'พิมพ์ภัทรา' เข้ากระทรวงอุตสาหกรรม ลุยเข็นนโยบายเร่งด่วนให้สำเร็จใน 3 เดือน

“พิมพ์ภัทรา” รมว.อุตสาหกรรมประเดิมเข้ากระทรวง หารือข้าราชการ เข็นนโยบายเร่งด่วนสำเร็จใน 3 เดือน

7 ก.ย. 2566 – นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลัง เดินทางเข้ากระทรวงวันแรก ว่า ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นกลไกหลักในการยกระดับเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ซึ่งได้ประชุมกับปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และข้าราชการในกระทรวง เพื่อหารือแนวทางร่วมกันสำหรับการวางนโยบายต่อไป โดยในระยะเริ่มต้นเร่งด่วน 3 เดือนแรก มีนโยบายที่สามารถทำได้ทันที

ทั้งนี้ ได้กำชับให้หน่วยงานภายในกระทรวงเร่งหาแนวทางเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ ให้เป็นฟันเฟืองเศรษฐกิจใหม่สำหรับกระตุ้นรายได้มวลรวมของประเทศ ผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมฮาลาลด้วย นอกจากนี้ ยังมุ่งการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษขยายไปสู่ 4 ภาคของประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจและให้เกิดความสะดวกกับนักลงทุนมากขึ้น

ขณะเดียวกันจะเร่งพิจารณาหามาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า(อีวี)อย่างแพร่หลายภายในประเทศ ทั้งมาตรการทางภาษี และการขยายจุดให้บริการชาร์จแบตเตอรี่สำหรับประชาชน ขณะที่การส่งเสริมศักยภาพและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้สามารถเข้าถึงโอกาสในการแข่งขัน โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทีมเข้าสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อรวบรวมจัดทำเป็นแผนนโยบายในลำดับต่อไป ทั้งนี้ ยังให้ความสำคัญกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพมั่นคงจากต้นทุนในชุมชน ทั้งต้นทุนทางวัฒนธรรมและวัตถุดิบในท้องที่

พร้อมการพัฒนาทักษะ อาชีพเสริม เพื่อการลดรายจ่ายในภาคครัวเรือน การผนวกวิชาการอุตสาหกรรมเข้ากับวิถีชุมชนให้กระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมีมาตรฐานมากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ยั่งยืนให้กับประชาชน และเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวข้ามประเทศกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคต รวมทั้งการส่งเสริมการเข้าถึงของผู้ประกอบการและประชาชน ด้วย One Stop Service เพื่อให้บริการได้อย่างทั่วถึงและแก้ข้อจำกัดได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามได้เน้นย้ำให้ทุกการดำเนินงานมุ่งสู่เป้าหมายอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การวางระบบดูแล ควบคุม และกำจัดของเสียในภาคอุตสาหกรรมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน การใช้พลังงานทางเลือกสู่การเป็น อุตสาหกรรมไบโอชีวภาพ (Bio Circular Economy) ซึ่งจะได้หารือเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดต้นแบบอุตสาหกรรมคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero Carbon Industry) ในลำดับต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สะสางปัญหา กากแคดเมียม เดิมพันการเมืองครั้งสำคัญ พิมพ์ภัทรา-รมว.อุตสาหกรรม

ปัญหาการพบกากแร่อันตรายแคดเมียม ที่มีการขนย้ายมาจากจังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันมีการยึดอายัดได้ประมาณ 12,500 ตัน หลังพบที่สมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพฯ

'พิมพ์ภัทรา' ดึงดีเอสไอ-ปปง. ร่วมสอบปมกากแคดเมียม ชี้หากมีแต่คนใน ก.อุตฯ สังคมจะคาใจ

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการลักลอบขนย้ายกากสารแคดเมียมที่ผิดกฎหมาย ว่า คำสั่งการการประชุมครม. ที่ผ่านมา เป็นการทำงานร่วมกันของทั้ง 6 กระทรวง

กมธ.อุตสาหรรม ไล่บี้เอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ รับผลประโยชน์ขนย้ายกากแคดเมียม

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 17 เมษายน เวลา 10.00 น.ที่รัฐสภา กมธ.อุตสาหกรรม