศได้เลย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศนั้นจะอยู่ในฐานะได้เปรียบ  และประเทศใดที่สามารถทำให้ชาวจีนที่ import ซื้อของออนไลน์จากประเทศนั้น โดยผู้ซื้อสะดวกชำระเป็นเงินหยวนดิจิทัล ผู้ค้าปลีกรายย่อยที่ export ก็จะอยู่ในฐานะได้เปรียบเช่นกัน ประเทศไทยควรมีนโยบายเงินหยวนดิจิทัลอย่างไร?

5 เรื่อง capital flow

การชะลอตัวของเศรษฐกิจตะวันตกอาจจะส่งผลให้ตลาดเงินตลาดทุนผันผวนรุนแรงทั่วโลก อันจะกระทบ capital flow ในประเทศขนาดเล็ก ประเทศไทยควรเตรียมการบริหารนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร?

6 เรื่อง international Baht

ในการประชุมกลุ่ม BRICS ครั้งนี้ได้มีมติที่จะให้ New Development Bank ซึ่งเป็นธนาคารของกลุ่มทำการออกหุ้นกู้ในสกุลเงินของสมาชิก เพื่อจะผลักดันการพัฒนาตลาดพันธบัตรรัฐบาลที่ออกในสกุลเหล่านี้ให้เป็น international currency แบบค่อยเป็นค่อยไป  เพื่อให้ประเทศในกลุ่มสามารถลดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่เดิมต้องกู้แต่ในสกุลดอลลาร์ ต่อไปจะเปลี่ยนไปเป็นกู้ในสกุลของตนเองแทน ประเทศไทยควรจะมีแนวคิดเรื่องนี้หรือไม่?

7 เรื่อง deglobalization

แนวโน้มโลกาภิวัตน์แผ่วลงประกอบกับสงครามเย็นระหว่างสหรัฐและจีน ได้แสดงผลแล้วที่ประเทศจีน  ปริมาณค้าขายจีนกับสหรัฐได้ลดลงไปต่ำกว่าสหรัฐกับเม็กซิโกแล้ว และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราขยายตัวส่งออกสินค้าของจีนในปีนี้ลดลง  โดยในอนาคตต่อไปแนวโน้มนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงเข้าไปในประเทศจีนและอาเซียนด้วย ประเทศไทยควรตั้งรับกระแสนี้อย่างไร?

ผมขอแนะนำให้ท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่ซึ่งมีข่าวว่าจะควบตำแหน่งรัฐมนตรีคลังด้วยนั้น เตรียมคิดเรื่องเหล่านี้ไว้แต่เนิ่นๆ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ศิริกัญญา' มอง 'ขุนคลังคนใหม่' ทำงานได้เต็มที่ ไม่ต้องแบ่งเวลามาเป็นเซลส์แมนประเทศ

น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในส่วนของกระทรวงการคลัง ว่า ปรากฎว่ามีรัฐมนตรีในกระทรวงการคลังถึง 4 คน ซึ่งน่าจะมากที่สุดในประวัติศาสตร์ อันที่จริงกรมในกระทรวงก็มีไม่ได้มากคงแบ่งกันดูแลคนละกรมครึ่ง

'เพื่อไทย' จ่อเคลียร์ใจ 'ปานปรีย์' ชวนนั่งกุนซือพรรค ไม่รู้ 'นพดล' เสียบแทน

'เลขาฯ เพื่อไทย' รับต้องคุย 'ปานปรีย์' หลังไขก๊อกพ้น รมว.ต่างประเทศ แย้มชงนั่งที่ปรึกษาพรรค มั่นใจไม่เกิดแรงกระเพื่อม ปัดวางตัว 'นพดล' เสียบแทน ชี้ 'ชลน่าน-ไชยา' หน้าที่หลักยังเป็น สส.

พท. จัดใหญ่! '10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10' ตีปี๊บผลงาน 'รัฐบาลเศรษฐา'

'เพื่อไทย' เตรียมจัดงาน '10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10' สรุปผลงาน 'รัฐบาลเศรษฐา' 3 พ.ค.นี้ เดินหน้าเติมนโยบายที่สัญญาไว้กับประชาชน พร้อมเปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.

‘เศรษฐา’ แจงยิบปรับครม. ขอโทษ ‘ปานปรีย์’ ทำให้ไม่สบายใจ บอกมีคนแทนในใจแล้ว

‘เศรษฐา’ เผย ส่งข้อความผ่านกลุ่มงานต่างประเทศขอโทษ ‘ปานปรีย์’ ถ้าทำให้ไม่สบายใจ บอกได้คุยกันก่อนปรับ ครม.แล้ว ชี้มีทั้งคนสมหวัง-ผิดหวัง พร้อมรับผิดชอบ แย้มมองหาคนใหม่ตั้งแต่เมื่อคืน ดีกรี การทูต-การเมือง ทำงานเบื้องหลัง’เพื่อไทย’ มานาน